ติดอาวุธ 'เอสเอ็มอี' สู้ต่างชาติ

ติดอาวุธ 'เอสเอ็มอี' สู้ต่างชาติ

“สมคิด” โชว์วิสัยทัศน์เปิดงาน SME 4.0 ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยใช้เอสเอ็มอีเป็นฐานรากขับเคลื่อนประเทศ สั่ง ธพว.อัดฉีดเงินกู้ 8 พันล้าน ดอกเบี้ย 1%

ในงานแสดงกิจกรรมมาตรการเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 “SME Transform พร้อมเปลี่ยน ประชารัฐร่วมใจ เชื่อม SME ไทยสู่สากล” ที่เมืองทองธานี วันนี้ (18 พ.ค.61) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในโอกาสเป็นประธานว่า ยอมรับว่าไทยยังมีปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่สมดุล จึงต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การแก้ไขกฎหมาย แต่เป็นการแก้ไขการทำงานของภาครัฐให้รองรับการทำงานของภาคเอกชนได้มากขึ้น ด้วยการจัดทำนโยบาย 4.0 ที่ใช้เทคโนโลยี และดิจิตอลเข้ามามีส่วนร่วม

“ปัจจุบันไทยมีเอสเอ็มอีจำนวนกว่า 3 ล้านราย คิดเป็น 99.7% ของจำนวนวิสาหกิจทั่วประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 10 ล้านคน นับเป็นห่วงโซ่การผลิตและเป็นรากฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่แท้จริง ซึ่งรัฐบาลพร้อมผลักดันเอสเอ็มอีให้เติบโตมากขึ้นกว่านี้ให้ได้ เพื่อจะทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งมากขึ้น จากผู้ประกอบการขนาดเล็ก”

เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของกระทรวงอุตสาหกรรม ก็คือการสร้างผู้ประกอบการใหม่ให้เกิดขึ้นได้มากที่สุด มีความเข้มแข็ง รวมทั้งลงลึกสู่ธุรกิจใหม่ๆ ในด้านเอสเอ็มอีเกษตร และบริการ โดยรัฐบาลนี้ได้ทุกกระทรวงเข้ามาทำงานร่วมกันโดยมีเป้าหมายเดียวก็คือการสร้างเอสเอ็มอีใหม่ๆ เช่น กระทรวงพาณิชย์ มุ่งที่จะสร้างธุรกิจใหม่ๆ และขยายการค้าอีคอมเมิร์ช และการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเน้นในเรื่องการขับเคลื่อนนวัตกรรมให้เปลี่ยนมาเป็ฯมูลค่าเชิงพาณิชย์ สร้างเด็นรุ่นใหม่ที่มีฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มายกระดับเทคโนโลยีใหม่ๆ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะเน้นนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งดึงภาคเอกชนต่างๆมาร่วมกันเป็นประชารัฐเพื่อปฏิรูปประเทศ ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการพันาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะต้องร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และมหาวิทยาลัยต่างๆ เร่งสร้างนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การจัดงาน SME Transform #พร้อมเปลี่ยน ประชารัฐร่วมใจ เชื่อม SME ไทยสู่สากล ได้จัดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลได้สร้างโอกาสต่างๆ ไว้รองรับ เอสเอ็มอี และวิสาหกิจฐานรากของประเทศในการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน โดยการรวมพลังเครือข่ายประชารัฐในการขับเคลื่อนและยกระดับเอสเอ็มอี สู่ยุค 4.0 รวมถึงเป็นเวทีให้เอสเอ็มอีได้สัมผัสและเรียนรู้ผลสำเร็จนโยบายการส่งเสริมเอสเอ็มอีตลอดจนการสร้างการรับรู้แนวทางและโอกาสการปรับเปลี่ยนธุรกิจพร้อมนำเสนอกลไก การยกระดับเอสเอ็มอีทุกกลุ่ม ทุกมิติ และทั่วประเทศ

ดันฮับอาเซียนแข่งกับสิงคโปร์

โดยแกนหลักของการปฏิรูปเศรษฐกิจ ก็คือการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลได้ปรับแนวคิดจากเดิมที่มุ่งเน้นการลงทุนของธุรกิจขนาดใหญ่ ไปสู่การสร้างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสตาร์อัพจำนวนมากให้มีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่จะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทให้ความสำคัญสตาร์ทอัพรายใหม่ ซึ่งจะใช้แต่เพียงมาตรการด้านภาษีอย่างเดียวคงจะไม่พอ จะต้องหามาตรการใหม่ๆเพื่อจูงใจให้รายย่อยเกิดการลงทุน เช่น การหาเม็ดเงินเข้ามสนับสนุนเอสเอ็มอี โดยการดึงดูดเวนเจอร์แคปปิตอลต่างชาติให้เข้ามาลงทุน เป็นต้น

S__48152613

“ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 จะใช้ทุกกลไกที่มีอยู่ผลักดันให้ไทยเป็นฮับสตาร์ทอัพเอสเอ็มอีของอาเซียนแข่งกับสิงคโปร์ อะไรที่เป็นอุปสรรคกีดขวางต้องได้รับการแก้ไข กฎหมายฉบับใดล้าสมัยต้องได้รับการปรับปรุงให้สนับสนุนการดำเนินงานของผู้ประกอบการ ซึ่งมั่นใจในศักยภาพของผู้ประกอบการไทย โดยมองว่าอีก 4-5 ปีข้างหน้าจะเป็นโอกาสของธุรกิจไทย อะไรที่กีดขวางหรือเป็นอุปสรรคขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไข เช่น กฏหมายที่เกี่ยวข้อง การจดทะเบียน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยขอให้มีความคืบหน้าในช่วงเวลาก่อนเลือกตั้ง รวมทั้งร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ตลอดจาขยายความร่วมมือไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเอสเอ็มอีให้มีประสิทธิภาพ

รัฐบาลตั้งเป้ายกระดับเอสเอ็มอีไทย สู่ Smart Enterprise เปลี่ยนจาก ทำมากได้น้อย เป็น ทำน้อยได้มาก โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายดันจีพีเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 36% เป็นไม่น้อยกว่า 50% ภายในปี 2564 โดยได้เน้นใน 4 เรื่องหลักๆที่สำคัญ ได้แก่ 1. เงินทุน โดยจะให้ธนาคารเข้าไปลงทุนในเรื่องบิ๊กดาต้า และปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) และเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบบิ๊กดาต้า เพื่อดูข้อมูลผลประกอบการ สถานทางการเงิน และประวัติต่างๆอย่างละเอียด เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการปล่อยสินเชื่อ โดยไม่ต้องอาศัยหลักทรัพย์ค้ำประกัน

2. เทคโนโลยี ถ้าเอสเอ็มอีไม่ปรับปรุงในด้านนี้จะมีต้นทุนการผลิตสูง และหาเข้าสู่ห่วงโซ่การผลิตได้ยากขึ้น เพราะโลกได้ปรับไปสู่การค้าระบบดิจิทัล ดังนั้นจะต้องผลักดันให้เอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบการค้าดิจิทัลให้ได้ นอกจากนี้ กระทรวอุตสาหกรรมก็มีศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (ไอทีซี) ซึ่งจะมีกองทุนต่างๆให้ความช่วยเหลือ

3. โค้ชชิ่ง สถาบันการเงินจะต้องปรับวิธีการปล่อยสินเชื่อ จะต้องเน้นไปสู่ธุรกิจเอสเอ็มอี พร้อมๆกับการเข้าไปฝึกสอนให้เอสเอ็มอีเข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคาร และเอสเอ็มอีก็จะเติบโตอย่างเข้มแข็งเป็นลูกค้าระบะยาวต่อไป โดยในอนาคตหากธนาคาไม่เกาะกระแสปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอี ก็จะเสียส่วนแบ่งการตลาดไปแน่นอน

4. บิ๊กดาต้า เอสเอ็มอีจะต้องมีข้อมูลข่าวสารเชิงลึก เพื่อที่จะได้รู้ว่าตลาดมีแนวโน้มเปลี่ยนไปอย่างไร ตลาดที่น่าสนใจอยู่ที่ไหน โอกาสของธุรกิจะเป็นเช่นไร ภาครัฐจะต้องมีข้อมูลในเชิงลึกของทุกภาคธุรกิจ และบริการ จะต้องเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเปวไซด์ต่างๆ เพื่อให้เอสเอ็มอีเห็นช้องทางการค้ารู้ว่าควรจะผลิตอะไร ผลิตให้ใคร

ธพว.อัดฉีดรายย่อย 8 พันล้าน

นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เปิดเผยว่า ได้ออกสินเชื่อเพื่อเอสเอ็มอีคนตัวเล็ก สำหรับผู้ประกอบการสตาร์อัพเอสเอ็มอีรายใหม่ มีวงเงินรวม 8 พันล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเพียง 1% วงเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือจ่ายคืนเพียงวันละ 40 กว่าบาท และหากสตาร์ทอัพเอสเอ็มอีรายใด ใช้ระยะเวลาเริ่มธุรกิจที่ยาวนาน ก็สามารถชำระเพียงดอกเบี้ย ปลอดเงินต้นได้ 3 ปี หรือใน 3 ปีแรกจ่ายวันละเพียง 2.75 บาท ซึ่งสินเชื่อนี้จะใช้เวลาพิจารณาเพียง 7 วัน

“เราเปิดโอกาสพิเศษ สตาร์ทอัพเอสเอ็มอีที่พึ่งเริ่มต้นธุรกิจ สามรถเข้ามาขอสินเชื่อได้โดยไม่ต้องมีอะไรมาค้ำประกัน แต่เอสเอ็มอีที่ขอสินเชื่อจะต้องเป็นนิติบุคลที่เข้าระบบของกระทรวงพาณิชย์ตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) หรือบริษัทจำกัด”

sme1

sme4

sme6