“ส.ขอนแก่น” ปักธงโต อาหารด่วน & ทะเลแปรรูป

“ส.ขอนแก่น” ปักธงโต อาหารด่วน & ทะเลแปรรูป

ธุรกิจ “อาหารด่วน & ทะเลแปรรูป” หมากรบล่าสุด ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ หัวเรือใหญ่ “เจริญ รุจิราโสภณ” ประกาศปักธงโตทั้งใน-นอกบ้าน เขาเชื่อว่าอีกไม่เกิน 3-5 ปีทั้ง 2 ธุรกิจจะขึ้นแท่นพระเอก“หล่อและรวยมาก”รับพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ ไม่นิยมทำอาหารกินเอง...!!

ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป...!! นิยมกินอาหารนอกบ้าน หรือโทรสั่งกินที่บ้านแบบ เดลิเวอรี่” (Delivery) สะดุดตาผู้ประกอบการหัวการค้าอย่าง เจริญ รุจิราโสภณ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ หรือ SORKON ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารแปรรูปภายใต้แบรนด์การค้าว่า ส.ขอนแก่น” ที่กำลังกลายเป็น "แสงสว่างส่องนำทางแจ้งเกิดตลาดในประเทศ และต่างประเทศมากขึ้น 

เจริญ รุจิราโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SORKON เล่าแผนธุรกิจฉบับ 3-5 ปี (2561-2565) ให้ “กรุงเทพธุรกิจ BizWeek” ฟัง โดยยอมรับว่า ปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งในเมืองไทยและทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต

นิยมซื้อกับข้าวเพื่ออุ่นและรับประทานทันที ไม่มานั่งทำให้เสียเวลาเขาย้ำ

ฉะนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่ บริษัทจึงปรับแผนธุรกิจใหม่” โดยใน 6 ธุรกิจหลักของบริษัท ประกอบด้วย 1.อาหารแปรรูปจากเนื้อสุกร (อาหารพื้นเมือง) 2.อาหารทะเลแปรรูป (ลูกชิ้นปลา)3.อาหารขบเคี้ยวที่ทำจากเนื้อสุกร ,ชิ้นส่วนสุกร และเนื้อไก่ (meat base snack) 4.อาหารแช่แข็งพร้อมรับประทาน (Ready-To-Eat)และ อาหารแช่แข็งพร้อมอุ่นรับประทาน (Ready-To-Heat) 5.ธุรกิจร้านอาหารประเภท Quick Service Restaurant และ 6.ธุรกิจฟาร์มสุกรขุน

ธุรกิจที่กำลังเป็น ดาวรุ่ง” ที่บริษัทจะให้ความสำคัญ คือ ธุรกิจร้านอาหารประเภท Quick Service Restaurant ในรูปแบบของแฟรนไชส์ ทั้ง 2 แบรนด์ คือ แบรนด์ ข้าวขาหมูยูนนาน” และแบรนด์ แซ่บ คลาสสิค” (Zaap Classic) อาหารประเภท ส้มตำและไก่ย่าง และธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป 

อาหารด่วนและทะเลแรรูป กำลังเป็นของโอกาสทองให้ ส.ขอนแก่น เติบโตได้อีกมหาศาล...!!" ผู้ก่อตั้ง ส.ขอนแก่น เชื่อเช่นนั้น ประเมินจากปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารประเภท Junk Food  แบรนด์ต่างชาติมีมูลค่าตลาดในเมืองไทยอยู่ที่ระดับแสนล้านบาท” 

ขณะที่ ส.ขอนแก่น มีรายได้จากธุรกิจร้านอาหารในปีที่แล้ว 100 ล้านบาท โดยตั้งเป้า 3 ปีข้างหน้า (2561-2563) จะมีรายได้เพิ่มเป็นระดับ "หลายพันล้านบาท

มูลตลาดร้านอาหารระดับแสนล้าน หากเราทำได้แค่ 5% ก็คิดเป็นเม็ดเงินกว่า 5,000 ล้านบาทแล้วเขาเปรย 

ฉะนั้น กลยุทธ์ของบริษัทในครึ่งหลังปีนี้ จะรุกออกอาหารด่วนประเภทอื่นๆมาในตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่เป็นที่นิยมบริโภคในชีวิตประจำวันของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ อาทิ ข้าวขาหมู ข้าวหมูแดง ข้าวผัดกระเพรา เป็นต้น

เราให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาสินค้าก่อนออกสู่ตลาด โดยต้องผ่านการทดสอบและเป็นที่ยอมรับแล้วว่าอร่อยสด สะอาด และได้มาตรฐาน

ผู้ก่อตั้ง ส.ขอนแก่น” ยังขยายความให้ฟังว่า จะไม่เปิดสาขาร้านอาหารข้าวขาหมูยูนนาน และ Zaap Classic แต่จะปรับปรุงทั้งร้านข้าวขาหมูยูนนาน และ Zaap Classic ให้เป็นเหมือนกับโชว์รูมไว้ชิมอาหารและเก็บข้อมูลสถิติจากผู้บริโภคว่าอาหารเมนูไหน ป๊อบปูร่า” บริษัทจะทำเป็นอุตสาหกรรมเพื่อผลิตและส่งขายเข้าไปตามช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ หรือ Modern Trade รวมถึงช่องทาง Delivery ที่กำลังเป็นที่นิยมโดยเฉพาะพนักงานตามออฟฟิศ

นอกจากนี้ บริษัทยังขยายช่องทางจัดจำหน่ายในรูปแบบร้านอาหาร และจุดจำหน่ายในรูปแบบเช่าพื้นที่หน้าร้านซูเปอร์มาร์เก็ต โดยปัจจุบันบริษัทได้เจรจาเช่าพื้นที่และวางขายเรียบร้อยแล้ว อาทิ แม็คโคร, วิลล่า มาร์เก็ต, ฟู้ดแลนด์ เป็นต้น ขณะที่ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขามากที่สุดในไทย อยู่ในช่วงกำลังพูดคุย

นอกจากนี้ ในปีนี้บริษัทจะออกสินค้าใหม่ๆ อีกรายการ จากปัจจุบันมีเพียงข้าวขาหมูและได้รับกระแสตอบรับจากผู้บริโภคค่อนข้างดี จะเห็นได้จากตัวเลขยอดขายจุดจำหน่ายหน้าวิลล่า มาร์เก็ต” ที่บริษัทเปิดแค่แห่งเดียวมียอดขายเฉลี่ยวันละ 10,000 บาท ทำให้มีแผนจะเปิดจุดจำหน่ายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจดังกล่าว สะท้อนผ่านผลประกอบการย้อนหลัง 2 ปี (2559-2560) ที่ส.ขอนแก่น มี กำไรสุทธิ จำนวน 109.17 ล้านบาท และ 136.40 ล้านบาท ตามลำดับ  ล่าสุดไตรมาส 1 ปีนี้ มีกำไรสุทธิ 50.83 ล้านบาท

ต่อไปตามซูเปอร์มาร์เก็ตหน้าหมู่บ้านจะเห็นอาหารประเภทตักแบรนด์ของส. ขอนแก่นวางขาย

เจริญ ยังบอกด้วยว่า กำลังโฟกัสเข้าไปในตลาด ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (AEC) ที่มีประชากรสูงเกือบ 600 ล้านคน ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยเบื้องต้นขยายตลาดเข้าไปในที่ประเทศลาว-กัมพูชา-เมียนมาและกำลังศึกษาเข้าไปในตลาด เวียดนาม” การเน้นตลาดใน AEC เพราะว่ารสนิยมการกินคล้ายๆ กับตลาดเมืองไทย

ปัจจุบันบริษัทมีร้านขาหมูยูนนาน อยู่ที่กัมพูชา 4 แห่ง ลาว 3 สาขา ส่วนเมียนมา ยังไม่ได้เปิดสาขา แต่เข้าไปหาวัตถุดิบอาหารทะเลก่อน

สำหรับ ธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป” เป็นอีกหนึ่ง พระเอก” ที่จะเติบโตได้อีกมาก ซึ่งปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างศึกษาออกโปรดักท์ตัวใหม่ที่ทำจาก กุ้ง ปลา ปลาหมึก คาดว่าจะออกสู่ตลาดในครึ่งปีหลัง จากปัจจุบันมีสินค้าเพียง ลูกชิ้นปลา ประกอบกับตอนนี้ธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปบริษัทกำลังศึกษาลงทุนในกับพันธมิตรเข้าไปสู่ธุรกิจต้นน้ำ จากปัจจุบันบริษัททำแค่ธุรกิจปลายน้ำ คาดว่าจะได้เห็นรูปธรรมภายในปีนี้

เราจะอยู่และเติบโตแค่ในประเทศไม่ได้แล้ว เราต้องออกไปเติบโตในต่างประเทศ องค์กรเราถึงจะใหญ่ขึ้น ซึ่งตอนนี้องค์กรแข็งแรงแล้ว

สำหรับกลยุทธ์ ตั้งเป้าหมายขยายตลาดสินค้าออกทั่วมุมโลก ซึ่งปัจจุบันสินค้าอาหารทะเลแปรรูปมียอดขายดีมากในตลาดอเมริกา,ยุโรป และเอเชีย ปัจจุบันโรงงานผลิตลูกชิ้นปลามีกำลังการผลิต 1.5 หมื่นตันต่อปี ซึ่งใช้กำลังการผลิตไปแล้ว 80-90%

สำหรับลักษณะธุรกิจ6 ประเภท ของ ส.ขอนแก่น เขาแจกแจงว่า 

ธุรกิจอาหารแปรรูปจากเนื้อสุกร (อาหารพื้นเมือง) ปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนรายได้ 42% ซึ่งอนาคตอาหารพื้นเมืองจะเติบโตไม่มากแล้ว เพราะว่าปัจจุบันบริษัทมีมาร์เก็ตแชร์รายใหญ่แล้ว ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคกินอาหารประเภทข้าวได้ทุกมื้อ แต่กินเหนมหรือหมูยอไม่ได้ทุกวัน คาดว่าธุรกิจอาหารพื้นเมืองจะเติบโตประมาณ 5% ต่อปี จากการออกผลิตภัณฑ์สินค้าตัวอื่นๆ ออกมาใหม่เสริม

โดยอาหารแปรรูปจากเนื้อสุกร ประกอบด้วย หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง ไส้กรอกอีสาน หมูยอ แหนม ลูกชิ้นหมู และอื่นๆ ซึ่งผลิตภายใต้ยี่ห้อ “ส.ขอนแก่น” สำหรับ ภาวะอุตสาหกรรมแม้ว่าปีนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน แต่คาดว่ายอดขายของบริษัทยังสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง และสามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากกว่า 50% ในฐานะเป็นผู้นำในการผลิตอาหารแปรรูปจากเนื้อสุกรมานานกว่า 30 ปี

อาหารทะเลแปรรูป (ลูกชิ้นปลา) คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 34% บริษัทจะออกโปรดักท์ใหม่ ซึ่งปัจจุบันบริษัทเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดเติบโตเฉลี่ยปีละ 5-8% แต่หากมีโปรดัสท์ใหม่ๆ เข้ามาจะเติบโตมากกว่าเดิม คาดว่าครึ่งปีหลังจะออกผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากอาหารทะเลออกมาในตลาด

อาหารขบเคี้ยวที่ทำจากเนื้อสุกร ,ชิ้นส่วนสุกร และเนื้อไก่ (meat base snack)คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 4% ปัจจุบันมูลค่าตลาดสเน็ตอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 0.5% เพราะหมูราคาแพง ซึ่งหากเศรษฐกิจดีจะเติบโตราว 15% แต่หากเศรษฐกิจชะลอตัวจะเติบโตไม่เกิน 10%

สำหรับอาหารขบเคี้ยวประเภทเนื้อสุกร ,ชิ้นส่วนสุกร และเนื้อไก่ ประกอบด้วย หมูแผ่นกรอบ หมูอบปรุงรส ไก่อบปรุงรส ภายใต้แบรนด์ “อองเทร่” และ ตรา ส.ขอนแก่น ถือว่าเป็นกับแกล้มชั้นดีสำหรับคอเบียร์ และกลุ่มคนที่นิยมบริโภคแคบหมูควบคู่ก๋วยเตี๋ยวเรือ

อาหารแช่แข็งพร้อมรับประทาน (Ready-To-Eat) และอาหารแช่แข็งพร้อมอุ่นรับประทาน (Ready-To-Heat) คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 7% ประกอบด้วย อาหารแช่แข็งทั้งอาหารคาว และขนมหวาน โดยปัจจุบันเป็นการผลิตภายใต้ยี่ห้อของลูกค้า (OEM) และเป็นครัวกลางในการผลิตสินค้าส่งให้กับร้าน ภายใต้แบรนด์ “แซ่บ คลาสสิก” และ “ยูนนาน” โดยปัจจุบันบริษัทมีนโยบายในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ โดยเน้นการผลิตภายใต้แบรนด์ของตัวเองในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันบริษัทได้ออกผลิตภัณฑ์ ขาหมูยูนนานเพื่อจำหน่ายผ่านซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป 

ธุรกิจร้านอาหารประเภท Quick Service Restaurant คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 6% อนาคตจะขึ้นมาเป็นพระเอกโดยบริษัทได้เปิดร้านอาหารประเภทส้มตำ ไก่ย่าง ภายใต้ยี่ห้อแซ่บ คลาสสิก โดยในปีนี้บริษัทจะใช้กลยุทธ์ คือ การให้บริการ Delivery ทั้งในรูปแบบ Call Center ของบริษัทเอง และการส่งอาหารผ่านจาก Platform ต่างๆ ตลอดจนการเพิ่มความหลากหลายของเมนูให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

ธุรกิจฟาร์มสุกรขุน คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 7%สถานการณ์ผู้เลี้ยงสุกรในเมืองไทยมีหลายราย จะทำกำไรยาก โดยในปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมเนื้อสุกรพังมาก เพราะว่าต้นทุนผู้เลี้ยงอยู่ที่ 55 บาทต่อกิโลกรัม แต่ราคาขาย 44 บาทต่อกิโลกรัม เพราะกำลังซื้อไม่มี ร้านอาหารใหญ่ที่เคยสั่งหมูจำนวนมากก็ลดคำสั่งซื้อลงเพราะผู้บริโภคมาใช้บริการน้อยลง

ขณะที่บริษัทเลี้ยงสุกร เพื่อป้อนเป็นวัตถุดิบเข้าโรงงาน รวมทั้งตอนนี้อยู่ระหว่างศึกษาเข้าไปลงทุนฟาร์มสุกรในกลุ่มประเทศ AEC คาดว่าจะเซ็นสัญญาในเดือนหน้า เพราะราคาเนื้อหมูในประเทศ AEC จะมีราคาแพงกว่าเมืองไทยประมาณ 15%

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  ยังบอกว่า ส.ขอนแก่นกำลังจะมีธุรกิจที่ 7 คือ ธุรกิจเครื่องดื่มซึ่งบริษัทวางขายเครื่องดื่ม 2 ประเภท น้ำจับเลี้ยง และชามะลิ” แต่เป็นการวางขายในร้านอาหารของบริษัท ล่าสุด กำลังศึกษาเข้าไปขายในตลาดจีน ซึ่งกระบวนการอยู่ระหว่างการขอ อย. (มาตรฐานอาหารและยา) ของจีน หากสามารถทำตลาดจีน คาดว่าจะทำให้ยอดขายเติบโตอีกมหาศาล

ขณะที่ ปีนี้ บริษัทตั้งเป้าเติบโตไม่ต่ำกว่า10%” เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนจากภาวะเศรษฐกิจที่เติบโต ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นและบรรยากาศการจับจ่ายซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่ดีขึ้น

รวมทั้งการปรับกลยุทธ์ส่วนของธุรกิจร้านอาหารบริการด่วน ภายใต้แบรนด์ยูนนานและแซ่บ คลาสสิก โดยเน้นการกระจายจุดจำหน่ายให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้ามากขึ้น รวมถึงเสริมความแข็งแกร่งในการให้บริการเดลิเวอรี่

สาเหตุที่กำไรเติบโตนิวไฮตลอด เพราะแบรนด์สินค้าค่อนข้างแข็งแกร่ง แม้เศรษฐกิจชะลอตัวลูกค้าส่วนใหญ่ก็ไม่หนีไปไหน โดยเฉพาะในธุรกิจอาหารจานด่วนที่ทำให้บริษัทเติบโตมาก เราจึงปรับแผนมาเน้นธุรกิจนี้ ประกอบกับเรามีเครื่องจักรใหม่ที่ทันสมัย ทำให้ต้นทุนลดลงไปมาก

ท้ายสุด เจริญทิ้งท้ายว่า หากมีธุรกิจไหนที่สร้างรายได้และกำไรเติบโตต่อเนื่อง ก็จะแยกออกมาเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป

-------------------------------------

ผุดโรงงานใหม่รับ ไทยแลนด์ 4.0”

เจริญ รุจิราโสภณประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ หรือ SORKONผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารแปรรูปภายใต้แบรนด์การค้า ส.ขอนแก่น” บอกว่า บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาก่อสร้าง โรงงานแห่งใหม่เงินลงทุนราว 400 ล้านบาท ที่มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร โดยเป็นการรวมทั้ง 4 โรงงานที่กระจัดกระจายแต่ละแห่งให้เหลือเพียง 1 แห่งเท่านั้น คาดว่าหากได้ข้อสรุปจะก่อสร้างภายในปี 2562 และแล้วเสร็จปลายปี 2563

รวมทั้งปรับรูปแบบโรงงานแห่งใหม่ให้เป็น ไทยแลนด์ 4.0” เพื่อรับกับโลกยุคใหม่ เดินโรงงานใช้แรงงานคนเป็นหลัก แต่ต่อไปปรับโรงงานใหม่ ก็ใช้แรงงานน้อยลงและใช้เครื่องจักรมากขึ้น เตรียมรองรับปัญหาขาดแคลนแรงงาน เพราะว่าปัจจุบันคนทำงานหายากมาก

ถือเป็นการเตรียมตัวรองรับไทยแลนด์ 4.0 เพราะโรงงานและเครื่องจักรของเราใหม่และทันสมัย

อย่างไรก็ตาม โรงงานแห่งใหม่คาดว่าแล้วเมื่อเสร็จจะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีก เท่าตัว” รองรับกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้อีก 3-5 ปีข้างหน้า ที่สำคัญหากเหลือเพียงโรงงานเดียวจะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง (โลจิสติกส์) และลดกำลังคน โดยคาดว่าต้นทุนจะลดลงกว่า 30% เนื่องจากพื้นที่โรงงานใหม่จะเป็นจุดโหลดสินค้าด้วย

เหตุผลสำคัญ หากเรารวมโรงงาน 4 แห่ง เหลือ 1 แห่ง เราจะสามารถลดต้นทุนค่าขนส่งและกำลังคนลงได้ คาดว่าจะลดต้นทุนลงได้ราว 30%ส่วนโรงงานเดิม 3 แห่ง คาดว่าจะขายหรือไม่อาจจะลงทุนผลิตสินค้าแนวใหม่

พร้อมทั้งการยกระดับมาตรฐานโรงงานให้ถูกต้องตามกฎระเบียบเพื่อการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายในกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการทำงาน เพื่อลดต้นทุน และสามารถเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน รวมทั้งมีการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคตามวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน

นอกจากนี้ อีกสเต็ปของการเติบโต นั่นคือ การซื้อกิจการ” โรงงานไหนมีการเงินไม่แข็งแรง การตลาดไม่แข็ง ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเสนอขายมาหลายราย แต่บริษัทเข้าไปดูยังไม่สนใจ

นโยบายเดินต่อไปจะมาศึกษาลงทุนแบบ M&A โดยจะไม่ลงทุนเพิ่มสินทรัพย์ หากเราต้องการมุ่งการเติบโตของกำไร