แรงงานใช้ว่าเป็นคนหนุ่มสาว คนสูงอายุก็ยังทำงานได้

แรงงานใช้ว่าเป็นคนหนุ่มสาว คนสูงอายุก็ยังทำงานได้

เผยจ้างแรงงานสูงวัยดีเว่อร์ แนะผู้สูงอายุพัฒนาตัวเองให้เป็น "ยูทูปเปอร์" ถ่ายทอดประสบการณ์สุดเก๋า

เวทีสาธารณะเรื่อง “สังคมสูงวัย ก้าวไปด้วยกัน ครั้งที่ 2” คึกคักผู้สูงอายุได้ประสบการณ์การจ้างงานเพียบ ซีเอ็ดระบุจ้างงานผู้สูงอายุมา 1 ปี พบข้อดีจำนวนพนักงานลาออกน้อยลง เผยยังต้องการผู้สูงอายุอีกนับร้อย ด้านผู้บริหารบริษัทธุรกิจเพื่อสังคม แนะผู้สูงอายุพัฒนาตัวเองเป็นยูทูปเปอร์ อาจเป็นช่องทางสร้างได้หลังเกษียณ ขณะที่ตัวแทนผู้สูงอายุเผยได้ทำงานหลังเกษียณมีความสุขมากว่าชีวิตการทำงานที่ผ่านมา เพราะไม่เครียดว่าจะเกษียณเมื่อไร

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และภาคีเครือข่าย จัดเวทีสาธารณะเรื่อง “สังคมสูงวัย ก้าวไปด้วยกัน ครั้งที่ 2” ตอนสังคมสูงวัยกับโลกดิจทัล โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 300 คน ภายในงานยังมีกิจกรรมเวิร์คชอป พัฒนาศักยภาพการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และการใช้แอพพิเคชั่นที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ

พร้อมกันนี้ได้มีเวทีเสวนา “หมดไฟ (ไม่ใช่สำหรับ) วัยเกษียณ ?" โดยมีผู้อยู่แวดวงธุรกิจสังคมผู้ธุรกิจมาถ่ายทอดประสบการณ์ การจ้างจ้างผู้สูงอายุ และเทคนิคการทำงานกับผู้สูงอายุ ให้กับผู้ร่วมงาน

ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิสาร ผู้บริหารบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด เล่าว่า บริษัทได้เปิดรับสมัครผู้สูงอายุมาทำงานในร้านหนังสือมาประมาณ 1ปี ขณะนี้มีผู้สูงอายุมาทำงานในร้านหนังสือหมุนเวียนประมาณ 80- 100 คนอยู่ในร้านหนังสือสาขาในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นส่วนใหญ่ และยังเปิดรับสมัครผู้สูงอายุมาทำงานอยู่ตลอด ลาโดยตั้งเป้าต้องการรับสมัครผู้สูงอายุมาทำงานประมาณ 200 คน ซึ่งผู้สูงอายุกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ผู้สูงอายุในต่างจังหวัดยังไม่มีความคิดว่าจะออกมาทำงาน และหลายคนอยู่ในภาคเกษตรกรรม ขณะที่ซีเอ็ดมีสาขาทั่วประเทศ 300 กว่าสาขา

ดร.วิโรจน์ กล่าวว่าภาพรวมของร้านหนังสือในยุคนนี้ต้องปรับตัวเหมือนกันทั่วโลก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเติบโต แต่เชื่อว่าร้านหนังสือยังอยู่ได้ เพราะการอ่านหนังสือยังให้ความรู้สึกที่แตกต่างการอ่านจากคอมพิวเตอร์หรือมือถือ แต่จะไม่เติบโตเหมือนที่ผ่านมาที่เป็นตัวเลขสองหลักคงยาก ซึ่งภายใต้การเติบโตเราต้องใช้คน ทางซีเอ็ดมองว่าผู้สูงอายุเปรียบเสมือนพนักงานที่มีศักดิ์ศรีเท่ากับพนักงานคนหนึ่ง แต่ต้องให้เขาทำงานภายใต้ศักยภาพของร่างกาย เช่นจะไม่ให้ไปยกของหนัก หรือปีนบันไดขึ้น ซึ่งสาขาไหนที่มีผู้สูงอายุมีศักยภาพจะให้เขาเข้าไปทำงานส่วนผสมกับคนรุ่นใหม่ ตัวอย่างเช่นพนักงานสี่คนอาจมีผู้สูงอายุ 2 คน ขณะเดียวการรับคนหนุ่มสาวเข้าทำงานจะเน้นการจ้างงานแบบพาร์ทไทม์รับสมัคร คนที่อยู่ในวัยเรียนมากขึ้น เพราะมองว่าคนกลุ่มนี้ยังอยู่ในสภาพแวดล้อมของอ่าน โดยได้ทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้นศ.เข้ามาทำงานในร้านหนังสือ

“ขณะเดียวเรามองว่าผู้สูงอายุเกิดและเติบโตมากับการอ่านหนังสือ เขารู้ว่าการอ่านหนังสือมีเสน่ห์ขนาดไหน ดังนั้นน่าจะมีความสามารถในการเล่าและแนะนำหนังสือให้ลูกค้าได้ดีในระดับหนึ่ง”

ดร.วิโรจน์ กล่าวว่านโยบายรับผู้สูงอายุเข้ามาทำงานไม่สามารถบอกได้ว่ายอดขายเพิ่มขึ้น เพราะตัวที่จะทำให้ยอดขายเพื่มขึ้นคือเรื่องการตลาด แต่พบว่ามีข้อดีต่อธุรกิจคือยอดพนักงานลาออกน้อยลง

ด้านนายธนาคม เย็นสบาย พนักงานผู้สูงอายุวัย 64 ร้านซีเอ็ดเล่าว่า อดีตเคยเป็นหัวหน้าแผนกขายของการเคหะแห่งชาติ หลังเกษียณมาทำธุรกิจร้านอาหารแล้วถูกเพื่อนโกง ทำให้เงินเกษียณอายุและเงินเก็บละลายหายไป ขณะนี้ทำงานในร้านหนังสือซีดเอ็ดที่ห้างเดอะมอลล์งามวงศ์วานมา 1 ปี ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน และเป็นพนักงานสูงอายุคนแรกที่เข้ามาทำงานซีเอ็ด ทำหน้าที่สต๊าฟในร้านหนังสือ คือทำงานทุกอย่างทั้งจัดเรียงหนังสือให้คำแนะนำลูกค้า ส่วนงานแคชเชียร์ที่อาจต้องใช้ความรวดเร็วในการใช้เครื่องคิดเงินให้เป็นหน้าที่ของพนักงานหนุ่มสาว ซึ่งหลังจากผ่านการทดลองงานแล้วได้บรรจุเป็นพนักงานประจำ มีวันหยุดสัปดาห์ละ 1วันมีวันลาพักร้อน โดยได้ฐานเงินเดือนตามกฏหมายแรงงานกำหนด เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในแต่ละเดือนคือค่ารถ ค่าอาหารโดยไม่เป็นภาระครอบครัว

“ ผมมาทำงานที่นี้แล้วมีความสุข ไปคิดย้อนช่วงก่อนเกษียณ รู้สึกว่าชีวิตการทำงานไม่ค่อยมีความสุข มีการแก่งแย่งกันเรื่องตำแหน่งหน้าที่ แต่เราทำตรงนี้เราได้ทำงานจริงๆ ได้ใช้ทักษะด้านการขายที่เรามี ขณะที่เพื่อนร่วมงานที่เป็นคนหนุ่มสาวปรับตัวเข้ากันได้ดี”

ด้านน.ส.ณฎา ตันสวัสดิ์ ผู้บริหารบริษัท young happy จำกัด ได้ดำเนินงานสายด่วนผู้สูงอายุที่เป็นสื่อกลางให้ผู้สูงอายุ ในฐานะธุรกิจเพื่อสังคม กล่าวว่า ผู้สูงอายุมีความรู้ มีความสามารถ ซึ่งมองว่าผู้สูงอายุบางคนที่สนใจเรื่องเทคโนโลยี ประกอบกับมีเวลามากก่าคนหนุ่มสาว สามารถพัฒนาตัวเองให้เป็นยูทูปเปอร์ได้ ทำคลิปอัพขึ้นยูทูป ในสิ่งที่ผู้สูงอายุมีประสบการณ์มีความรู้ ยกตัวอย่างเช่น มีความสามารถเรื่องปลูกกล้วยไม้ ทำอาหาร สาธิตการทำเมนูต่างๆ เมื่อมีคนติดตามเยอะมียอดซับสไคร้ สูงจะมีโฆษณาเข้ามา ถ้ามียอดคนติดตามอยู่ที่หลักล้าน จะสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุนับแสนบาทต่อเดือน ซึ่งปัจจดารายังไม่มีคนรู้จักเท่ากับยูทูปเปอร์ มีตัวอย่างที่ญี่ปุ่น ผู้สูงอายุเริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ที่ชอบ งานอดิเรกการย้อมผ้า ทำอาหารฝึกฝนจนเป็นผู้เชี่ยวชาญในที่สุด

ด้านน.ส.สุภนันท์ แก้วรุ่งเรือง คอลเซ็นเตอร์ของบริษัท young happy จำกัด เล่าว่า จากประสบการณ์การทำงานบางครั้งผู้สูงอายุโทรมาปรึกษาเรื่องสุขภาพ เราในฐานะพยาบาลจะให้คำแนะนำได้ และมีบางเคสที่ถามว่าเรามีบริการให้คนไปซื้ออาหารไห้เขาได้ไหม เพราะอยู่บ้านคนเดียวแต่ไม่สบาย ซึ่งเราแนะนำไปว่าไม่ควรออกจากบ้านแต่ให้สั่งอาหารดิลิเวอร์รี่มารับประทานที่บ้าน ซึ่งมาทำงานตรงนี้ก็มีความสุขเราได้มีส่วนช่วยเหลือผู้สูงอายุ

ขณะที่นายพรชัย ประมวลสุข เจ้าของบริษัทออแกไนซ์ กล่าวว่าบริษัทรับจัดงานแสดงสีเสียงด้านประวัติศาสตร์ให้จังหวัดและชุมชนหลายแห่ง บางครั้งข้อมูลประวัติศาสตร์ ต้องลงพื้นที่ไปคุยกับผู้สูงอายุจะได้เกร็ดเล็กน้อย ที่เราไม่รู้จากหนังสือ ที่บางครั้งบันทึกไวไม่หมด เช่นการทำฉากสงครามโลกครั้งที่2 ลงไปคุยกับผู้สูงอายุในจ.ชุมพร เล่าว่าทหารญี่ปุ่นมาเป็นร้อย หล่อมากใสมัยนั้นทหารมาต้องให้ภรรยาไปหลบในบ้าน หรือเขากล้วยไปขายให้ทหารญี่ปุ่นในสมัยนั้นหวีละ 20บาท เพราะไม่มีอะไรจะกิน ซึ่งเรื่องเหล่านี้มาจากผู้สูงอายุ แล้วเรามากำหนดในฉาก ใส่เสียง จัดไฟ โดยอาศัยคนรุ่นใหม่มาทำงานตรงนี้ ผู้สูงอายุทำให้งานของเราออกมาสมบูรณ์