กนง.คงดอกเบี้ย 1.5% เพิ่มเป้าจีดีพีโต 4.4%

 กนง.คงดอกเบี้ย 1.5% เพิ่มเป้าจีดีพีโต 4.4%

คณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติ 5 ต่อ 1 คงดอกเบี้ย 1.5% เพิ่มเป้าจีดีพีโต 4.4% โดยกรรมการ 1 ท่านลาประชุม

กนง.เสียงแตกอีกรอบ มีมติ 5:1 คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ห่วงความเสี่ยงสงครามการค้าอาจกระทบส่งออก ส่วนเงินทุนไหลออกยังไม่กระทบเศรษฐกิจจริง ชี้ไทยมีกันชนมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศ ปรับจีดีพีปีนี้ขึ้นเป็น 4.4% จากเดิม 4.1% ปรับส่งออกโต9% จากเดิม7%

นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ว่า คณะกรรมการฯ มีมติ5 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50%  ต่อปี โดย 1 เสียงให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก1.50 %เป็น1.75 %ต่อปี ในการประชุมครั้งนี้ กรรมการ 1 ท่านลาประชุม

 ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องและ สูงกว่าที่ประเมินไว้เดิมตามอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่มีแรงส่งเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับสูงขึ้นกว่า ที่ประเมินไว้เล็กน้อย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ภาวะการเงินโดยรวมยัง อยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพระบบการเงินโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี

ในการประชุมรอบนี้จึงได้ปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้ขึ้นเป็น 4.4% จากเดิม 4.1%  ส่วนปีหน้าอยู่ที่ 4.2% จากคาดการณ์เดิม4.1%   ปรับคาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปปีนี้เป็น 1.1%  จากเดิม 1.0%  ปรับส่งออกปีนี้โต 9% จากคาดการณ์เดิม7%  ปรับลงทุนเอกชนขึ้นเป็น 3.7% จากคาดการณ์เดิม 3.0%

ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทอ่อนค่า ลงเทียบกับดอลลาร์ และเคลื่อนไหวผันผวน จากทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศ อุตสาหกรรมหลัก รวมทั้งความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับนโยบายกีดกันทางการค้าและความเสี่ยงของประเทศ เศรษฐกิจเกิดใหม่ ในระยะข้างหน้าอัตราแลกเปลี่ยนยังมีแนวโน้มผันผวนต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้ติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนและผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดต่อไป

ทั้งจากปัจจัยด้าน ต่างประเทศและในประเทศ แต่ต้องติดตามความเข้มแข็งของอุปสงค์ในประเทศและพัฒนาการของเงินเฟ้อใน ระยะต่อไป รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงจากผลกระทบของการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศซึ่งมีความไม่แน่นอน อยู่มาก คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่านโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อไป

 “คณะกรรมการมีการประเมินเรื่องเงินทุนไหลออก พบว่ายังไม่กระทบภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง กระทบในส่วนตลาดหุ้น และตราสารหนี้ ซึ่งเศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศ จึงให้น้ำหนักกับปัจจัยในประเทศมากกว่า อย่างไรก็ตามต้องติดตามเรื่องสงครามการค้า ที่อาจจะกระทบการส่งออกในระยะต่อไป เพราะสถานการณ์คงไม่จบง่ายๆ”