'ครอบครัวไทย' แต่งงานช้า-ทารกเกิดต่ำ

'ครอบครัวไทย' แต่งงานช้า-ทารกเกิดต่ำ

Big Data Analysis 'ครอบครัวไทย' แต่งงานช้า-ทารกเกิดต่ำ

สถานการณ์ครอบครัวไทยนับว่า อยู่สภาวะที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแต่งงานที่ช้าลง ทำให้มีบุตรยากบวกกับการไม่ต้องการมีบุตร เพราะเหตุผลของ “ค่าเลี้ยงดู” และมองว่า “ลูกเป็นภาระ” ส่งผลให้ลักษณะครอบครัวคู่สามีภรรยาที่ไม่มีลูกเพิ่มขึ้น 3 เท่า เชื่อมโยงให้
ประเทศไทยมีอัตราการเกิดของทารกเพียง 1.6 คน ต่ำกว่าอัตราทดแทนของประชากรที่ควรจะอยู่ที่ 2.1 คน

2

ทั้งนี้จากรายงานสถานการณ์ประชากรไทย ปี 2558 ของกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอฟพีเอ (United Nations Population Fund : UNFPA) พบว่า รูปแบบครอบครัวไทยในปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 7 ประเภท

โดยพบว่า ครอบครัว 3 รุ่น เป็นครอบครัวประเภทหลักเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะในชนบท, ครอบครัวพ่อแม่ลูก จากที่เคยเป็น
ประเภทหลัก ลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง, ครอบครัวคู่สามีภรรยาไม่มีลูก เพิ่มขึ้น 3 เท่า ส่วนครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว สัดส่วนลดลงเล็กน้อย แต่มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 970,000 ครัวเรือน เป็น 1.37 ล้านครัวเรือน

นอกจากนี้ยังพบรูปแบบครอบครัวที่หลากหลายเช่น ครอบครัวเพศเดียวกัน ครอบครัวที่ไม่ใช่ญาติ