ผลวิจัยพบรัฐแบกภาระค่าอาหารคุกไทย พันล้านบาทต่อปี

ผลวิจัยพบรัฐแบกภาระค่าอาหารคุกไทย พันล้านบาทต่อปี

ผลวิจัยพบคุกไทยโตเร็ว ผู้ต้องขังหญิงสูงอันดับ 1 อาเซียน "นักวิชาการ" หนุนใช้โทษทางเลือกหลังคำพิพากษา "เผย" รัฐแบกภาระค่าอาหารพันล้านบาทต่อปี

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2561 นายธานี วรภัทร ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า งานวิจัยสำรวจต่อเนื่อง 10 กว่าปี พบว่าครอบครัวและสังคมเปลี่ยนทำให้มีผู้ต้องขังมากขึ้น ประกอบกับกลไกการบริหารยุติธรรมมีปัญหาชัดเจน ประเทศไทยมีโทษจำคุกนานเกินความจำเป็น และใช้โทษจำคุกเกินศักยภาพความจุของเรือนจำ โครงการกำลังใจสำรวจพบไทยอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก และมีผู้ต้องขังหญิงสูงสุดอันดับ 1 ในอาเซียน ไทยวันนี้เราบุกเบิกโทษจำคุกจนเติบโต ไม่ใช้โทษปรับตามความสามารถของบุคคล ขณะที่เยอรมันมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 15 ปี และส่วนมากใช้มาตรการรอการลงโทษ ซึ่งในต่างประเทศมาตรการเลี่ยงการจำคุกไปไกลมาก บางประเทศหากมีนักโทษมากจะเป็นความผิดของเรือนจำ

"ผู้ต้องขังคดียาเสพติดมีมากที่สุดในเรือนจำ รองลงมาคือคดีความผิดทำร้ายร่างกาย และคดีผิดต่อทรัพย์ ซึ่งสถิติโตขึ้นมานิดหน่อย สาเหตุที่คดียาเสพติดมีจำนวนมาก เนื่องจากมีการนำผู้เสพและผู้ซื้อขายเพื่อเสพไปขังทั้งที่ควรนำไปบำบัด จึงทำให้ผู้ต้องขังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น เราต้องจำแนกให้ได้ว่าใครเป็นผู้เสพหรือผู้ค้าตัวจริง ซึ่งจะทำให้จำนวนผู้ต้องขังหายไป เพราะผู้ค้าจริงๆ มีจำนวนหนึ่งเท่านั้น และผู้ต้องขังที่มากขึ้นยังทำให้รัฐมีต้นทุนสูงในการบริหารจัดการคุก เฉพาะค่าอาหาร 1 พันล้านต่อปี"นายธานีกล่าว