มุมคิดธุรกิจยั่งยืน จาก...หมากล้อม !!

มุมคิดธุรกิจยั่งยืน จาก...หมากล้อม !!

ปรัชญาการทำธุรกิจที่ถอดบทเรียนจากเกมประลองปัญญาหมากล้อม ที่สอนให้มองภาพรวมทั้งกระดาน องค์รวมธุรกิจ ผลักดันให้ธุรกิจเซเว่น อีเลฟเว่น ก้าวขึ้นเป็นเบอร์ 1 ร้านสะดวกซื้อเมืองไทย “ปรัชญาการวางแผน เสริมทักษะเชาว์ปัญญาที่ได้จากเกม”

ยังกลายเป็นการส่งเสริมเกมกีฬานี้แพร่หลายในเยาวชนไทย พลิกเกมชีวิต เติบโตเป็นคนคุณภาพ 

บริษัทซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจร้านสะดวกซื้อ  7-11 (เซเว่น อีเลฟแว่น) หลังรุกตลาดเป็นเจ้าแรกของเมืองไทยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันขยายตัวครอบคลุมซอกซอย หัวมุมถนนในเมืองไทย กว่า 10,000 สาขา ครองความเป็นเบอร์ 1 ตลาดนี้ในไทย

แน่นอนสำเร็จในการดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้น ย่อมเกิดจากการวางหมาก(ล้อม)ที่ไม่พลาด !

รู้กันว่า หมากล้อมเป็นกีฬาลับสมองที่ ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และนายกสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย ไม่เพียงโปรดปราน แต่ยังส่งเสริมให้กลุ่มเยาวชนหันมาเล่นกีฬาหมากล้อมอย่างจริงจัง 

โดยปัจจุบันมีคนไทยเล่นหมากล้อมประมาณ 1 ล้านคน สถิติมากเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมเยาวชนไทยให้มีทักษะและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

นอกจากนี้ ยังเป็นการถ่ายทอด ปรัชญาการวางแผนไปสู่ การพัฒนาทักษะความสามารถทางเชาวน์ปัญญา(IQ)” กับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ไปสู่กลุ่มเยาวชนะและคนทั่วไป ให้ได้เติบโตอย่างมีความรู้ความสามารถและมีคุณภาพ

ซีพี ออลล์ หนึ่งในผู้สนับสนุนสมาคมกีฬาหมากล้อมฯ ได้จัดโครงการ ค่ายครูสู่ดั้ง” โดยร่วมกันกับเครือข่ายครูผู้สอนหมากล้อม นำกีฬาหมากล้อมไปเผยแพร่ให้กับนักศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา ไปจนถึงระดับอุดมศึกษา ครอบคลุมสถานศึกษาทุกสังกัด รวมทั้งประชาชนทั่วไป จากนั้นจึงคัดเลือกเยาวชนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ที่จัดการแข่งขันร่วมกันกับพันธมิตร

กิจกรรมทั้งหมดถือเป็นการสร้างประสบการณ์ในการเล่นหมากล้อมไปนำไปสู่การเพิ่มพูนทักษะให้กับเด็กและเยาชนยุคใหม่ให้มี IQ และ EQ

บทเรียนมากมายที่เกิดขึ้นระหว่างเกมกีฬาประลองปัญญา ที่นำไปสู่ปรัชญาการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะเรื่องของการเอาชนะในระยะยาว ไม่คิดหวังผลชนะ เพราะเมื่อใดก็ตามที่คิดเอาชนะเราก็จะพบกับความพ่ายแพ้ เป็นการฝึกให้คนรู้จักมองตัวเอง ทบทวนจุดผิดพลาด และยังเคารพคู่ต่อสู้ที่เก่งกว่าเรา สามารถนำไปปรับใช้ชีวิตในสังคม เพราะเราคงไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ถ้าอยู่ลำพังเพียงคนเดียว

“กีฬาหมากล้อมแตกต่างจากกีฬาประเภทอื่น ที่ไม่มุ่งแต่เอาชนะ ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้ลองเข้ามาเล่น ก็จะรู้ดีว่าเป็นกีฬาที่ช่วยฝึกกระบวนการคิด แม้จะพ่ายแพ้ในเกม แต่เราก็จะได้บทเรียน จากเกมการวางแผนที่ได้มองเห็นความผิดพลาด”

จากหมากล้อมสู่แผนธุรกิจของซีพี ออลล์ ขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืนได้ จึงต้องได้รับความร่วมมืออย่างดีจากองค์กร คู่ค้า พันธมิตร ทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Share Value)

โดยการยึดถือการเดินหมากธุรกิจแต่ละครั้งต้องมองทั้งห่วงโซ่คุณค่า ด้วยด้วยการเชื่อมต่อกับพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง และดึงเข้ามาอยู่ในซัพพลายเชน ทำให้ซีพี มีธุรกิจเกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันของไทยในทุกวัน จนเกิดทั้งความผูกพันธ์ และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์

ซีพี ออลล์ ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกกลุ่มดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI-Dow Jones Sustainability Indices) ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) หมวดอุตสาหกรรมธุรกิจค้าปลีกอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค (Food & Staples Retailing) โดยกำหนดแผนดำเนินธุรกิจเป็นหนึ่งในกลยุทธ์บริษัท ในปี 2561-2565 โดยการร่วมขับคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 15 ด้าน ภายในปี 2563 ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

หนึ่งในเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันหมากล้อมมายาวนาน กัมปนาท บุญรอด หรือ แบงค์ หนุ่มน้อยอายุ 21 ปี ที่ต้องใช้ชีวิตบนรถเข็นวีลแชร์ ตั้งแต่ยังเล็ก เพราะป่วยด้วยภาวะเส้นประสาทไขสันหลังเสื่อม (SMA-Spinal Muscular Atrophy) ตั้งแต่เกิด ได้ค้นพบตัวเองว่าชอบเป็นนักวางแผน และมีทักษะหลังจากใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนมาเล่นโกะ แทนออกไปวิ่งเล่นกับเพื่อนเพราะร่างกายไม่เอื้ออำนวย

การที่เขาได้ฝึกฝนฝีมือการเล่นตั้งแต่อายุ 10 ขวบ จนปัจจุบันเป็นนักกีฬาโกะ ปัจจุบันอยู่ระดับ 4 ดั้ง ซึ่งคนไทยมีประมาณเกือบ 100 คน สูงสุดในเมืองไทย คือระดับ 6 ดั้ง ที่มีคนไทยเพียงคนเดียว ส่วนระดับ5 ดั้ง มีคนไทยไม่ถึง 20 คน

การหันมาเอาดีทางการเล่นโกะ จึงทำให้แบงค์ เป็นนักกีฬาโกะแถวหน้าของเมืองไทยทำให้เขาเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง แม้ร่างกายเป็นอุปสรรค แต่สมองและหัวใจของเขามีความสามารถไม่แพ้ใคร ได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติปี 58 คว้าเหรียญทองคู่ผสม กับทีมผสมกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ปี 2559 ได้เหรียญทองคู่ และปี 2560 ก็คว้าเหรียญมาได้อีก

แบงค์เล่าถึงประโยชน์จากการที่เขาได้ทุ่มเทเวลาในการฝึกการเล่นโกะ ทำให้เขารูจักคิด วางแผน หาเหตุผล ใจเย็น มีความรอบคอบ ฝึกสมาธิ ทำให้รู้จักตัวเองและควบคุมอารมณ์ ที่สำคัญระหว่างทางของการประลองทักษะ หรือแข่งขัน ทำให้เราเห็นเส้นทางเดินหลากหลายมุม ต้องรู้จักพลิกเกม

ปรัชญาที่แฝงอยู่ในเกม คือ ความไม่โลภ เร่งร้อนอยากจะเอาชนะ เพราะเมื่อคิดอย่างนั้นจะถูกความอยากครอบงำในเกม พลาดหมดทั้งกระดานได้

“พอเราจะเอาชนะ ความโลภ อยากได้ทุกอย่างมาเป็นของเราไม่แบ่งใคร จนต้องการเกินตัว ส่งผลทำให้วางแผนเสีย เพราะเมื่อเราอยากเอาชนะในหลายสนามในกระดาน ทำให้มองแค่จุดเดียว แล้วพลาดเกิดผลเสียในจุดอื่นๆ จนแพ้ทั้งกระดาน โกะจึงสอนให้มองภาพรวมทั้งกระดาน มากกว่าโฟกัสแต่จุดเดียว”

แบงค์เล่าต่อว่านี่คือปรัชญาในเกม ที่นำมาปรับใช้กับปรัชญาชีวิตได้เสมอ เพราะชีวิตก็ไม่ต่างกัน ไม่มีใครอยู่ได้คนเดียวโดยไม่แบ่งปัน เพื่อนที่เล่นโกะด้วยกัน ในสนามการแข่งขันในเกม จึงเป็นเพื่อนนอกเกม ที่จบเกมแล้วมาแลกเปลี่ยน แบ่งปันประสบการณ์ หาจุดอ่อนและจุดผิดพลาดของกันและกัน เพื่อที่ทำให้เราพัฒนาตัวเองไม่ผิดพลาดซ้ำ

เกมในโกะ ที่มีสมาคม และเครือข่ายนักเล่นโกะมารวมตัวกัน มีกูรูมาคอมเมนท์ในเกมเมื่อถึงคราวประลอง เพื่อที่จะทำให้เพิ่มพูนประสบการณ์และเข้าใจความผิดพลาดจากระดับกูรู

จบเกมมีคอมเมนท์จากหลากหลายระดับทั้งจากกูรูและเพื่อนที่เล่นด้วยกัน ทำให้คนเล่นรู้จักพัฒนาตัวเอง ไม่ทำผิดซ้ำอีก แบงค์เล่า

หมากล้อมทำให้แบงค์ค้นหาตัวเองเจอว่าตัวเองรักและถนัดอะไร และใช้ชีวิตอยู่ด้วยความหวังอยากจะพัฒนาตัวเองโดยใช้โกะในการฝึกทักษะ และหาเลี้ยงตัวเองได้จากการแข่งขัน