วาตภัยกระหน่ำ30จังหวัด ตาย4ศพ บ้านเรือนพัง 3,033 หลัง

วาตภัยกระหน่ำ30จังหวัด ตาย4ศพ บ้านเรือนพัง 3,033 หลัง

กรมปภ. รายงานวาตภัยกระหน่ำ 30 จังหวัด เสียชีวิต 4 ราย บ้านเรือนพัง 3,033 หลัง จนท.เร่งช่วยเหลือ


กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานตั้งแต่วันที่ 13 -17 เมษายน 2561 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 30 จังหวัด 111 อำเภอ 209 ตำบล 477 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 3,033 หลัง ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหาร จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว นอกจากนี้ ได้ประสานจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัย พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็วและเครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อมเผชิญเหตุตลอด 24 ชั่วโมง

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 13 - 17 เมษายน 2561 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 30 จังหวัด 111 อำเภอ 209 ตำบล 477 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 3,033 หลัง ผู้เสียชีวิต 4 ราย แยกเป็น

ภาคเหนือ 11 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร เกิดวาตภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี อำเภอปางศิลาทอง อำเภอไทรงาม และอำเภอคลองขลุง รวม 13 ตำบล 47 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 428 หลัง เพชรบูรณ์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอบึงสามพัน รวม 10 ตำบล 25 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 359 หลัง เชียงใหม่ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่ริม อำเภอสะเมิง อำเภอหางดง และอำเภอเวียงแหง รวม 8 ตำบล 12 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 19 หลัง

แพร่ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสอง อำเภอร้องกวาง และอำเภอหนองม่วงไข่ รวม 5 ตำบล 7 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 13 หลัง นครสวรรค์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอไพศาลี อำเภอหนองบัว และอำเภอบรรพตพิสัย รวม 5 ตำบล 10 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 68 หลัง ลำปาง เกิดวาตภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภองาว อำเภอแม่พริก อำเภอวังเหนือ อำเภอเมืองลำปาง อำเภอห้างฉัตร และอำเภอเมืองปาน รวม 14 ตำบล 41 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 189 หลัง พิจิตร เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสามง่าม และอำเภอเมืองพิจิตร รวม 6 ตำบล 18 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 142 หลัง น่าน เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเวียงสา อำเภอนาหมื่น และอำเภอนาน้อย รวม 12 ตำบล 12 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 14 หลัง

เชียงราย เกิดวาตภัยในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่สรวย อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงแก่น อำเภอ ขุนตาล อำเภอเวียงชัย และอำเภอพญาเม็งราย รวม 22 ตำบล 52 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 101 หลัง พะเยา เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอภูซาง อำเภอเชียงม่วน และอำเภอเมืองพะเยา รวม 3 ตำบล 11 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 71 หลัง

พิษณุโลก เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอชาติตระการ รวม 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 34 หลัง


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด ได้แก่ เลย เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอเมืองเลย รวม 5 ตำบล 23 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 117 หลัง นครราชสีมา เกิดวาตภัยในพื้นที่ 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจักราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอโนนสูง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอเมืองยาง อำเภอสูงเนิน อำเภอปักธงชัย อำเภอหนองบุญมาก อำเภอสีคิ้ว อำเภอชุมพวง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอพิมาย และอำเภอปากช่อง รวม 23 ตำบล 34 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 117 หลัง ร้อยเอ็ด เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออาจสามารถ อำเภอเมืองสรวง อำเภอธวัชบุรี อำเภอจตุรพักตรพิมาน รวม 9 ตำบล 23 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 116 หลัง ขอนแก่น เกิดวาตภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านไผ่ อำเภอภูผาม่าน อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอแวงน้อย และอำเภอเขาสวนกลาง รวม 9 ตำบล 25 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 137 หลัง

มหาสารคาม เกิดวาตภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอพยัฆภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม อำเภอแกดำ และอำเภอบรบือ รวม 8 ตำบล 17 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 98 หลัง กาฬสินธุ์ เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอกมลาไสย รวม 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 75 หลัง สกลนคร เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอสว่างแดนดิน ตำบลบงเหนือ รวม 8 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 94 หลัง หนองคาย เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอเฝ้าไร่ ตำบลเฝ้าไร่ รวม 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 41 หลัง อุบลราชธานี เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอน้ำขุ่น ตำบลขี้เหล็ก รวม 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 27 หลัง สุรินทร์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอจอมพระ และอำเภอปราสาท รวม 4 ตำบล 8 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 69 หลัง ชัยภูมิ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอภูเขียว อำเภอบ้านเขว้า อำเภอจัตุรัส อำเภอเทพสถิต และอำเภอแก้งคร้อ รวม 9 ตำบล 18 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 162 หลัง

บุรีรัมย์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอห้วยราช อำเภอสตึก อำเภอนางรอง อำเภอคูเมือง อำเภอหนองกี่ และอำเภอปะคำ รวม 12 ตำบล 26 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 113 หลัง อุดรธานี เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ อำเภอประจักษ์ศิลปาคม และอำเภอกุมภวาปี รวม 4 ตำบล รวม 7 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 5 หลัง หนองบัวลำภู เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอโนนสัง และอำเภอเมืองหนองบัวลำภู รวม 3 ตำบล 6 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 12 หลัง

ศรีสะเกษ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกันทรลักษณ์ และอำเภอวังหิน รวม 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 41 หลัง และบึงกาฬ เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอโซ่พิสัย ตำบลโซ่ รวม 1 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 3 หลัง


ภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอวังม่วง ตำบลวังม่วง รวม 1 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 14 หลัง เพชรบุรี เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ รวม 2 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 6 หลัง ฉะเชิงเทรา เกิดวาตภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอบางคล้า อำเภอราชสาส์น อำเภอท่าตะเกียบ และอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา รวม 12 ตำบล 19 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 14 หลัง


อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จะเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง กับมีฟ้าผ่าและลูกเห็บตกบางพื้นที่ ปภ.จึงได้ประสานจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน โดยจัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัย อีกทั้งแจ้งเตือนประชาชนเตรียมพร้อมรับมือและระมัดระวังอันตรายจากสถานการณ์ภัย โดยติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด ส่วนเกษตรกรให้จัดทำที่ค้ำยันต้นไม้หรือที่กำบัง เพื่อป้องกันพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุฤดูร้อน สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป