ระดม9ดร.นักวิชาการดัง! ชำแหละ 'พาราควอต' ชี้ข้อเท็จจริงหนุนรบ.สั่งแบน

ระดม9ดร.นักวิชาการดัง! ชำแหละ 'พาราควอต' ชี้ข้อเท็จจริงหนุนรบ.สั่งแบน

เสวนาใหญ่พรุ่งนี้ (16พ.ค.) ระดม "9ดร." นักวิชาการดัง! ชำแหละ "พาราควอต" ชี้ข้อเท็จจริงทางวิชาการ หนุนรัฐบาลสั่งแบนเพื่อประชาชน เปิดข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเกษตร

เพจเฟซบุ๊ค "เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN)" โพสต์ระบุว่า ประชาคมวิชาการจะไม่อยู่นิ่งเฉย การตัดสินใจแบนหรือไม่แบนสารพิษอันตรายร้ายแรงต้องยืนอยู่บนข้อเท็จจริงทางวิชาการ มิใช่แรงกดดันจากกลุ่มผลประโยชน์จากสารพิษ

สถาบันวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัย เครือข่ายทางวิชาการจำนวนมาก และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดเวทีวิชาการเพื่อให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชน และประชาชน เรื่อง “ข้อเท็จจริงทางวิชาการในการควบคุมสารเคมีอันตราย : พาราควอต (Paraquat) ไกลโฟเซต (Glyphosate) และคลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos)” วันพุธที่ 16 พฤษภาคม 2561 เวลา 9.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมจุมภฏ-พันธ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชาชนทั่วไปสามารถร่วมติดตามการแถลงผ่าน FB เพจ ตามลิงค์นี้ www.healthstation.in.th และ www.facebook.com/healthstation

ทั้งนี้ 09.30 - 10.00 น. ลงทะเบียน
10.00 - 10.15 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ โดย ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา
10.15 - 11.15 น. อภิปรายข้อมูลทางวิชาการในประเด็น
1. การเกิดพิษเฉียบพลันสูงในสิ่งมีชีวิต โดย รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
2. ผลกระทบต่อสุขภาพ โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ศ.ดร.พรพิมล กองทิพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

3. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการเกษตร โดยรศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร, ผศ.ดร.นพดล กิตนะ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11.15 - 11.45 น. สื่อมวลชนอภิปราย และซักถาม และ 11.45 - 12.00 น. สรุปและปิดการประชุม โดย ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา ดำเนินรายการโดย ผศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จัดแถลงโดย มหาวิทยาลัยนเรศวร , คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม , ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) , ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) , เครือข่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำการสร้างสุขภาวะ (คศน.) , ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย, แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ(FHP) , สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สภาเภสัชกรรม และ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย