สูตรสร้างความสุขให้ชีวิต

สูตรสร้างความสุขให้ชีวิต

สังคม “ผู้สูงวัย” ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก คาดการณ์กันว่าในปีพ.ศ. 2573 ไทยมีสัดส่วนประชากรที่สูงวัยมากกว่า 20% และภายในอีก 30 ปีข้างหน้า ไทยจะติดอันดับ 1 ใน 20 ของประเทศที่มีจำนวนผู้สูงอายุเกิน 65 ปีมากที่สุดในโลก

นายเรืองศักดิ์ ปัญญาบดีกุล นักวางแผนการเงิน CFP®, FLMI กล่าวว่า หากต้องไขโจทย์นี้ในฐานะของนักวางแผนการเงินก็คงหนีไม่พ้นการออมและวางแผนการลงทุนอย่างไรให้เหมาะสมเพื่อทำให้ประชากรสูงวัยมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต

ถามว่าในการออมต้องทำอย่างไร โดยหลักการที่ถูกต้องนั้นคือการเตรียมเงินออมกันตั้งแต่วัยหนุ่มสาวเพิ่งเริ่มทำงาน และต้องมีแผนการลงทุนที่ดีตามความเสี่ยงที่เหมาะสม อายุน้อยเสี่ยงสูงอายุมากต้องเสี่ยงต่ำ เพราะคนอายุน้อยมีระยะเวลาการออมและลงทุนยาวนานกว่า น่าจะลดความผันผวนจากการลงทุนได้ หมายความว่าอาจสายไปหากคิดจะเก็บออมเมื่อชีวิตล่วงมาสู่วัยเกษียณแล้ว

อย่างไรก็ดี ทฤษฏีกับโลกความเป็นจริงกลับสวนทางกันอย่างเหลือเชื่อและมีความท้าทาย เนื่องจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผมพบว่า คนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย มักมีชีวิตแขวนอยู่บนเส้นด้าย เริ่มจากคนหนุ่มสาวที่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักจะเป็นหนี้ จากสถิติของบริษัทเครดิตข้อมูลแห่งชาติ หรือเครดิตบูโร พบว่ากลุ่มเจนวายหรือกลุ่มคนวัยเริ่มต้นทงานมีอายุต่ำกว่า 30 ปี มีแนวโน้มเป็นหนี้บัตรเครดิตและใช้สินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้น รวมทั้งมีหนี้เสียเร็วขึ้น

สาเหตุหลักๆ เกิดจากรายรับของคนในวัยนี้ยังมีน้อยเมื่อเทียบกับรายจ่ายที่ต้องจ่ายตามความจำเป็น เรียกได้ว่าไม่มีเงินสำรองไว้ใช้เวลาประสบเหตุฉุกเฉิน หรือเวลาที่อยากจะได้สิ่งของที่พิเศษมีคุณค่าทางใจให้กับตนเอง

“ทางออกเดียวประตูเดียวของพวกเขาก็คือการเป็นหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ในระบบหรือนอกระบบ ซ้ำร้ายที่สถาบันการเงินต่างๆต่างก็เสนอตัวปล่อยเงินกู้กันมากมายถือเป็นการซ้ำเติมปัญหาเข้าไปอีก”

ขณะที่กลุ่มวัยเกษียณกลับเป็นเรื่องตรงกันข้าม คือเริ่มตื่นตัวเริ่มสำรวจเงินออมซึ่งมีอยู่ไม่มากนักและก็ไม่รู้ว่าเอาไว้ใช้หลังเกษียณได้กี่ปี ทำให้หลายต่อหลายคนตัดสินใจเล่นหุ้นบ้าง หรือลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง พูดง่ายๆ ตายเป็นตาย ขอวัดดวงโดยที่ไม่รู้สุดท้ายบทสรุปจะเป็นอย่างไรสูตรสร้างความสุขให้ชีวิตคนที่มีครอบครัวและมีบุตร ซึ่งต่างก็พูดว่า “รักลูกห่วงครอบครัว” แต่ส่วนใหญ่ก็กลับปฏิเสธจะทำประกันชีวิตต่างไปจากคนในประเทศที่เจริญ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษจีนและฝรั่งเศสที่จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะมองว่าเป็นการสร้างหลักประกันให้กับครอบครัว รองรับความไม่แน่นอนในอนาคต ถ้าหากหัวหน้าครอบครัวต้องกลายเป็นคนทุพพลภาพหรือเสียชีวิตแล้ว ครอบครัวจะอยู่กันอย่างไร

“ผมพยายามคิดทบทวนว่าเกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทยอะไรที่เป็นต้นเหตุ ใครบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และแนวทางแก้ไข ผมมองว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังคงยึดติดอยู่กับกรอบความคิดเดิมๆ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง สำคัญที่สุดคือติดอยู่ในระบอบอุปถัมภ์ เช่น ช่วงเวลาที่พืชผลทางเกษตรตกต่ำ รัฐก็เข้ามาช่วยพยุงราคาโดยประกันราคาหรือรับจำนำให้เกษตรกร หรือในกรณีลูกจ้างพนักงานก็มักคิดว่าชีวิตมีความมั่นคงเชื่อว่าบริษัทจะเลี้ยงดูตลอดไป ทั้งที่ความเป็นจริงพอเกิดวิกฤตก็ตัวใครตัวมันอย่าลืมเวลานี้ว่าเราอยู่ในระบบทุนนิยม”

พร้อมได้แนะถึงทางเลือกทางรอดเป็นคำว่า “เปลี่ยนแปลง” เริ่มจากผู้นำก่อน ไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศ องค์กร หน่วยงาน หรือครอบครัว ที่ต้องกล้าคิด กล้าทำ ยอมรับความเปลี่ยนแปลงโดยทุกคนควรตั้งโจทย์ที่เหมือนกันนั่นคือ จะทำอย่างไรให้คนไทยมีฐานะการเงินที่มั่นคง ยั่งยืน ต้องยืนด้วยขาตัวเอง

“ประการสคัญต้องทำให้คนไทยอ่านออกเขียนได้ทางการเงิน รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงโดยใช้ศาสตร์ด้านการวางแผนการเงิน ซึ่งเป็นวิธีช่วยเหลือประชาชนเดียวกันกับประเทศที่เจริญแล้ว ต้องมุ่งส่งเสริม สนับสนุนหน่วยงานหรือบุคลากรที่ทำงานด้านนี้ให้มีความพร้อมปรับกระบวนทัพการเรียนรู้ พิ่มมูลค่าบุคลากรให้สูงขึ้น การติดอาวุธทางปัญญาน่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง การเอาเงินไปช่วยเหลือจุนเจือกลับ
จะทะให้คนจนลง ช่องว่างคนรวยกับคนจนยิ่งห่างมากขึ้น เพราะคนรวยมักรู้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงและหาโอกาส
สร้างความร่ำรวยเพิ่มขึ้นได้อีก”

การขาดความมั่นคงทางการเงินเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สังคมไทยอ่อนแอหากคนไทยไม่ยอมเปลี่ยนแปลงและเลือกอยู่ในกรอบความคิดแบบเดิมๆ สุดท้ายชีวิตก็ไม่มีความสุข ซึ่งแท้จริงแล้วทุกคนสามารถสร้างความสุขให้กับชีวิตได้ด้วยตนเองเพียงแค่กล้าคิด กล้าทำ และกล้าเปลี่ยนแปลง