MORNING CALL ACTION NOTES (17 พ.ค.61)

MORNING CALL ACTION NOTES (17 พ.ค.61)

รีบาวด์ตามเพื่อนบ้าน

ภาวะตลาดหุ้นวานนี้  อ่อนตัวต่อเนื่องหลัง Bond Yield สหรัฐฯแตะ New high ในรอบ 7 ปี จากความกังวล FED ขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ ท่าม โดยรวมกลุ่ม ICT กดดันมากสุด ตามมาด้วย COM TRANS FIN BANK PETRO ส่วนกลุ่ม CONS มาหนุนบางส่วน ส่งผลให้ SET Index ปิดที่ 1,750.62 จุด (-16.24 จุด) Volume 6.76 หมื่นลบ. ทั้งนี้เป็น Foreign Net +2,130.73 ลบ.  TFEX Net -7,393 สัญญา ตราสารหนี้ -1,192.87ลบ.

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย  

+ดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นโดยได้แรงหนุนจากตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวขึ้น และรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งจากบริษัทจดทะเบียน

+น้ำมันขยับขึ้นเล็กน้อย ได้แรงหนุนจากน้ำมันสำรองของสหรัฐฯ ลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล อีกทั้ง"มอร์แกน สแตนลีย์"ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมันสู่ 90 $ในปี 63

+ การผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนเม.ย. โดยได้แรงหนุนจากการดีดตัวของการผลิตเครื่องจักร

+ กนง.มีมติเอกฉันท์คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ตามตลาดคาด

+ นทท.ต่างชาติเม.ย.อยู่ที่  3.09 ล้านคน ขยายตัว 9.38% สร้างรายได้ 1.5 แสนลบ.

- ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านสหรัฐลดลง 3.7% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 1.287 ล้านยูนิต

+/- Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD ขาย 9.22 หมื่นล้านบาท เงินบาทอยู่ที่ 31.99 บาท/USD

ภาวะตลาดหุ้นไทยได้ปัจจัยหนุนจากตลาดหุ้นต่างประเทศปรับขึ้นและตลาดหุ้นภูมิภาคดีดตัวบวกขานรับ bond yield ที่ปรับลง  ราคาน้ำมันที่ขยับขึ้นต่อ และปัจจัยในประเทศจากการที่กนง.ยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิม  โดยมีปัจจัยลบจาก fund flow ที่ยังผันผวนต่อเนื่อง  คาด SET เคลื่อนไหวในกรอบ 1,744-1,763 จุด

กลยุทธ์การลงทุน   เก็งกำไรกลุ่มที่มีปัจจัยสนับสนุน

- JUBILE ATP30 AGE XO SSP TPCH หุ้น MAI ที่คาดว่ากำไรปี 61 เติบโต

- BANPU ราคาถ่านหินปรับตัวขึ้นสู่ 104.6$/Ton +11.6% ในช่วง 16 วัน

- หุ้นเข้า MSCI Global Standard Index – LH หุ้นที่ถูกถอดออกจาก MSCI Global Standard Index - KCE SCC หุ้นเข้า MSCI Small Cap Index - DDD, KCE, MONO, PRM, THG, TPIPL หุ้นออกจาก MSCI Small Cap Index - BIG, EASTW, FSMART, GL, KTC, LHFG, MALEE, SAMART, TSE

- หุ้น EEC Play ได้แก่ WHA AMATA EASTW ATP30 QH ORI

หุ้นแนะนำพิเศษ

SC Analyst Meeting (ราคาปิด 3.80 ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 4.69) : กำไรปี 61 มีโอกาสพลิกเติบโตจากหดตัวในปีก่อน

  • 1Q61 มีกำไรสุทธิ 259 ล้านบาท เติบโต 244%YoY เนื่องจาก 1) รายได้รวม 2,686 ล้านบาท เติบโต 53%YoY 2) GPM รวมปรับดีขึ้นสู่ 36% จาก 34.4% ใน 4Q60 แต่ลดลงจาก 39.5% ใน 1Q60 ทั้งนี้ GPM รายได้ค่าเช่าปรับฐานต่ำลงเนื่องจากต้นทุนอาคารสนง.ให้เช่าแห่งใหม่สูงขึ้น 3) %SG&A อยู่ที่ 23.5% ลดลงจาก 34% ใน 1Q60 แต่ต่ำกว่า 4Q60 ที่ระดับ 16.8% 4) NPM ปรับดีขึ้นสู่ 9.6% จากฐานต่ำ 4.3% ใน 1Q60 แต่ต่ำกว่า 4Q60 ที่ระดับ 12%ที่เป็นช่วงไฮซีซั่น ปลายงวดมี backlog 1.09 หมื่นล้านบาทซึ่งเกือบครึ่งจะโอนในปีนี้
  • แนวโน้มกำไร 2Q61 เพิ่มขึ้น QoQ จากการเริ่มโอนคอนโดฯหรู “ศาลาแดงวัน” ตั้งแต่เดือนพ.ค. มูลค่ารวม 4.7 พันล้านบาท ขายแล้ว 47% และกำไรน่าจะสูงสุดรายไตรมาสใน 4Q61 ที่เริ่มโอนคอนโดฯอีกโครงการ “BEATNIQ” มูลค่ารวม 4 พันล้านบาท ขายแล้ว 38% Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 61 ราว 2 พันล้านบาท เติบโต 63%
  • ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกจากกำไรในปีที่มีแนวโน้มพลิกเติบโตจากที่หดตัว 36% ในปีก่อนหน้า และ Yield เฉลี่ยปีละ 5-6% ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ PER 11 เท่าต่ำกว่าที่อยู่ที่ระดับ 17 เท่า จึงน่าสนใจลงทุนระยะยาวรับเงินปันผล

หุ้นมีข่าว   

·        PTTEP (ราคาปิด 138.50 บาท Bloomberg Consensus 133.50)-เชฟรอน-มูบาดาลา-โททาล-โอเอ็มวี เข้ายื่นเอกสารคัดเลือกคุณสมบัติเพื่อร่วมประมูลแหล่งเอราวัณ-บงกช โดยประกาศผลผู้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นในวันที่ 28 พ.ค.61 และยื่นข้อเสนอการประมูลในวันที่ 25 ก.ย.61 ขณะที่คาดว่าจะได้ผู้ชนะการประมูลในเดือน ธ.ค.61 และลงนามในสัญญาเดือน ก.พ.62

·        DTAC (ราคาปิด 45 Bloomberg Consensus 52.8 บาท) ได้พันธมิตร TOT ให้บริการคลื่นความถี่ 2300 เมกะเฮิรตซ์ ต่อยอดธุรกิจ เป็นการปลดล็อกข้อจำกัดขาดแคลนคลื่น แถมหนุนอนาคตแข็งแกร่ง (ที่มา : หนังสือพิมพ์ทันหุ้น)

·        แม้การปลดล็อกความเสี่ยงดังกล่าว ได้สร้างความชัดเจนสำหรับการดำเนินธุรกิจต่อเนื่องก่อนการเข้าสู่การประมูลในวันที่ 4 ส.ค. 61 (กำหนดรายชื่อผู้มีคุณสมบัติ 29 มิ.ย. 61) แต่ DTAC ยังมี ค่าใช้จ่ายที่เริ่มรับรู้จากการเซ็นสัญญาดังกล่าวราว 7 - 800 ล้านบาท ในงวด 2Q61 (อิงจากการเริ่มบันทึกตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. 61 จากค่าใช้จ่ายต่อปีราว 4.5 พันลบ.) อาจกดดันผลประกอบการในระยะสั้น

·        แต่ทั้งนี้ ราคาหุ้นมีการปรับลดลงอย่างต่อเนื่องหลังการรายงานผลกำไรงวด 1Q61 ออกมาโดดเด่น รวมปรับลดลงกว่า 9.1% สะท้อน Downside ที่จำกัด ขณะที่ในมุมมอง Upside ในระยะกลาง อาจต้องติดตามความสามารถในการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดอีกครั้ง หลังจากที่ชะลอตัวมาหลายไตรมาส แต่ในระยะสั้นประเด็นการเข้าประมูลอาจเกิดเป็นกระแสการเก็งกำไรอีกครั้ง Bloomberg Consensus คาดมูลค่าเหมาะสมที่  52.8 บาท จึงแนะนำให้หาจังหวะ "ทยอยซื้อสะสม" เก็งกำไรรายชื่อผู้เข้าร่วมประมูล

·        CPN Analyst Meeting (ราคาปิด  77.25 ซื้อ Bloomberg Consensus 89.10 บาท) 1Q61 มีรายได้รวม 8,223 ลบ. +6.5%YoY จากศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซา นครราชสีมา และที่มหาชัยที่เปิดดำเนินการเต็มไตรมาส และรายได้จากการโอนคอนโดฯ 216 ลบ. ที่เพิ่มเข้ามาในปีนี้  มีกำไรสุทธิ 2,822 ลบ. เติบโตเพียง 1.7 %YoY เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ในเซ็นทรัลเวิลด์ การโอนสินทรัพย์ เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช ไปสู่กอง CPNREIT

·        บริษัทตั้งเป้าหมาย 5 ปี(2561-65) จะมีรายได้เติบโตเฉลี่ย 15 %CAGR โดยได้ขยายธุรกิจในรูปแบบพัฒนาสังหาริมทรัพย์แบบผสม การพัฒนาศูนย์การค้าใหม่ การปรับปรุงสินทรัพย์เพื่อเพิ่มมูลค่า ในปี 61 แผนการเปิดเซ็นทรัล ภูเก็ตและ เซ็นทรัล I-City ที่มาเลเซียใน 3Q61 และ 4Q61 ยังคงเป็นไปตามที่บริษัทวางไว้ อีกทั้งมีแผนเปิด Central Village ในช่วง 3Q62 พัฒนาเป็นศูนย์การค้าแบบ International Luxury Outlet ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อเป็นจุดหมายในการช้อปปิ้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

·        ความเห็น Bloomberg Consensus คาดการณ์กำไร 2Q61 ที่ 3,006 ลบ. +20 %YoY จากการเปิดตัว “IKEA บางใหญ่” ที่เซ็นทรัลเวสต์เกต ช่วงมี.ค.ทำให้มีจำนวนลูกค้าเข้าเพิ่มขึ้นกว่า 30%  เซ็นทรัลพระราม 3 เปิดหลังปิดปรับปรุง ทำให้อัตราเช่าพื้นที่เพิ่มเป็น 88% จาก 82% ในปี 60 ประกอบกับจะมีการรับรู้รายได้จากโครงการคอนโดมิเนียมราว 1,000 ลบ. และคาดกำไรสุทธิปี 61 ที่ 12,271 ลบ. -9.5 %YoY ลดลงเนื่องจากไม่มีกำไรพิเศษค่าชดเชยจากประกันภัย

·        SAWAD (34.25 ถือ Bloomberg Consensus 59.32) งวด 1Q61 มีกำไรสุทธิ 565 ล้านบาท ลดลง 36%YoY เนื่องจากงวด 1Q60 บริษัทรับรู้รายการพิเศษจากการปรับปรุงมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนใน BFIT และจัดประเภทเงินลงทุนจากเงินลงทุน เผื่อขายเป็นเงินลงทุนในบริษัทย่อยตามมาตรฐานบัญชี  ทำให้เกิดกำไรจากการเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนจำนวน 102 ล้านบาท รวมทั้งการปรับปรุงรายได้อื่นที่เกิดจากการปรับปรุงมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิที่ได้มาที่เกี่ยวข้องกับ BFIT อีก 186 ล้านบาท รวมเป็นกำไรพิเศษที่เกิดขึ้นในงวด 1Q60 จำนวน 288 ล้านบาท  ด้าน NPL ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญส่งผลให้ %NPLที่ 4.7%  ณ ปลายปี 60 เพิ่มขึ้นสู่ 8% ณ ปลายมี.ค. 61 ขณะที่การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญงวดล่าสุดยังไม่สะท้อน NPL ที่เพิ่มขึ้นโดยมี Coverage Ratio ลดลงเหลือ 51% จาก 81% ณ ปลายปี 60

·        ความเห็น มีเรื่องที่ต้องติดตามคือการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญในช่วงเวลาที่เหลืออาจเพิ่มขึ้น  ส่งผลให้กำไรมีแนวโน้มต่ำกว่าคาดการณ์ Bloomberg Consensus ล่าสุดที่ 3,272 ล้านบาท +23% ทั้งนี้ ราคาปัจจุบันซื้อขายที่ PER 15 เท่าต่ำกว่า PER กลุ่มที่ 21 เท่า และ PBV 3.9 เท่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 2.9 เท่า ราคาปัจจุบันลดลง 46%YTD แนะนำถือ

·        (+/-) PACE Analyst Meeting

·        งบแสดงฐานะการเงิน ปลายมี.ค. 61 มีขาดทุนสะสม 8.9 พันล้านบาท ส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง 12%YTD เหลือราว 2 พันล้านบาทหลังรายงานขาดทุน 4,086 ลบ.ในงวด 1Q60 ที่มีสาเหตุหลักการบันทึกด้อยค่าเงินลงทุนในบ.ย่อยที่เกิดจากส่วนต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมจากที่ปรึกษาการเงินอิสระและรายการที่เกิดขึ้นจริง 3,400 ลบ. ปลายมี.ค.61 มีหนี้ที่มีด/บ 15,900 ลบ. ตั้งเป้าลดภาระหนี้เหลือต่ำกว่า 10,000 ลบ.ภายในปลายปี 61

·        ผู้บริหารเปิดเผยถึงกลยุทธ์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม “Dean & Deluca”จะเน้นขยายตลาดใหม่ในต่างประเทศ ร่วมทุนกับพันธมิตร และขยายแฟรนไชส์ซึ่งใช้เงินลงทุนน้อยกว่าเปิดสาขาเอง  รวมทั้งเพิ่ม Wellness Hotel เข้ามาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยอยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม

·        โครงการมหานคร ขายแล้ว 75% มี backlog 1,550 ล้านบาทคาดจะโอนภายใน 3Q61 เหลือขาย 53 ห้องที่อยู่ระหว่างเจรจาขายยกล็อต โครงการมหาสมุทร มูลค่า 4,000 ล้านบาท มียอดขายแล้ว 22% โครงการนิมิตหลังสวนมูลค่า 8,000 ล้านบาท ขายแล้ว 91% คาดจะขายหมดภายในปีนี้และโอนกลางปีหน้า โครงการวินด์เชลล์-นราธิวาสมูลค่า 3,000 ล้านบาท ขายแล้ว 28% โอนปีหน้า

·        ความเห็น ฝ่ายวิจัยแนะนำ wait & see โดยต้องติดตามพัฒนาการในการลดภาระหนี้ เพิ่มสภาพคล่อง การเร่งขายและโอนโครงการอสังหาฯ รวมทั้งพัฒนาการที่ดีของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

·        + MAJOR (ราคาปิด 28.50 บาท Bloomberg Consensus 31.50) เน้นผนึกพันธมิตรเจาะกลุ่มลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจง ล่าสุดร่วมมือกับแบรนด์สินค้า โคโดโม ทุ่มงบ 10 ล้านบาท ผุดโรงหนังเด็กแห่งแรกในไทยที่เมกาบางนา (ที่มา ทันหุ้น)   

·        + WHA (ราคาปิด 4.20 บาท Bloomberg Consensus 4.60)ร่วมทุน IRPC (ราคาปิด 6.85  บาท Bloomberg Consensus7.86 ) ตั้งบริษัทพัฒนานิคมฯ พื้นที่กว่า 2 พันไร่ใน จ.ระยอง

·        - JAS (ราคาปิด 6.15 บาท Bloomberg Consensus 8.13) ขายหน่วยลงทุน JASIF ออก เหลือถือ 23.51% ยันยังคงถือระยะยาวในสัดส่วน 19%