'เด็กไทย' เสี่ยงภัยออนไลน์ 60%

'เด็กไทย' เสี่ยงภัยออนไลน์ 60%

Big Data Analysis 'เด็กไทย' เสี่ยงภัยออนไลน์ 60%

การใช้งานสื่อออนไลน์และอินเทอร์เน็ตของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ที่สำรวจพฤติกรรมการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ ระบุว่า กิจกรรมที่นิยมทำเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต 5 อันดับแรก คือ การใช้โซเชียลมีเดีย 86.9%

รองลงมาเป็นการค้นหาข้อมูล 86.5% การรับส่งอีเมล์ 70.5% การดูทีวีและฟังเพลงออนไลน์ 60.7% และการซื้อสินค้าออนไลน์ 50.8% ในส่วนของโซเชียลมีเดียที่มีการใช้งานมากที่สุด คือ ยูทูบ 97.1% และเฟซบุ๊ก 96.6%

1_15

อย่างไรก็ตาม การใช้งานดังกล่าวมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้าทำการสำรวจออนไลน์ พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนไทย อายุระหว่าง 8-12 ปี จำนวน 1,300 คนทั่วประเทศ พบว่า เด็กไทยอยู่หน้าจอ 35 ชม.ต่อสัปดาห์ เฉลี่ยวันละ 5 ชม. สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 3 ชม.

ที่สำคัญ เด็กไทยมีโอกาสเสี่ยงภัยจากออนไลน์ถึง 60% ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 56% และเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน พบว่าฟิลิปปินส์ 73% อินโดนีเซีย 71% เวียดนาม 68% สิงคโปร์ 54%