ทปอ.เผย 16 หลักสูตรพันธุ์ใหม่มาแรง

ทปอ.เผย 16 หลักสูตรพันธุ์ใหม่มาแรง

ทปอ.เผย 16 หลักสูตรพันธุ์ใหม่มาแรง รับยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมเปิดรับสมัครรอบ 3 นี้

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2561 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เผยความคืบหน้าการ การรับสมัครรับตรง TCAS รอบที่ 3 ประเภทรับตรงร่วมกัน และนักศึกษาเลือกสาขาวิชาแบบ Post Select โดยจากข้อมูลวันที่ 16 พฤษภาคม 2561 มีจำนวนใบสมัครรวมแล้ว 150,382 ใบ ทั้งนี้ ทปอ.ได้จัดระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถรองรับความต้องการของการยื่นใบสมัครของนักเรียนทั่วประเทศไทย นอกจากนี้ความพิเศษของการรับตรงรอบที่ 3 นี้ ทปอ. ได้เพิ่มหลักสูตรที่เปิดรับ จำนวน 16 หลักสูตรในหลายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ อันเป็นนโยบายเร่งด่วนของชาติที่ให้เปิดรับในปีการศึกษา 2561 อย่างไรก็ตามกำหนดรับสมัครวันสุดท้าย ในวันที่ 19 พฤษภาคม นี้ เวลา 23.59 โดยผู้สนใจสามารถเข้าไปสมัครได้ที่http://app.cupt.net/tcas/round3.php

ศาสตราจารย์ ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า จากข้อมูลการรับสมัครTCASรอบที่ 3 ประเภทรับตรงร่วมกัน และนักศึกษาเลือกสาขาวิชาแบบPost Select ไปเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา จากข้อมูลล่าสุดวันที่ 16 พฤษภาคม 2561 เวลา 10.00 น.มีจำนวนใบสมัครรวมแล้ว 150,382 ใบ

อย่างไรก็ตาม เพื่อประสิทธิภาพการจัดการที่ดีมากขึ้นทปอ. ได้มอบหมายให้ ผศ.ดร. ประเสริฐ คันธมานนท์ รักษาการเลขาธิการสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศเป็นผู้รับผิดชอบ กำกับ ดูแล ระบบสารสนเทศของสำนักเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศ และการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS) ปี 2561ดำเนินการปรับปรุงระบบทางเข้า หรือการล๊อกอินให้รองรับได้มากขึ้น3เท่าตัวตลอดจนเพิ่มผู้เชี่ยวชาญทั้งระบบฐานข้อมูล ระบบการเชื่อมโครงข่าย ระบบการจัดการเว็บไซต์ และด้านสถาปัตยกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประจำอยู่ศูนย์คอมพิวเตอร์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบ TCAS

นอกจากนี้ ความพิเศษของการรับตรงรอบที่3นี้ ยังมีการเปิดรับนักศึกษาจำนวน 16 หลักสูตร ประจําปีการศึกษา 2561 ภายใต้โครงการ หลักสูตรบัณทิตพันธุ์ใหม่เพื่อประเทศไทย 4.0 เนื่องด้วยนโยบายเร่งด่วนของชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างบัณฑิตที่ตอบโจทย์ และมีความพร้อมในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพทันทีเมื่อสำเร็จการศึกษา ในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งมีสถาบันที่เปิดรับ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมและการแปรรูปทางดิจิทัล หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางอาหารสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 1 หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์(หลักสูตรสหวิทยาการ)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำนวน 1 หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 2 หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงสถิติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 1 หลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 2 หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบูรณาการเทคโนโลยีการเกษตร การจัดการความปลอดภัย ด้านอาหาร (นานาชาติ)วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน1หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน1หลักสูตร เทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร

“ทปอ. ยังคงมีปณิธานสร้างโอกาสในการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยให้เด็กไทยได้มากที่สุด จึงมีการรับถึง 5 รอบ โดยจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง อีกทั้งการสอบรับตรงใน TCAS พร้อมกันนี้ ก็มีจุดประสงค์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ให้น้องๆและผู้ปกครองไม่ต้องไปวิ่งรอกสอบหลายครั้งหลายที่เหมือนในอดีต มาเป็นการรับพร้อมกันทีเดียวเราจะนำบทเรียนที่เกิดขึ้น นำไปปรับปรุงและพัฒนา ระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยให้เหมาะสมกับบริบทของความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสังคมต่อไป”

ทั้งนี้ จากการสมัครรอบที่ 1 และ 2 มีจำวนผู้ยืนยันสิทธิแล้วกว่า 125,032 ที่นั่ง และรอบที่ 3 กำหนดจำนวนรับอีก 100,265 ที่นั่ง โดย ทปอ.ยังกำหนดให้มีการรับสมัครอีกจำนวน 2 รอบ คือรอบ รอบที่ 4 การรับสมัคร Admission จำนวน 80,971 ที่นั่งภายในเดือนมิถุนายน และ รอบที่ 5 การรับตรงอิสระภายในเดือนกรกฎาคมศาสตราจารย์ ดร. สุชัชวีร์ กล่าวทิ้งท้าย

ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ชคตระการ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่าหลักสูตรบัณทิตพันธุ์ใหม่เพื่อประเทศไทย 4.0 ของ คณะฯเปิดรับในรอบที่ 3 ประเภทรับตรงร่วมกัน และนักศึกษาเลือกสาขาวิชาแบบ Post Selectจำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ 1.วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพ 2. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางอาหารโดยทั้งหมดได้รับการการออกแบบวิธีการและรูปแบบการเรียนรู้ใหม่ โดยผู้เรียนจะต้องมีสัดส่วนการเรียนรู้ในสถานประกอบการภาคเอกชนชั้นนำของประเทศ เป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษาถึง 1 ปีการศึกษาครึ่ง

รวมถึงสามารถเลือกเรียนอื่นนอกคณะตามความสนใจของตนเอง โดยไม่มีการจำกัดหรือบังคับการเลือกวิชาเรียน และยังมีวิชาศึกษาทั่วไปนอกห้องเรียน ที่นักศึกษาสามารถเรียนและเก็บหน่วยกิตวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งเป็นวิชาบังคับ ผ่านการเรียนแบบออนไลน์ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าเรียนในห้องเรียนเพื่อพัฒนาทักษะและสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน

ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ส่วนประชาสัมพันธ์ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) หมายเลขโทรศัพท์02-354-5150-2หรือเข้าไปที่ https://www.facebook.com/cuptthailand/