144 อำเภอเดือดร้อนพายุถล่ม

144 อำเภอเดือดร้อนพายุถล่ม

ปภ. รายงานตั้งแต่ 13-20 เม.ย.61 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 36 จังหวัด 144 อำเภอ 290 ตำบล 655 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 3,758 หลัง

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 13 - 20 เม.ย. 61 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 36 จังหวัด 144 อำเภอ 290 ตำบล 655 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 3,758 หลัง ผู้เสียชีวิต 5 ราย แยกเป็น 

 

ภาคเหนือ 12 จังหวัด ได้แก่ จ.กำแพงเพชร เกิดวาตภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองกำแพงเพชร อ.บึงสามัคคี อ.ขาณุวรลักษณ์บุรี อ.ปางศิลาทอง อ.ไทรงาม และ อ.คลองขลุง , จ.เพชรบูรณ์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.วิเชียรบุรี และ อ.บึงสามพัน , จ.เชียงใหม่ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่ริม อ.สะเมิง อ.หางดง และ อ.เวียงแห่ง , จ.แพร่ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.สอง อ.ร้องกวาง และ อ.หนองม่วงไข่

จ.นครสวรรค์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ไพศาลี อ.หนองบัว และ อ.บรรพตพิสัย , จ.ลำปาง เกิดวาตภัยในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อ.งาว อ.แม่พริก อ.วังเหนือ อ.เมืองลำปาง อ.ห้างฉัตร อ.เมืองปาน อ.เกาะคา อ.เสริมงาม อ.แจ้ห่ม และ อ.สบปราบ , จ.พิจิตร เกิดวาตภัยในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.ดงเจริญ อ.บึงนาราง อ.สากเหล็ก อ.สามง่าม อ.เมืองพิจิตร อ.วชิรบารมี และ อ.ตะพานหิน , จ.น่าน เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เวียงสา อ.นาหมื่น และ อ.นาน้อย

 

จ.เชียงราย เกิดวาตภัยในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย อ.เวียงเชียงรุ้ง อ.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่สรวย อ.ดอยหลวง อ.เวียงแก่น อ.ขุนตาล อ.เวียงชัย และ อ.พญาเม็งราย , จ.พะเยา เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ภูซาง อ.เชียงม่วน และ อ.เมืองพะเยา , จ.พิษณุโลก เกิดวาตภัยในพื้นที่ อ.ชาติตระการ และ จ.อุตรดิตถ์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.ฟากท่า และ อ.บ้านโคก 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ จ.เลย เกิดวาตภัย ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองเลย และ อ.วังสะพุง , จ.นครราชสีมา เกิดวาตภัยในพื้นที่ 15 อำเภอ ได้แก่ อ.จักราช อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.อเมืองนครราชสีมา อ.โนนสูง อ.ประทาย อ.ห้วยแถลง อ.เมืองยาง อ.สูงเนิน อ.ปักธงชัย อ.หนองบุญมาก อ.สีคิ้ว อ.ชุมพวง อ.ลำทะเมนชัย อ.พิมาย และ อ.ปากช่อง

 

จ.ร้อยเอ็ด เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.อาจสามารถ อ.เมืองสรวง อ.ธวัชบุรี อ.จตุรพักตรพิมาน ,จ.ขอนแก่น เกิดวาตภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.บ้านไผ่ อ.ภูผาม่าน อ.โคกโพธิ์ไชย อ.แวงน้อย และ อ.เขาสวนกวาง , จ.มหาสารคาม เกิดวาตภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองมหาสารคาม อ.พยัฆภูมิพิสัย อ.วาปีปทุม อ.แกดำ และ อ.บรบือ , จ.กาฬสินธุ์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ อ.กมลาไสย

 

จ.สกลนคร เกิดวาตภัยในพื้นที่ อ.สว่างแดนดิน , จ.หนองคาย เกิดวาตภัยในพื้นที่ อ.เฝ้าไร่ , จ.อุบลราชธานี เกิดวาตภัยในพื้นที่ อ.น้ำขุ่น , จ.สุรินทร์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.จอมพระ อ.ปราสาท อ.ชุมพลบุรี และ อ.ศีขรภูมิ , จ.ชัยภูมิ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.หนองบัวระเหว อ.ภักดีชุมพล อ.ภูเขียว อ.บ้านเขว้า อ.จัตุรัส อ.เทพสถิต และอ.แก้งคร้อ

 

จ.บุรีรัมย์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.ห้วยราช อ.สตึก อ.นางรอง อ.คูเมือง อ.หนองกี่ และ อ.ปะคำ , จ.อุดรธานี เกิดวาตภัยในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.หนองหาน อ.บ้านผือ อ.ประจักษ์ศิลปาคม อ.กุมภวาปี อ.ไชยวาน อ.พิบูลย์รักษ์ และ อ.น้ำโสม , จ.หนองบัวลำภู เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ศรีบุญเรือง อ.โนนสัง และ อ.เมืองหนองบัวลำภู , จ.ศรีสะเกษ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.กันทรลักษณ์ และ อ.วังหิน , จ.บึงกาฬ เกิดวาตภัยในพื้นที่ อ.โซ่พิสัย และ  จ.มุกดาหาร เกิดวาตภัยในพื้นที่ อ.นิคมคำสร้อย 

 

ภาคกลาง 6 จังหวัด ได้แก่ จ.สระบุรี เกิดวาตภัยในพื้นที่ อ.วังม่วง , จ.เพชรบุรี เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.หนองหญ้าปล้อง และ อ.เมืองเพชรบุรี , จ.ฉะเชิงเทรา เกิดวาตภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.พนมสารคาม อ.สนามชัยเขต อ.บางคล้า อ.ราชสาส์น อ.ท่าตะเกียบ และ อ.เมืองฉะเชิงเทรา , จ.ราชบุรี เกิดวาตภัย ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.โพธาราม อ.ดำเนินสะดวก อ.ปากท่อ อ.บ้านคา และ อ.บ้านโป่ง , จ.สระแก้ว เกิดวาตภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.วัฒนานคร อ.วังสมบูรณ์ อ.เขาฉกรรจ์ อ.เมืองสระแก้ว และ อ.โคกสูง และ จ.ลพบุรี เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ลำสนธิ อ.ชัยบาดาล และ อ.พัฒนานิคม 

 

ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ได้แก่ จ.ตราด เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เขาสมิง อ.บ่อไร่ และ อ.แหลมงอบ 

 

อธิบดี ปภ. กล่าวอีกว่า ปภ.ได้ประสานจังหวัด หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้น โดยแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค กระเบื้องมุงหลังคา และวัสดุอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้านเรือนแก่ผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ โดยด่วนแล้ว ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุฤดูร้อน สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป.