ตั้งศูนย์สั่งการแก้รถติดกรุงเทพ-ปริมณฑล ใช้วงจรปิดช่วยเกือบ3พันตัว

ตั้งศูนย์สั่งการแก้รถติดกรุงเทพ-ปริมณฑล ใช้วงจรปิดช่วยเกือบ3พันตัว

ตั้งศูนย์สั่งการแก้รถติดกรุงเทพ-ปริมณฑล ใช้วงจรปิดช่วยเกือบ 3 พันตัว

พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง ผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ(ผบช.สยศ.ตร.) พร้อมด้วย พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ ผบก.ส.3 ในฐานะคณะทำงานแก้ปัญหาจราจร กล่าวถึงความคืบหน้าการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการจราจรตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีการประชุมวานนี้(17 พ.ค.) โดยสั่งการให้ทุกหน่วยงานบูรณาการทำงานร่วมกัน ตั้งเป็นศูนย์ควบคุมสั่งการและแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นศูนย์ใหญ่ เพื่อลดขั้นตอนการปฎิบัติงาน ซึ่งจากเดิมมีการแยกการแก้ไขปัญหา เพื่อประสานงานแก้ไขปัญหาการระบายรถ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน ซึ่งในสัปดาห์หน้านี้จะเริ่มดำเนินการวางแผนจัดการจราจรใน 3 เส้นทางหลัก เช่น ถนนสามเสน ถนนสาทร และ ถนนสุขุมวิท-เพชรบุรี ซึ่งทั้งสามเส้นนี้มีปัญหาการจราจรมากสุด เนื่องจากมีสถานศึกษาจำนวนมาก ทำให้การจราจรติดขัด โดยจะมีการประเมินทุกสัปดาห์ และลงพื้นที่ตรวจสอบเส้นทางก่อสร้าง ซึ่งให้ กทม.สำรวจ เพื่อคืนผิวจราจรให้กับประชาชน เนื่องจากพบว่ามีการกั้นพื้นที่เกินความจำเป็น ส่วนมาตการรับมือหน้าฝนจะประสานกับสำนักงานระบายน้ำล่วงหน้าว่าจุดไหนมีปัญหาจะได้เตรียมพ่องน้ำไว้ก่อน เพื่อรองรับน้ำหากมีปัญหาน้ำท่วมขังจะได้ระบายได้ทันท่วงที

พล.ต.ท.ไกรบุญ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับศูนย์ควบคุมสั่งการฯดังกล่าวมี พล.ต.ท.ณัฐธร เพราะสุนทร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวนแห่ง เป็นหัวหน้าศูนย์ฯ โดยยืนยันว่า แม้ศูนย์ดังกล่าวจะมีหลายหน่วยงาน แต่จะไม่มีการปัญหาในการสั่งการอย่างแน่นอน เพราะที่ผ่านมาหน่วยงานต่างๆก็มีการทำงานร่วมกัน มีความตั้งใจแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทั้งนี้ การทำงานของศูนย์ดังกล่าวนอกจากหน่วยงานต่างๆแล้ว จะมีบูรณาการโดยใช้กล้องวงจรปิดทั้งหมด 2,918 ตัว ในกทม.และปริมณฑล โดยเป็นกล้องของ กทม. ,การทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ กรมทางหลวง ฯ มาช่วยควบคุมดูแลการจราจร ส่วนการนำระบบกล้องเลนส์เชนจ์มาใช้ในการควบคุมจราจร 15 จุด พบว่าครบ 1 สัปดาห์มีการฝ่าฝืนแล้ว กว่า 1.4 แสนราย

ด้าน พล.ต.ต.เอกรักษ์ กล่าวว่าที่ประชุมวานนี้(17 พ.ค.) มีการเสนอแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.การจราจรทางบกฯ เพื่อช่วยส่งเสริมวินัยจราจร โดยจะนำวิธีการตัดคะแนนความประพฤติ ซึ่งส่งผลต่อการต่อใบขับขี่ และข้อมูลดังกล่าวจะลิ้งค์กับกรมการขนส่งทางบก เบื้องต้นกฎหมายังกล่าว ผ่านที่ประชุม สนช.แล้ว โดยในวันมี่ 7 มิถุนายน จะมีการทำประชาพิจารณ์ เพื่อประกาศใช้ต่อไป โดยเชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาได้