ชี้เงินเฟ้อไทยชะลอตัว แม้บาทอ่อนและน้ำมันแพง

ชี้เงินเฟ้อไทยชะลอตัว แม้บาทอ่อนและน้ำมันแพง

กรุงไทยชี้เงินเฟ้อไทยชะลอตัว แม้บาทอ่อนและน้ำมันแพง เงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงเหลือ 1.38% ในเดือน มิ.ย. เป็นผลจากราคาอาหารสด

แบงก์กรุงไทย ประเมิน กระทรวงพาณิชยร์ายงานว่าอตัราเงนิเฟ้อทวั่ ไปเดอืน มิ.ย. ลดลงมาอยู่ที่ 1.38% จาก 1.49% ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากราคาอาหารสดที่ลดลงเนื่องจากมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อในขณะที่ราคาพลังงานยังอยู่ในระดับสูง

เงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น เป็นสัญญาณที่ดี อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นเป็น 0.83% จาก 0.8% ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนเศรษฐกิจภาพรวมที่กำลังซื้อในประเทศเริ่มแข็งแกร่งขึ้น สอดคล้องกับมุมมองของ ธปท. ที่มีการปรับคาดการณ์ไปเมื่อ 20 มิ.ย. โดยปรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2018 เพิ่มขึ้นเป็น 1.1% จากเดิม 1.0% และ GDP เป็น 4.4% จากเดิม 4.1%

สงครามการค้ามีความเข้มข้นมากขึ้น หลังจากทั้งสหรัฐฯ และจีน ประกาศเก็บภาษีนำเข้า 25% บนสินค้ามูลค่ากว่า 3.4 หมื่นล้าน
ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะเริ่มเก็บภาษีจริง 6 ก.ค. นี้

สงครามการค้าอาจส่งผลทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอลงได้ 2 ช่องทางด้วยกัน ช่องทางแรกคือการทำให้ราคาสินค้านำเข้าลดลง โดยสินค้าที่จีนขายไปสหรัฐฯ ได้น้อยลง เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก และอลูมิเนียม เป็นต้น อาจลดราคาเข้ามาตีตลาดในไทย

ช่องทางที่สองคือการทำให้ราคาสินค้าที่ผลิตในประเทศลดลงเนื่องจากส่งออกได้น้อยลง เช่น แผงโซลาร์ หรือสินค้าใน supply
chain อิเล็กทรอนิกส์ของจีน ดังนนสงครามการค้าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่อาจทำให้ Bond Yield ไม่สามารถขึ้นไปยืนในระดับสูงได้ต่อเนื่อง

...

โดย ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญในแวดวงการเงิน การธนาคาร ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สายงาน Global Business Development and Strategy ธนาคารกรุงไทย  โดยก่อนหน้านี้เป็นผู้นำทีมเศรษฐกิจมหภาคของศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ ก่อนร่วมงานในแวดวงธนาคาร ดร.พชรพจน์ เคยเป็น Assistant Professor of Economics ที่ San Diego State University สหรัฐอเมริกา มีความสนใจ ในด้านเศรษฐกิจมหภาคและการเงินระหว่างประเทศ โดยมีผลงานทางวิชาการ ตีพิมพ์ใน Journal of International Money and Finance นอกจากนั้น ยังเคยฝึกงานที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯ (Fed) ดร.พชรพจน์ จบการศึกษาปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขา เศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาเอก สาขา เศรษฐศาสตร์ จาก University of Michigan, Ann Arbor สหรัฐอเมริกา