MORNING CALL ACTION NOTES (7 มิ.ย.61)

MORNING CALL ACTION NOTES (7 มิ.ย.61)

มองกรอบบน

SET Index วานนี้ฟื้นตัวต่อและตามด้วย Sideway แดนบวก ท่ามกลางการเลือกตั้งในประเทศชัดเจนมากขึ้น หนุนหลักโดยกลุ่ม ENERG จากราคาน้ำมันดิบฟื้นตัว (PTTEP PTT) ตามมาด้วยกลุ่ม ICT หลัง กสทช.แนะผู้ประกอบการควรเข้าประมูล ตามมาด้วยกลุ่ม FOOD หลัง MINT เริ่มผ่อนคลายความกังวลเพิ่มทุน โดยรวม SET Index ปิดที่ 1,738.70 จุด (+5.99 จุด) Volume 5.88 หมื่นลบ. ทั้งนี้เป็น Foreign Net -941.42 ลบ.  TFEX Net +9,561 สัญญา ตราสารหนี้ +14,709.96 ลบ.

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย  

+ดาวโจนส์ปิดทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือนโดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มธนาคารจากคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์หน้า

+สหรัฐเจรจาเกาหลีเหนือ หวังออกแถลงการณ์ร่วมหลังประชุมซัมมิตสัปดาห์หน้า

+ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐลดลง 2.1% สู่ระดับ 4.62 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน

+ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.4% ในไตรมาส 1

-น้ำมันดิบปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 เดือน EIA เผยว่า สต็อกน้ำมันดิบและการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐพุ่งขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว

+/- Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD ขาย 1.32 แสนล้านบาท ค่าเงินบาท31.90 บาท/USD

**จับตาประชุม ECB สัปดาห์หน้า 14 มิ.ย. หลังเจ้าหน้าที่ส่งสัญญาณลดวงเงิน QE

ภาวะตลาดหุ้นไทยได้รับปัจจัยบวกจากตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน การที่สหรัฐขาดดุลการค้าลดลง การประชุมระหว่างผู้นำสหรัฐและผู้นำเกาหลีเหนือที่เกิดขึ้นได้ตามแผน โดยมีปัจจัยกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับลงแตะระดับต่ำสุดใน การปรับตัวลงของตลาดหุ้นสหรัฐ และตลาดหุ้นภูมิภาคที่ผันผวน รวมทั้ง fund flow ไหลออก  คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,730-1,750 จุด

กลยุทธ์การลงทุน   เก็งกำไรกลุ่มที่มีปัจจัยสนับสนุน

- PSL ดัชนีค่าระวางเรือปรับตัวขึ้น +29% ใน 5 วันที่ผ่านมาสู่ระดับ 1,340 จุด

- GOLD GULF MBK THG  หุ้นเข้าคำนวณ FTSE SET Mid Cap Index มีผล 18 มิ.ย.

- UVAN เก็งครม.ออกมาตรการช่วยเหลือการส่งออกน้ำมันปาล์ม

- GGC EA เดือนก.ค.รัฐปรับเพิ่มสัดส่วนการใช้ไบโอดีเซลจาก B7 เป็น B20 

- หุ้นที่ Laggard ดัชนี CPF CK STEC UNIQ

- JUBILE ATP30 AGE XO SSP TPCH หุ้น MAI ที่คาดว่ากำไรปี 61 เติบโต

- BANPU ราคาถ่านหินทรงตัวในระดับสูง 112.8$/Ton

หุ้นแนะนำพิเศษ

SAPPE Opportunity Day (ราคาปิด 28.5 Bloomberg Consensus 31.68 บาท)

  • กำไรสุทธิ 1Q61 เติบโตโดดเด่นที่ 117 ลบ. +140 %YoY +53 %QoQ โดยได้แรงหนุนจากยอดขายต่างประเทศที่เติบโตสู่ 484 ลบ. +90 %YoY โดยเฉพาะตลาดเอเชียและตะวันออกกลาง ช่วยหนุนให้รายได้รวมอยู่ที่ 702 ลบ. +41 %YoY ขณะที่ COGS ต่อรายได้และ %SG&A ต่อรายได้ปรับตัวลงเหลือ 58 % และ 11 % ตามลำดับเมื่อเทียบกับ 1Q60 ที่ 62% และ 14% ตามลำดับ ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นสู่ 16% จาก 10% เมื่อเทียบ YoY
  • บริษัทวางเป้าหมายเติบโตของรายได้ในอีก 3 ปีต่อจากนี้ปีละ 10 – 15% โดยเน้นขยายตลาดไปยังต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันส่งออกไปแล้วกว่า 80 ประเทศทั่วโลก และมีประเทศที่เป็นตลาดหลักเพิ่มขึ้นจาก 5 ประเทศเป็น 7 ประเทศ (บริษัทเรียกประเทศเหล่านี้ว่า GEMS) และมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตอีก 10 – 20 % จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 3 แสนตัน/ปี คาดจะแล้วเสร็จใน 3Q61 พร้อมทั้งมีแผนขยายตลาดเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวภายใต้แบรนด์ Zea Max (เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เนื้อปลาเป็นวัตถุดิบ 95%) ซึ่งจะเริ่มจำหน่ายในเดือนก.ค.
  • ความเห็น : การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องได้ทั้งปีเนื่องจากประเทศ GEMS ของบริษัทเพิ่มขึ้นสู่ 7 ประเทศ ซึ่งประเทศเหล่านี้สินค้าติดตลาดแล้วหากมีการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึงมากขึ้นจะทำให้ยอดขายเติบโตได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งบริษัทเตรียมยายกำลังการผลิตเพิ่มอีก 10-15% เพื่อรองรับการเติบโตของกาส่งออกจากที่ 2Q60 บริษัทไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทัน ทั้งนี้ Bloomberg Consensus คาดการณ์กำไรสุทธิปี 61 จะอยู่ที่ 441 ลบ. เติบโต 10 %YoY
  • + ANAN (ราคาปิด 54 Bloomberg Consensus 4.67) โชว์แบ็กล็อกล่าสุด 53,600 ล้านบาท ทยอยกินยาว ลุยโอน “แอชตัน จุฬา-สีลม” มูลค่า 8,500 ล้านบาท หลังกวาดยอดขายแล้ว 85% ของมูลค่าโครงการ พร้อมคงเป้ารายได้ปีนี้ 38,000 ล้านบาท โต 150% จากปีก่อน (ที่มา ข่าวหุ้น)
  • + S (ราคาปิด 26 Bloomberg Consensus 5) ปักธงผลงานปี 2562 โดดเด่น รายได้พุ่ง 20,000 ล้านบาท จ่อรับรู้รายได้โรงแรมครบ 39 แห่ง หลังคาดเข้าซื้อโรงแรมเอาท์ริกเกอร์ 6 แห่งเสร็จเดือนนี้และบุ๊กรายได้ทันที โชว์แบ็กล็อก 10,000 ล้านบาท บันทึกส่วนใหญ่ปี 2562 (ที่มา ข่าวหุ้น)
  • + INET เล็งตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ด้าน Data Center ครั้งแรกในประเทศไทย มูลค่า 3 พันล้านบาท ในช่วงต้นปี 2562 หวังระดมทุนใช้หนี้ ลด D/E เหลือ 0.50-0.8 เท่า ปักธงยอดขายปีนี้เติบโต 30% ทะลุ 1.4 พันล้านบาท ลุยขยายฐานลูกค้าต่อเนื่อง จ่อหาโอกาสขายหุ้น NETBAY รับเงิน 200-300 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
  • IRPC นักกฎหมายยืนยัน ศาลฎีกาฯ มีคำสั่งรับฟ้องกรณี ปปช.ยื่นฟ้อง “ทักษิณ” เกี่ยวกับแผนฟื้นฟูฯ TPI (ปัจจุบันคือ IRPC) ไม่มีผลกระทบการดำเนินงาน หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ ใน IRPC แน่นอน เผยประเด็นนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินเคยร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 2547 และศาลฯ วินิจฉัยแล้วว่าไม่ผิด ขณะที่กระทรวงการคลังเข้าไปดำเนินการตามคำสั่งของศาลล้มละลายกลาง (ที่มา ข่าวหุ้น)

หุ้นมีข่าว   

·        MINT (ราคาปิด 35.75 บาท Bloomberg Consensus 45.41 บาท) เตรียมทุ่มงบลงทุนรวม 8.55 หมื่นล้านบาท เข้าซื้อหุ้นใน NH Hotel Group ทำธุรกิจโรงแรมในยุโรป หลังทำรายการเสร็จถือหุ้นเพิ่มเป็น 100% จ่อขอออกหุ้นกู้อีก 5 หมื่นล้านบาท ชงที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติวันที่ 9 ส.ค.นี้ เวลา 9.30 น. (ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น)

·        ความเห็น แผนการเข้าซื้อหุ้น NH Hotel Group ดังกล่าวของ MINT เกิดขึ้นภายหลังจากบริษัทได้ถือหุ้นปัจจุบันที่ 9.4% เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 61 โดยการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน ตามลำดับ คือ 1) เข้าซื้อสัดส่วน 16.8% ที่ราคาหุ้นละ 6.4 EUR หรือคิดเป็น 1.59 หมื่นล้านบาท คาดจะเข้าทำรายการเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 15 มิ.ย. 61 จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 26.2% 2) การเสนอซื้อ (Takeover bid) ในสัดส่วน 65.4% ที่ราคาหุ้นละ 6.4 EUR คิดเป็นเงิน 6.5 หมื่นล้านบาท คาดจะสามารถเข้าทำรายการได้ภายในเดือน ก.ย. 61 และ 3) เข้าซื้อหุ้นอีก 8.4% ที่ราคาหุ้นละ 6.1 EUR (อาจเปลี่ยนแปลงหากมีการจ่ายเงินปันผล) หรือเป็นเงิน 7.59 พันล้านบาท

·        ทั้งนี้ การเข้าซื้อทั้งสิ้น 100% ดังกล่าวข้างต้นนั้น เป็นไปตามกฎหมายการป้องกันการ Take over ขณะที่เป้าหมายการถือหุ้นที่แท้จริงของ MINT อยู่ที่ราว 51 – 55% ซึ่งบริษัทจะใช้เครื่องมือเชิง Qualitative ในการให้ได้มาซึ่งสัดส่วนเป้าหมาย ทั้ง 1) ดราคาการเสนอซื้อที่อยู่ในระดับใกล้เคียงราคาซื้อขายในตลาดปัจจุบันของ NH Hotel Group 2) การกำหนดจุดยืนภายหลังได้ Management Control ว่าจะยังจดทะเบียนในตลาดต่อไป และ 3) การมี Strategic partner เข้ามาร่วมลงทุนด้วยบางส่วน โดยรวมจะเป็นผลให้ MINT มี IBD/Equity อยู่ที่ 1.2 – 1.3 เท่า จากปัจจุบันที่ 0.94 เท่า และยังคงต่ำกว่า Legal Debt Covenant ที่ 1.75 เท่า สะท้อนความเสี่ยงด้านการเพิ่มทุนที่ผ่อนคลายลง ส่วนด้านการรับรู้ส่วนแบ่งกำไร เบื้องต้น Bloomberg Consensus ได้คาดการณ์ว่าภายใต้ ศก.ยุโรปที่ฟื้นตัว การท่องเที่ยวที่เติบโต น่าจะส่งผลให้มีส่วนแบ่งกำไรหลังหักดอกเบี้ยเงินกู้มาราว 5 - 6 ร้อยล้านบาท (เต็มปี) จึงอาจเป็นโอกาสให้หาจังหวะเข้า “ซื้อเก็งกำไร”

·        +MOONG (ราคาปิด 6.70 ราคาเหมาะสม อยู่ระหว่างการปรับประมาณการในทางบวก) คาดยอดขาย Q2/61 สูงกว่า Q2/60 หลังส่งสินค้าใหม่ เล็งขยายตลาดไปเมียนมาและกัมพูชา (ที่มา : IQ)

·        ความเห็น : ช่วง 1Q61 บริษัทมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 32 ลบ. เติบโตสูงถึง  70 %YoY เนื่องจากรายได้ของบริษัทมีการเติบโตราว 11 %YoY จากช่องทางการจัดจำหน่ายของบริษัทอาทิ Modern Trade+9%YoY Traditional Trade +16%YoY  และบริษัทสามารถขยายส่วนแบ่งทางการตลาดในสินค้าแม่และเด็ก โดยสามารถเพิ่มยอดขายได้ถึง  9.5 % เมื่อเทียบกับตลาดโดยรวมที่เติบโตเพียง 3.2%  ประกอบกับฐานของส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทพีเจ้นคอร์ปที่ต่ำใน 1Q60 กำไรสุทธิปี 61 อยู่ระหว่างทบทวนเพื่อปรับประมาณการในเชิงบวก เนื่องจากคาดว่าจะสามารถทำได้ดีกว่าที่คาด

·        - KTB (ราคาปิด 17.90 ถือ Bloomberg Consensus 20) ยอมรับแก้หนี้เสียไม่ตกจากปัญหาลูกค้ากลุ่มโรงสี แนวโน้มพุ่งต่อ แต่คาดว่าจะไม่เกิน 5% จากกลุ่มโรงสี ลานมันสำปะหลัง ส่วนหนี้ EARTH จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาทอยู่ในกระบวนการทางศาล Q2 ยังต้องตั้งสำรองเพิ่ม ส่วนแนวโน้มสินเชื่อเริ่มฟื้นเป็นบวก ทั้งปีคาดโต 6-7% (ที่มา ข่าวหุ้น

·                 ความเห็น คาดว่าความกังวล NPL จะเป็นปัจจัยกดดันราคาหุ้นในช่วงนี้ ผนวกกับยังไม่มีความชัดเจนว่าการบังคับใช้มาตรฐานบัญชี IFRS9 จะเลื่อนหรือไม่  ทั้งนี้ %NPL ณ ปลาย Q1/61 อยู่ที่ 4.33% เพิ่มขึ้นจาก 4.19% ณ ปลายปี 60 โดยมี Coverage Ratio ทรงตัวที่ระดับ 120% ต่ำกว่า Peer ที่ราว 130 – 140% KTB เป็นแบงก์รัฐที่จะได้ประโยชน์จากการเร่งประมูลโครงการขนาดใหญ่ส่งผลให้ในอนาคตสินเชื่อมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นเมื่อเริ่มเบิกจ่ายเงินกู้ แนะนำถือ เนื่องจากมี yield 4% สูงสุดในกลุ่มแบงก์ใหญ่