Retail Market Monitor (16 พ.ค.61)

Retail Market Monitor (16 พ.ค.61)

ค่าเงินและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ เสี่ยงกดดันหุ้นไทยและตลาดเกิดใหม่

อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสู่ 3.06% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี สะท้อนตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง รวมทั้งเห็นของกรรมการเฟด ที่คาดเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยอีก 3-4 ครั้งในปีนี้ ดาวโจนส์ปรับลดลง 193 จุด (-0.78%)  ขณะที่ราคาทองปรับลดลงต่ำสุดที่ 1,288 เหรียญสหรัฐฯ/ออนซ์ จากค่าเงินสหรัฐที่แข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ค่าเงินสหรัฐฯ และผลตอบแทนพันธบัตรเริ่มกลับมามีการเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกันมากขึ้นตั้งแต่ช่วง เม.ย.61 ที่ผ่านมา จากการศึกษาของเราในสถานการณ์ที่ค่าเงินสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นจะกดดันต่อเงินทุนไหลออก และตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging Markets) จะเคลื่อนไหวด้อยกว่าตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (Develop Markets)

ในแง่ผลกระทบต่อหุ้น การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond yield) จะทำให้ความน่าสนใจของการลงทุนในหุ้นเที่ยบกับพันธบัตรลดลง ทั้งนี้กรอบการซื้อขายของ SET Index ปี 2561 ของเราที่ 1750-1950 จุด อิง สมมติฐานการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด 3 ครั้ง ดังนั้นการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่อาจมากกว่าตลาดคาดการณ์จะทำให้กรอบการเคลื่อนไหวขยับลง ราว 50 จุด ต่อการขึ้นดอกเบี้ยที่มากกว่าคาด 1 ครั้ง (25 bps) ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงทางลงของตลาดในกรณีแย่อาจจะอยู่ที่ระดับ 1650-1700 จุด อย่างไรก็ตามกำไรบจ.ในภาพรวมที่ดีกว่าคาดเล็กน้อย (เนื่องจากหุ้นขนาดใหญ่) ช่วยเพิ่ม Earnings Yield ทำให้ downside ของตลาดน่าจะจำกัดอยู่ที่ระดับ 1700+/- จุด

Investment Theme เลือกเก็งกำไรรายตัวแบบตัดขาดทุน // กลุ่มพลังงาน top pick 3 อันดับ 1) IVL 2) BANPU 3) PTT // กลุ่มธนาคาร ชอบได้แก่ BBL, KTB, SCB // หุ้นกลุ่มไฟฟ้า BCPG, BGRIM, GULF*, EA // ผลการดำเนินงานผ่านจุดแย่สุด BANPU, BPP*, SAPPE, GUNKUL*, MONO*

ภาพรวมกลยุทธ์: กรอบการแกว่งระยะสั้นที่ 1760-1788 การเก็งกำไรยังควรระมัดระวังและกำหนดจุดตัดขาดทุนทุกครั้ง รวมถึงตั้งจุดขายล็อคกำไร (trailing stop) ในหุ้นที่ถือครอง // หุ้นแนะนำวันนี้ BANPU, SAPPE / เก็งกำไร MONO* (เป้า 3.50 ตัดขาดทุน 2.96), GUNKUL* (เป้า 3.50 ตัดขาดทุน 2.96)

แนวรับ 1760 / แนวต้าน : 1770-1788 จุด สัดส่วน : เงินสด 30% : พอร์ตหุ้น 70%

ประเด็นการลงทุน

ค่าเงินเหรียญฯแข็งค่า บอนด์ยีลทำจุดสูงสุดในรอบ 7 ปี - ตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่ปรับขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบ 7 ปี ผลักดันให้เงินเหรียญฯพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง ขณะที่ตลาดเริ่มคาดการณ์ว่าเฟดอาจทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึง 4 ครั้งในปีนี้

จับตาการประชุม กนง.วันนี้ คาดคงดอกเบี้ย 1.5% ตลาดจับตาการประชุม กนง.ในวันนี้ โดยเบื้องต้นคาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ตามเดิม แต่สิ่งที่ต้องจับตาอยู่ที่มุมมองของคณะกรรมการต่อทิศทางนโยบายการเงินในอนาคตหลังเงินเฟ้อไทยล่าสุดปรับตัวขึ้นสู่กรอบล่างของเป้าหมายที่ 1%

MSCI – ประกาศหุ้นเข้า/ออกในการคำนวณดัชนี มีผลตั้งแต่เย็นวันที่ 31 พ.ค.61 มีหุ้นดังนี้Global Index เข้า (+) LH ; ออก (-) KCE, SCC-F // Small Cap Index เข้า (+) DDD, KCE, MONO, PRM, THG, TPIPL ; ออก (-) BIG, EASTW, FSMART, GL, KTC, LHFG, MALEE, SAMART, TSE // เพิ่มน้ำหนักลงทุนใน CPF, EA, SCC // ลดน้ำหนักลงทุนใน PTT

คาดการณ์หุ้นเข้า-ออก SET50/SET100 – SET50 เข้า (+) KTC, BGRIM, ESSO ; ออก (-) EGCO, MTC, GLOBAL // SET100 เข้า (+) BGRIM, VGI, MBK, RS, THANI, PRM, SPCG ; ออก (-) GLOBAL, BA, THCOM, MC, BIG, JMART, JWD ***อาจมีการออกรายงานฉบับใหม่อีกครั้งในช่วงปลายเดือน พ.ค. หากรายชื่อหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงจากคาดการณ์ครั้งนี้

 

ประเด็นติดตาม: 16 พ.ค. – TH ประชุมกนง. / 23 พ.ค. – TH ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาพ.ร.บ.คัดเลือก ส.ส. ส.ว. / 12 มิ.ย. – การหารือทรัมป์-คิม จอง อึน

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)