'ปศุสัตว์' กักหมา-แมว 700 ตัว คุมเข้มสุนัขบ้าระบาดอีสาน

'ปศุสัตว์' กักหมา-แมว 700 ตัว คุมเข้มสุนัขบ้าระบาดอีสาน

"ปศุสัตว์" ติดตามการดูแลสุนัข-แมวจากพื้นที่เกิดโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งถูกนํามากักกัน ด่านกักกันสัตว์นครพนม กักสัตว์จากจังหวัดใกล้เคียง รวม 700 ตัว คุมโรคพิษสุนัขบ้า 6 เดือน 

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีและโฆษกกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์มอบหมายให้ ด่านกักกันสัตว์นครพนม จัดตั้งเป็นศูนย์เฉพาะกิจกักกันสัตว์เสี่ยงโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค.โดยรับสุนัขและแมว ที่มีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า จากจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม มุกดาหาร ซึ่งสุนัขและแมว

 

ส่วนใหญ่ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของและประชาชนในชุมชนที่เกิดโรคพิษสุนัขบ้ารวบรวมนําส่งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เพื่อนํามากักกัน สังเกตุอาการ และเฝ้าระวังโรค ตามมาตรการควบคุมป้องกันโรคในสัตว์ รวมถึงเป็นการลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้า สู่คนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นในพื้นที่เกิดโรค

 

ทั้งนี้ การกักกัน สังเกตุอาการ และเฝ้าระวังโรค จะใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน จึงจะถือว่าปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า หลังจากนั้น กรมปศุสัตว์จะติดต่อเจ้าของ สัตว์ให้มารับกลับ หรือกรณีที่สัตว์ไม่มีเจ้าของจะพิจารณาดําเนินการหาบ้านใหม่ หรือส่งต่อให้สถานที่พักพิงสัตว์ที่มีความพร้อมรับดูแลต่อไป 
         

ปัจจุบัน ศูนย์เฉพาะกิจฯ แห่งนี้ ยังคงมีสุนัข และแมวที่อยู่ในระหว่างการสังเกตุอาการ และการเฝ้าระวังโรค รวมประมาณ 700 ตัว ซึ่งคาดว่าในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ จะมีสุนัขที่ครบกําหนดการกักกัน 6 เดือน และมีความปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า จํานวน 120 ตัว ส่วนที่เหลือจะทยอยครบกําหนดการกักกันภายในเดือนตุลาคม 2561

              

อย่างไรก็ตาม ได้กําชับให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์เฉพาะกิจฯ เพิ่มเติมอาหารที่เหมาะสม กับสัตว์ป่วย การทําความสะอาดคอกและรางอาหาร ระมัดระวังการจับบังคับสัตว์ให้เหมาะสม การสังเกตุอาการสัตว์ป่วยในระยะ เริ่มต้น การเพิ่มจํานวนสัตวแพทย์และเครื่องมือตรวจวินิจฉัยโรค สําหรับดูแลรักษาฟื้นฟูสุขภาพสัตว์ รวมทั้งฝึกอบรมคนงานให้มี ความรู้ความเข้าใจในการจัดการทั่วไปมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ จะได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุนัขและแมวใน รูปแบบโครงการประชารัฐร่วมใจ ป้องกันภัยโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อให้การดูแลสุนัขและแมวในศูนย์เฉพาะกิจฯ แห่งนี้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้นต่อไป 

 

นายสัตวแพทย์สมชวน กล่าวว่า จากการรายงานของศูนย์เฉพาะกิจกักกันสัตว์เสี่ยงโรคพิษสุนัขบ้าแห่งนี้ พบว่า เริ่มต้นรับสุนัขและแมวมาตั้งแต่ต้นปีโดยมีการทยอยนําเข้าจากพื้นที่เกิดโรคพิษสุนัขบ้าในจังหวัดใกล้เคียง ในระหว่างการกักกันนั้น ได้มีสุนัขและแมวเสียชีวิตจํานวนหนึ่งด้วย 

 

โรคพิษสุนัขบ้า โรคลําไส้อักเสบ โรคไข้หัดสุนัข โรคพยาธิในเม็ดเลือด โรคปอดบวม เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสุนัขขนาดเล็กที่อายุ น้อยกว่า 4 เดือน มีที่มาจากหลากหลายพื้นที่ ไม่มีประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรค ไม่มีการถ่ายพยาธิ มีความเครียดจากการ เคลื่อนย้าย ทําให้ภูมิคุ้มกันต่ำสุขภาพไม่แข็งแรง มีการป่วยตายได้ง่ายและรวดเร็ว

โดยในระหว่างการกักกันนั้น เจ้าหน้าที่ของศูนย์เฉพาะกิจฯ ได้มีการแยกเพศ ขนาด และอายุ เพื่อง่ายต่อการดูแล การให้อาหาร และการจัดการทั่วไป การคัดแยกสัตว์ป่วยเพื่อทําการรักษา และที่สําคัญสัตวแพทย์ ประจําศูนย์เฉพาะกิจฯ ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกตัว ตัวละ 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 4 วัน