หนุนการประชุมวิชาการโลกมุสลิม เจาะลึกสถานการณ์ร้อนนิวเคลียร์อิหร่าน

หนุนการประชุมวิชาการโลกมุสลิม เจาะลึกสถานการณ์ร้อนนิวเคลียร์อิหร่าน

ศูนย์นโยบายโลกมุสลิม และ สกว. จัดประชุมวิชาการโลกมุสลิม สะท้อนสถานการณ์ร้อนในมุสลิม และ "โดนัลด์ ทรัมป์" ประกาศพาสหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน

การจัดประชุมวิชาการ โลกมุสลิม ประจำปี 2561 (Annual MuslimWorld Policies Conference 2018)ภายใต้หัวข้อ “เจาะลึกสถานการณ์ร้อนในโลกมุสลิม” โดยมี ศ.ดร.อิศราศานติศาสน์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ , ผช.ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , ศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการ นักวิจัย เข้าร่วมการประชุม  ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดย ฝ่ายนโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ ร่วมกับ ศูนย์นโยบายโลกมุสลิม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2561


โอกาสนี้ นายเจษฎา กตเวทิน อธิบดีกรมเอชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ ปาฐกถานำ เรื่อง การวิพากษ์ประเด็นร้อนในโลกมุสลิม ด้วยสถานการณ์ร้อนที่นักข่าวทุกสำนักต้องรายงานว่า ค่ำวันที่ 8 พฤษภาคม 2561 ประธานาธิบดี โดนัลด์ทรัมป์ ประกาศพาสหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านปี 2558 ซึ่งกำหนดให้อิหร่านลดขนาดโครงการนิวเคลียร์ของพวกเขาลงจนไม่มีขีดความสามารถในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ โดยแลกกับการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรหลายอย่าง แล้วตามความคาดหมาย ทั้งที่ทรัมป์เป็นหนึ่งในผู้วิจารณ์ข้อตกลงนี้อย่างรุนแรง อย่างไรก็ตามความเห็นส่วนตัว ในเชิงวิชาการ อาจตั้งข้อสังเกตกรณีดังกล่าวเหตุใดทรัมป์ถึงเร่งรีบประกาศถอนตัวก่อนเวลา ทั้งที่ก่อนหน้านี้ทรัมป์ได้ประกาศไว้แล้วว่าจะถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคียร์อิหร่านวันที่ 12 พฤษภาคม 2561


จากกรณีดังกล่าวอธิบดีกรมเอชียใต้ฯ กล่าวย้ำว่าตนอยากนำเสนอในฐานะนักวิชาการ และเสนอแนะให้นักวิชาการทุกท่านต้องช่วยกันติดตามสถานการณ์ รวมถึงผลกระทบต่างๆว่า การประกาศก้าวของทรัมป์ในครั้งนี้จะส่งผลต่อประชาคมมุสลิม รวมถึงประเทศไทยอย่างไรบ้าง เพราะดูเหมือนว่า ฝรั่งเศส, เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ซึ่งร่วมกับสหรัฐฯ, จีน และรัสเซีย ลงนามข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านเมื่อ 3 ปีก่อน และคัดค้านการถอนตัวจากข้อตกลงของสหรัฐฯ กระทั้งมีการออกแถลงการณ์ที่คล้ายกันว่า พวกเขารู้สึกเสียใจกับการตัดสินใจของสหรัฐฯ


ขณะเดียวกันงานเดียวกันนี้ มีการอภิปราย เรื่อง การวิเคราะห์เชิงลึกทางภูมิศาสตร์การเมืองในโลกมุสลิม โดย รศ.ดร.ชูเกียรติ พนัสพรประสิทธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ อาจารย์ดร.อนัสอมาตยกุล ที่ปรึกษาศูนย์นโยบายโลกมุสลิม (CML) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษาจุฬาฯทั้งนี้ นักวิชาการ ต่างสะท้อนมุมมองปัญหาสำคัญต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น ในโลกมุสลิม หลายประเด็นที่ส่งผลต่อประเทศไทยโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นประเด็นทางเศรษฐกิจ อาทิ การส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออกอาหารฮาลาล รวมถึงศักยภาพทางการค้า และการลงทุนในกลุ่มประเทศมุสลิมในภูมิภาคต่างๆ ตลอดจนปัญหาเรื่องพลังงานโดยเฉพาะน้ำมัน ซึ่งมีความสำคัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะในที่สุดแล้วจะนำไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์ในด้านอื่น ๆ อีกหลายด้านแม้แต่ในมิติทางสังคมและวัฒนธรรมซึ่งมีบางประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับ มุสลิมอันส่งผลให้ประเทศไทยตื่นตัวมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเราสามารถนำสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาถอดบทเรียน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกับประเทศไทย เช่น การสร้างความเป็นเอกภาพในพหุสังคม การใช้แนวทางสันติวิธี ในการระงับความขัดแย้ง การยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของมุสลิมให้ดีขึ้น


อนึ่ง การประชุมวิชาการโลกมุสลิม มีจุดประสงค์เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโลกมุสลิม เผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับมุสลิมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างโลกมุสลิมกับไทยในแง่มุมทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งอาจเชื่อมโยงไปสู่การศึกษาค้นคว้า ในลักษณะสหสาขาวิชา (Multi - disciplinary) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยต่อไปในอนาคต ในระยะเวลาที่ผ่านมาศูนย์ฯได้ดำเนินการทางวิชาการที่หลากหลาย อาทิ ในการจัดเวทีพูดคุย การผลิตงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการจัดประชุมวิชาการโลกมุสลิมในทุกๆเดือนพฤษภาคมของทุกปี