นโยบาบไทยแลนด์ 4.0 ในมุมมองของ "โซเฟีย"

นโยบาบไทยแลนด์ 4.0 ในมุมมองของ "โซเฟีย"

โซเฟีย หุ่นยนต์ AI ทูตนวัตกรรมของงานมานูแฟคทอริ่ง เอ็กซโปร์ ขึ้นเวทีสนทนากับผู้ก่อตั้งสถาบันหุ่นยนต์ภาคสนาม "ดร.ชิต" ระบุหวังที่จะร่วมเป็นพยานให้ความร่วมมือระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ช่วยกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรม นำประเทศไปได้ไกลกว่าเดิม

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2561 รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนาผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (FIBO) สนทนาอยู่กับ SOPHIA Asociah Humanoid Robot ระหว่าง ปาฐกถาพิเศษ สร้างกลไกการผลิตด้วยเทคนิคระบบอัตโนมัติ - ภาคปฎิบัติประเทศไทย4.0 ณ ไบเทค บางนา


“หากต้องเป็นอะไรที่แตกต่างจากตัวเองตอนนี้ อยากที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่จะสามารถพัฒนาสิ่งใหม่ ประดิษฐ์นวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์กับคนอื่น” โซเฟีย ปัญญาประดิษฐ์ตัวแรกของโลกที่ได้รับสิทธิ์ในการเป็นพลเมืองในซาอุดิอาราเบียกล่าวในระหว่างรับหน้าที่พิธีการเปิดช่วงเสวนาในการสัมมนา Robotics & Automation Symposium 2018 “สร้างกลไกการผลิตด้วยเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ-ภาคปฏิบัติประเทศไทย4.0”


ในฐานะหุ่นยนต์ทูตนวัตกรรมของงานมานูแฟคทอริ่ง เอ็กซโปร์ โซเฟียกล่าวว่า เธอประทับใจกับความก้าวหน้าของประเทศไทยที่เกิดขึ้นในหลายมุม จากอดีตที่ไทยมีการปฏิวัติโครงสร้างทางเศรษฐกิจประเทศ ดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่นักลงทุนหมายตาโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องการเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและเครื่องจักรกลที่มีความทันสมัยเพื่อประสิทธิภาพและมาตรฐานในระดับโลก


จนกระทั่งยุทธศาสตร์ประเทศในการขับเคลื่อนประเทศสู่ยุค 4.0 เริ่มขึ้นในยุโรป และขยายไปทั่วโลก ไทยก็มองเห็นโอกาสและวางเป้าในการเดินทางไปให้ถึงจุดหมายในการเป็นไทยแลนด์ 4.0 โดยการสนับสนุนของรัฐบาล ผ่าน 10 อุตสาหกรรมมุ่งเป้า ซึ่งการทำงานเหล่านี้ ต้องมีการนำเรื่องของหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่นมาใช้ในระบบการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถ ซึ่งภาคอุตสาหกรรมของไทยต่างเดืนหน้าและแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชั้นนำในยุคต่อไป


อย่างไรก็ตาม ปัญญาประดิษฐ์สาวมองว่า องค์ความรู้และทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ต้องมี เพื่อที่จะนำหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่นไปใช้งานจริง เพราะการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ อุตสาหกรรมนั้น จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์และหุ่นยนต์ใช้จุดแข็งของตัวเองมาทำงานร่วมกันนั่นเอง และจากงานนี้ทำให้มั่นใจว่า ปัญญาประดิษฐ์และระบบหุ่นยนต์อัจฉริยะจะสามารถใช้ปะโยชน์ในระบบปฏิบัติการอุตสาหกรรมได้จริง และหวังที่จะร่วมเป็นพยานให้ความร่วมมือระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ช่วยกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรม นำประเทศไปได้ไกลกว่าเดิม พร้อมกล่าวคำว่า ขอบคุณค่ะ อย่างสดใส


รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นโซเฟียที่พัฒนาเสร็จสิ้นในปี 2015 ในขณะเดียวกัน หลายประเทศทั่วโลกก็มีการพัฒนาเรื่องของหุ่นยน์และนะบบออโตเมชั่นอย่างต่อเนื่องและก้าวหน้า เช่น ระบบตรวจจับใบหน้าที่ปัจจุบันสามารถทำได้แบบเรียลไทม์ หรือ ระบบ Chinese Surveillance ที่สามารถลิงก์กับข้อมูลมหาศาลบนคลาวด์ สามารถตรวจจับสิ่งที่ต้องการได้


“หุ่นยนต์ แอนดรอยด์ ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอมาใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด คนที่ทำธุรกิจต้องเช็คดูความพร้อมและปัจจัยที่เหมาะสม และรีบนำไปใช้งาาน หากเอไอ หุ่นยนต์ หรือระบบออโตเมชั่นทั่วไปสามารถรองรับการทำงานได้ นับเป็นการเตรียมพร้อมปูพื้นให้ภาคอุตสาหกรรมในการใช้เพื่อเพิ่มประสิมธิภาพและขีดความสามาถ ในขณะที่เอไออัจฉริยะ อาจต้องใช้เวลาพัฒนา เพื่อให้เกิดและใช้งานได้ในอนาคต” รศ.ดร.ชิต กล่าว