เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่

เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่

เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ นโยบาย UCEP ครบรอบ 1 ปี เป็นที่น่าพอใจ

เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้กล่าวว่าการดาเนินการตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (universal Coverage Emergency Patient: UCEP ) มีการดาเนินมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560 จนถึปัจจุบันครบรอบระยะเลยเวลา 1 ปี และได้ผลการดาเนินงานเป็นที่น่าพอใจ มีผู้เข้าเกณฑ์เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมารับบริการจานวนจานวน 15,950 ราย โดยผู้ป่วยมากกว่า 45 % เป็นผู้ป่วยในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งผู้ป่วยที่จะได้รับความคุ้มครองต้องเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินเข้าข่ายวิกฤตมีอาการสาคัญดังนี้


1) หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2) หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
3) ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
4) เจ็บหน้าอกเฉียบพลันรุนแรง
5) แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6) มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต


ซึ่งแบ่งกลุ่มอาการของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ 1) กลุ่มอาการหายใจลาบาก/ติดขัด3.416 ราย 2) กลุ่มอาการเจ็บแน่นทรวงอก/หัวใจ/มีปัญหาทางด้าน หัวใจ 2,276 ราย 3) กลุ่มอาการอัมพาต(กาลังกล้ามเนื้ออ่อนแรง) เฉียบพลัน 2,216 ราย 4) กลุ่มอาการไม่ รู้สติ/ไม่ตอบสนอง/หมดสติชั่ววูบ 1,565 ราย และ 5) กลุ่มอาการหัวใจหยุดเต้น 1,463 ราย


ทั้งนี้โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีอาการฉุกเฉินวิกฤติได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ต้องสำรองจ่ายภายใน 72 ชั่วโมงหรือพ้นภาวะวิกฤต เพื่อให้เข้าถึงบริการด้านการแพทย์อย่างรวดเร็วและ ปลอดภัย ไม่มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลโดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานต่างๆ ในการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน


นพ.อัจฉริยะกล่าวต่อไปว่าอย่างไรก็ตามยังมีประเด็นที่จะต้องพัฒนาปรับปรุงต่อไป คือ เรื่องการส่งต่อผู้ป่วยข้ามเขตโรงพยาบาลไปยังพื้นที่ไกลๆทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการป่วยของผู้ป่วยเอง รวมทั้งเรื่องการปรับปรุงระบบอัตราการจ่ายค่าชดเชยที่ได้ให้กับโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องมีการปรับอัตราการจ่ายให้เหมาะสมเป็นที่พอใจของทั้งโรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการ และกองทุนต่างๆที่เป็นผู้จ่ายเงิน และเรื่องความเข้าใจต่อนิยามเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ตามหลักเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่ กพฉ.ประกาศกาหนด ซึ่งพบว่าความเข้าใจของประชาชนและผู้ให้บริการมีความเข้าใจไม่ตรงกัน โดยเฉพาะอาการปวดท้อง กลุ่มอาการอ่อนเพลีย และกลุ่มอาการที่ผู้ป่วยเป็นเด็ก ซึ่งต้องทาความเข้าใจกัน
ต่อไป


นพ.อัจฉริยะกล่าวทิ้งท้ายว่า หากเกิดอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินให้รีบโทรสายด่วน 1669 เพื่อเข้าให้การช่วยเหลือนาส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสมทันที

ทั้งนี้หากประชาชนท่านใดยังมีความไม่เข้าใจในการดาเนินการตามนโนบาย UCEP นี้ก็สามารถโทรเข้ามาสอบถามได้ที่เบอร์ 02- 872- 1669 หรืออีเมล์ [email protected] ซึ่ง สพฉ.มีเจ้าหน้าที่พร้อมในการให้บริการกับประชาชนตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ