เบื้องลึก ซัมมิต '2ผู้นำเกาหลี' วันนี้ ปฐมบทสู่สันติภาพ

เบื้องลึก ซัมมิต '2ผู้นำเกาหลี' วันนี้ ปฐมบทสู่สันติภาพ

วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันที่จะถูกจารึกในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองโลกในฐานะเป็นวันประชุมสุดยอดของ 2 ผู้นำเกาหลีที่ถูกจับตามองจากทั่วโลกด้วยความหวังว่า การประชุมสุดยอดครั้งนี้จะเป็นปฐมบทที่นำไปสู่สันติภาพอย่างแท้จริงในคาบสมุทรเกาหลี

อิม จอง-ซ็อก หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ทำเนียบประธานาธิบดีเกาหลีใต้ และหัวหน้าคณะเตรียมงานประชุมสุดยอดผู้นำ 2 เกาหลี เปิดเผยว่า ประธานาธิบดี มุน แจ-อิน และผู้นำเกาหลีเหนือพบกันในเวลา 09.30 น.ของวันนี้ (27 เม.ย.)ตามเวลาท้องถิ่นหรือ 07.30 น.ตามเวลาไทย โดยประธานาธิบดีเกาหลีใต้ให้การต้อนรับ คิม จอง-อึน ที่เดินเท้าข้ามเส้นแบ่งเขตแดนทางทหาร (เอ็มดีแอล) 

เบื้องลึก ซัมมิต \'2ผู้นำเกาหลี\' วันนี้ ปฐมบทสู่สันติภาพ

จากนั้นทั้งคู่ได้เดินไปยังจุดที่มีพิธีต้อนรับ ที่จะมีการตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ ก่อนที่จะไปที่อาคารสันติภาพในหมู่บ้านปันมุนจอม ในฝั่งของเกาหลีใต้ ทางทิศใต้ของเขตความมั่นคงร่วม(เจเอสเอ) และเริ่มการประชุมสุดยอดในเวลา 10.30 น.ตามเวลาท้องถิ่น ที่ “หมู่บ้านพักรบ” (Peace House) โดยครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่ผู้นำเกาหลีเหนือเดินเท้าเข้าไปในดินแดนเกาหลีใต้นับตั้งแต่สงครามเกาหลีที่ยืดเยื้อ 3 ปีระหว่างปี 2493-2496 สิ้นสุดลง และคิม โย-จอง น้องสาวของผู้นำเกาหลีเหนือจะร่วมติดตามมาด้วย

หลังเสร็จสิ้นหารือภาคเช้า คณะเกาหลีเหนือจะข้ามกลับฝั่งไปรับประทานอาหารกลางวัน จากนั้น คิมและมุนจะร่วมปลูกต้นไม้คือต้นสน โดยใช้ดินและน้ำที่นำมาจากสองประเทศ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่ง “ความสันติสุขและความเจริญรุ่งเรือง” ที่เส้นแบ่งเขตแดน ก่อนประชุมหารือร่วมกันในภาคบ่ายที่อาคารสันติภาพ ลงนามข้อตกลงและออกแถลงการณ์ร่วมกัน จบด้วยงานเลี้ยงและพิธีอำลาในช่วงค่ำ ซึ่งงานเลี้ยงรับรองจะจัดขึ้นในเขตเกาหลีใต้และมีการแสดงวีดิโอเรื่อง “Spring Of One” ก่อนที่ คิมจะเดินทางกลับ

เบื้องลึก ซัมมิต \'2ผู้นำเกาหลี\' วันนี้ ปฐมบทสู่สันติภาพ

      ผลการประชุมสุดยอดครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับข้อเสนอล่าสุดของทางการเกาหลีเหนือที่ต้องการยุติโครงการพัฒนาขีปนาวุธและโครงการนิวเคลียร์ และคาดว่าจะมีการลงนามในข้อตกลงร่วมกันระหว่าง 2 ผู้นำและจะมีการกล่าวแถลงการณ์ร่วมด้วย

อย่างไรก็ตาม ทางการเกาหลีใต้ กล่าวว่า การบรรลุข้อตกลงร่วมกันเป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากว่าเทคโนโลยีขีปนาวุธและนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือถูกพัฒนาล้ำหน้าไปมากแล้ว นับตั้งแต่การเจรจาครั้งก่อนหน้านี้

    การเดินทางมาหารือครั้งประวัติศาสตร์ครั้งนี้ของ คิม จะทำให้เขาจะกลายเป็นผู้นำเกาหลีเหนือคนแรกที่ข้ามเส้นแบ่งเขตทหาร ซึ่งอยู่ระหว่างกลางของเขตปลอดทหารบริเวณชายแดนเกาหลีและใต้ หลังสงครามเกาหลี และเป็นการหารือทางการทูตกับผู้นำเกาหลีใต้ครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี

เบื้องลึก ซัมมิต \'2ผู้นำเกาหลี\' วันนี้ ปฐมบทสู่สันติภาพ

นอกจากนี้ สื่อยังรายงานว่า ประธานาธิบดีมุนของเกาหลีใต้ อาจเสนอจัดตั้งสำนักงานประสานงานร่วมที่หมู่บ้านปันมุนจอมเพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนพบปะระหว่าง 2 ฝ่ายเป็นประจำ แต่มีโอกาสไม่มากนักที่จะเห็นผู้นำทั้ง 2 ประกาศยุติสงครามเกาหลี เพราะจะต้องอาศัยความเห็นชอบของชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะสมัย 2 ชาติลงนามข้อตกลงสงบศึกชั่วคราว มีกองบัญชาการสหประชาชาติ นำโดยสหรัฐ และจีนร่วมลงนามด้วย

     ในการหารือครั้งนี้ มีผู้นำเกาหลีเหนือพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงอีก 9 คน รวมถึง คิม โย-จอง น้องสาวของคิม ผู้นำทีมนักกีฬาเกาหลีเหนือเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่เมืองพยองชังในเกาหลีใต้ ที่เพิ่งเสร็จสิ้นเมื่อไม่นานมานี้ นอกจากนี้ยังมี คิม ยองนัม ประมุขแห่งรัฐเกาหลีเหนือ ร่วมการประชุมด้วย ขณะที่เกาหลีใต้ นอกจากประธานาธิบดีมุนแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่ระดับสูง 7 คนร่วมหารือด้วย อาทิ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีกระทรวงการกระทรวงการรวมชาติ

เบื้องลึก ซัมมิต \'2ผู้นำเกาหลี\' วันนี้ ปฐมบทสู่สันติภาพ

     การประชุมสุดยอดของ 2 ผู้นำเกาหลีครั้งนี้ จะปูทางไปสู่การประชุมสุดยอดระหว่างคิม จอง-อึน ผู้นำเกาหลีเหนือและโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐไปด้วย โดยล่าสุด สื่อเกาหลีใต้ รายงานว่า สถานที่จัดการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐกับผู้นำของเกาหลีเหนือ หดสั้นเข้ามาจนกลายเป็นการชิงดำระหว่างมองโกเลียกับสิงคโปร์

หนังสือพิมพ์จุงอัง อิลโบ ของเกาหลีใต้ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงในว่า ประเทศในยุโรป อย่างสวิตเซอร์แลนด์กับสวีเดน ยังคงถูกพูดถึง แต่ก็ถูกตัดออกเพราะดูแล้วจะเป็นการสร้างความลำบากในการเดินทางให้แก่ผู้นำเกาหลีเหนือ ขณะที่สหรัฐกับเกาหลีเหนือ กำลังเจรจาในขั้นตอนสุดท้าย เพื่อเลือกระหว่างสิงคโปร์กับมองโกเลีย ที่อาจจะบรรลุผลภายในสัปดาห์นี้ 

แต่ทางเกาหลีเหนือร้องขอไม่ให้มีการประกาศอย่างเป็นทางการจนกว่ารายละเอียด ที่รวมทั้งกำหนดวันและวาระการประชุมเสร็จสมบูรณ์เสียก่อน ซึ่งการพบกันครั้งแรกในประวัติศาสตร์ระหว่างผู้นำสหรัฐฯกับผู้นำเกาหลีเหนือครั้งนี้ อาจมีขึ้นในเดือนพ.ค. หรือมิ.ย.

เบื้องลึก ซัมมิต \'2ผู้นำเกาหลี\' วันนี้ ปฐมบทสู่สันติภาพ

 ประเทศในยุโรปไกลเกินไปสำหรับการเดินทางแบบไม่แวะพักของเครื่องบินส่วนตัว “ชัมแม-1” ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ดัดแปลงมาจากเครื่องบินอิลยูชิน ไอแอล-62 ในสมัยโซเวียต และถึงแม้จะแวะพักได้ แต่ทางเกาหลีเหนือต้องการเดินทางแบบรวดเดียว

ทั้งนี้ เครื่องบินชัมแม-1 สร้างเมื่อทศวรรษที่ 1970 เดินทางได้ไกลราว 5,000 กม. ขณะที่กรุงสต็อคโฮล์มของสวีเดน ที่อยู่ในข่ายพิจารณา อยู่ไกลจากกรุงเปียงยางราว 7,200 กม. ส่วนนครซูริคของสวิตเซอร์แลนด์ อยู่ห่างออกไปอีกราว 8,500 กม.

แหล่งข่าวบอกด้วยว่า เกาหลีเหนือ ไม่ได้ปล่อยผ่านเรื่องข้อเสนอให้จัดประชุมที่เปียงยาง แต่เมื่อสหรัฐไม่ยอม จึงต้องหันมาพิจารณามองโกเลีย เพราะมองว่าเป็นมิตรและอยู่ตรงกลางระหว่างจีนกับรัสเซีย ทั้งยังเคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่เรียกว่า“track-1.5 talks” ระหว่างเจ้าหน้าที่ทางการเกาหลีเหนือกับนักวิชาการของประเทศตะวันตกมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งการที่เกาหลีเหนือปรารถนาจะให้จัดการประชุมที่นี่ก็เพราะผู้นำของพวกเขาสามารถเดินทางไปได้โดยขบวนรถไฟกันกระสุน

เบื้องลึก ซัมมิต \'2ผู้นำเกาหลี\' วันนี้ ปฐมบทสู่สันติภาพ

ส่วนสหรัฐ แม้จะมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับมองโกเลีย แต่ก็ติเรื่องความไม่พร้อมของระบบสาธารณูปโภคในกรุงอูลานบาตอร์ และพยายามผลักดันให้เป็นสิงคโปร์

แหล่งข่าวบอกว่า รัฐบาลสหรัฐได้ตัดประเทศที่มีส่วนได้ส่วนเสียออกจากรายชื่อหมด รวมทั้งเกาหลีใต้, ญี่ปุ่นและจีน และหันมาเลือกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาพร้อมกับเงื่อนไขต่างๆ ก่อนจะมาลงที่สิงคโปร์