ADVANC - ซื้อ

ADVANC - ซื้อ

ปรับสมมติฐานงบลงทุนและปรับเพิ่มคาแนะนาเป็น “ซื้อ”

เราปรับเพิ่มคำแนะนำสำหรับหุ้น ADVANC จาก “ถือ” เป็น “ซื้อ”และปรับราคาเป้าหมายที่ประเมินด้วยวิธี DCF เพิ่มขึ้นอีก 7% (ไปอยู่ที่ 215 บาท) เพื่อสะท้อนสมมติฐานงบลงทุนในช่วงปี 2561-76 ที่ลดลง ซึ่งกลบผลกระทบของอัตราการเติบโตของรายได้บริการในช่วงปี 2561-62 ที่ต่ำลงกว่าที่คาดก่อนหน้า (เนื่องจากรายได้ธุรกิจบรอดแบนด์ประจำที่ซึ่งปรับลดลง) เราประเมินว่าความน่าจะเป็นที่ 50:50 สำหรับการที่ ADVANC จะเข้าประมูลคลื่นความถี่ 1.8 กิกะเฮิร์ซจานวน 5 เมกะเฮิร์ซ x2 ของกสทช.ที่จะมาถึง แต่ไม่
ว่าอย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิไตรมาส 2/61 มีแนวโน้มออกมาแข็งแกร่งและอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลก็อยู่ในระดับที่ดี

ส่องกล้องไตรมาส 2/61—คาดกำไรหลักเติบโตแข็งแกร่ง YoY

เราคาดกำไรสุทธิไตรมาส 2/61 ที่ 8.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% YoY และ 2% QoQ หากไม่รวมรายการพิเศษซึ่งได้แก่ รายการอัตราแลกเปลี่ยน และผลประโยชน์ด้านภาษีในไตรมาสนี้ เราคาดกำไรหลักไตรมาสนี้ที่ 7.84 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% YoY และทรงตัว QoQ กำไรหลักที่เพิ่มขึ้นแข็งแกร่ง YoY ได้รับปัจจัยหนุนจากรายได้บริการที่เติบโตดี ต้นทุนด้านกฏระเบียบที่ลดลง และค่าใช้จ่ายด้านการตลาดที่ลดลง (เงินอุดหนุนค่าเครื่องโทรศัพท์ที่ลดลง) ซึ่งมีแนวโน้มกลบผลกระทบของค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจาหน่าย ค่าใช้จ่ายด้านโครงข่ายและค่าใช้จ่ายด้านการจัดการทั่วไปและบุคลากรที่เพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าเงินอุดหนุนค่าเครื่องโทรศัพท์จะเพิ่มขึ้น QoQ ในไตรมาส 2/61 เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดลูกค้าพรีเพดในเขตพื้นที่หลัก แต่แคมเปญการใช้เงินอุดหนุนค่าเครื่องโทรศัพท์ลูกค้าพรีเพดกลุ่มนี้ถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก ค่าใช้จ่ายในการดาเนินงานโดยรวมยังคงควบคุมได้ดีในไตรมาสนี้ เราใช้สมมติฐานว่าจำนวนลูกค้ารายใหม่สุทธิทั้งหมดมีแนวโน้มพลิกกลับมาเป็นบวกเล็กๆ จากลูกค้ารายใหม่สุทธิลูกค้าโพสต์เพดที่ปรับตัวดีขึ้นและการลดลงของลูกค้าพรีเพดในอัตราที่ชะลอตัวลง

รายได้บริการไตรมาส 2/61 คาดว่าจะเติบโตในเกณฑ์ดี

เราคาดรายได้บริการไตรมาส 2/61 (ซึ่งรวมรายได้ธุรกิจบรอดแบนด์ประจำที่และ CSL) ขยายตัว 5% YoY และ 1.9% QoQ เนื่องจากรายได้ธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และธุรกิจบรอดแบนด์ประจาที่ที่เพิ่มขึ้นรวมถึงการรวมงบของ CSL เข้ามาเต็มไตรมาสตั้งแต่เดือนก.พ. 2561 (ในสัดส่วนที่ ADVANC ถือใน CSL คิดเป็น 86%) เราคาดรายได้บริการ
โทรศัพท์มือถือในไตรมาส 2/61 เพิ่มขึ้น 2.3% YoY และ 1.1% QoQ (เทียบกับที่เพิ่มขึ้น 3.1% YoY และ 0.5% QoQ ในไตรมาส 1/61) รายได้ธุรกิจบรอดแบนด์ประจำที่ในไตรมาสนี้มีแนวโน้มอยู่ที่ 1.06 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 44% YoY และ 5% QoQ ซึ่งมีปัจจัยหนุนจากจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มมากขึ้น

เราคาดต้นทุนด้านกฏระเบียบในไตรมาสนี้ลดลง 12% YoY และ 2% QoQ เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมยูเอสโอที่ลดลงซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2560 และอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใหม่ซึ่งลดลงเป็นขั้นบันได ซึ่งมีผลตั้งแต่ไตรมาส 4/60 ค่าใช้จ่ายด้านการตลาดมีแนวโน้มลดลง 16% YoY (เงินอุดหนุนค่าเครื่องโทรศัพท์โดยรวมที่ลดลง) แต่เพิ่มขึ้น 7% YoY (เงินอุดหนุนค่าเครื่องโทรศัพท์กลุ่มลูกค้าพรีเพดที่เพิ่มขึ้น) ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารทั่วไปและค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 10% YoY และ 3% QoQ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านโครงข่ายคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 7% YoY แต่ลดลง 3% QoQ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 12% YoY และ 2% QoQ

ผลกระทบสุทธิทางบวกจากสมมติฐานงบลงทุนที่ปรับลดลงซึ่งกลบรายได้บรอดแบนด์ที่ปรับลดลง

เนื่องจากบริษัทมีแนวโน้มใช้งบลงทุนเพียงแค่ 1.2-1.4 หมื่นล้านบาทในช่วงครึ่งแรกของปี 2561 หรือคิดเป็นเพียงแค่ 34-37% ของเป้างบลงทุนที่เป็นเงินสดที่ 3.5-3.8 หมื่นล้านบาทสำหรับปี 2561 (เนื่องจากการยืดระยะเวลาการจ่ายค่าอุปกรณ์กับคู่ค้า และการขอลดราคามากขึ้น) เราจึงเชื่อว่าเป้างบลงทุนปี 2561 มีแนวโน้มถูกปรับลดลงมาเหลือต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้เราทำการปรับลดสมมติฐานงบลงทุนของเราลงอีก 17% (มาอยู่ที่ 2.85 หมื่นล้านบาทสำหรับปี 2561) ปรับลดลงอีก 25% ในปี 2562 (เหลือ 2.7 หมื่นล้านบาท) และปรับลดลงอีก 10% ต่อปีในช่วงปี 2563-76 (เหลือ 2.7 หมื่นล้านบาทต่อปี) เพื่อสะท้อนงบลงทุนระยะยาวที่ลดลงกลับสู่ระดับปกติ (แม้ว่าจะไม่มีการได้ใบอนุญาตใหม่เพิ่มเติมก็ตาม) นอกจากนี้ เนื่องจากประมาณการรายได้บริการสำหรับครึ่งแรกของปี 2561 (รวมรายได้ธุรกิจบรอดแบนด์ประจำที่และ CSL) เติบโตเพียงแค่ 5.4% เราจึงเชื่อว่าบริษัทน่าจะปรับลดเป้าอัตราการเติบโตของรายได้บริการลงจาก ณ ปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 7-8% ในเร็ววันนี้

เราปรับลดสมมติฐานจำนวนผู้ใช้บริการบรอดแบนด์ประจำที่ ณ สิ้นปี 2561 ลงอีก 10% (จาก 8.21 แสนรายเหลือ7.41 แสนราย) และปรับลดรายได้เฉลี่ยต่อรายลงอีก 13% (จาก 690 บาทเหลือ 603 บาท) เพื่อสะท้อนการแข่งขันในธุรกิจบรอดแบนด์ประจำที่ที่รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นประมาณการรายได้ธุรกิจบรอดแบนด์ประจำที่สำหรับปี 2561 ของเราลดลงอีก 18% (เหลือ 4.57 พันล้านบาท) ส่งผลให้ประมาณการอัตราการเติบโตของรายได้บริการในปี 2561 ของเรา (รวมรายได้ธุรกิจบรอดแบนด์ประจำที่และ CSL) ลดลงจาก 7% เหลือ 6.2% และเนื่องจากผลกระทบทางบวกสุทธิจากการปรับลดสมมติฐานงบลงทุนกลบผลกระทบของรายได้ธุรกิจบรอดแบนด์ประจำที่ที่ลดลง ส่งผลให้ราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2561 ซึ่งประเมินด้วยวิธี DCF เพิ่มขึ้นอีก 7% มาอยู่ที่ 215 บาท

สนใจเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 5 เมกะเฮิร์ซ x2 ของคลื่น 1.8 กิกะเฮิร์ซหรือไม่ยังคงเป็นคำถาม

เราคิดว่า ADVANC อาจจะสนใจเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 1.8 กิกะเฮิร์ซจำนวน 5 เมกะเฮิร์ซ x2 (ในย่าน 1740-1745 เมกะเฮิร์ซคู่กับย่าน 1835-1840 เมกะเฮิร์ซ) ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับคลื่นความถี่ 1.8 กิกะเฮิร์ซจำนวน 15 เมกะเฮิร์ซ x2 ของ AWN (ในย่าน 1725-1740 เมกะเฮิร์ซคู่กับย่าน 1820-1835 เมกะเฮิร์ซ) เพราะว่าจะส่งผลให้บริษัทสามารถใช้คลื่นความถี่ในย่านนี้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เราให้โอกาสความเป็นไปได้ที่ 50:50 สำหรับการที่ ADVANC จะเข้าประมูลคลื่นความถี่ 5 เมกะเฮิร์ซ x2 ของคลื่นความถี่ 1.8 กิกะเฮิร์ซเนื่องจากบริษัทอาจต้องการเก็บเงินไว้สำหรับเป็นงบลงทุนการประมูลคลื่นความถี่ 5 จีในอนาคตหากบริษัทตัดสินใจแล้วว่ามีคลื่นความถี่ในมือที่มากพอสำหรับการใช้งานรองรับบริการดาต้าในอีก 2 ปีข้างหน้า เราคาดการประมูลคลื่นความถี่ 4 จี/5 จีดังต่อไปนี้ได้แก่ คลื่นความถี่ 2.6 กิกะเฮิร์ซในปี 2563 คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิร์ซในปี 2565 คลื่นความถี่ 3.3 กิกะเฮิร์ซในปี 2566 คลื่นความถี่ 28 กิกะเฮิร์ซและมิลลิมีเตอร์เวฟ (30-300 กิกะเฮิร์ซ) ในช่วงระหว่างปี 2566-68