ชี้ช่องรวย ปั้น“ผลิตภัณฑ์โค” ให้เป็นเงินล้าน

ชี้ช่องรวย ปั้น“ผลิตภัณฑ์โค” ให้เป็นเงินล้าน

ฝ่ายเกษตร สกว. รวมกับ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล. จัดอบรม หลักสูตรการเพิ่มมูลค่าโคเนื้อ ให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และ นักวิชาการ หวังสร้าง “ผลิตภัณฑ์โค” ให้เป็นเงินล้าน ภายใต้ยุทธศาสตร์โคเนื้อ

มื่อไม่นานมานี้ ฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) จัดอบรมหลักสูตรการเพิ่มมูลค่าโคเนื้อ ให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และ นักวิชาการ (ต้น กลาง ปลายน้ำ) ช่วงระหว่างวันที่ 30 มี.ค. 61 – 2 เมษายน 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีเนื้อสัตว์ อาคารบุนนาค คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.

โอกาสนี้ รศ.ดร.ประภาพร ขอไพบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายเกษตร สกว. กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญถึงแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงโคในมิติต่างๆ ประกอบกับปัจจุบัน ประเทศไทยผลิตโคเนื้อลดลง เน้นการส่งออกมากกว่าบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศจีน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์โคเนื้อ โดย รศ.ดร.จุฑารัตน์ เศรษฐกุล ในฐานผู้ประสารงานฝ่ายเกษตร สกว. ร่วมดำเนินการจัดทำ "รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง "ยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อไทยทั้งระบบ" ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามดำริของรองนายกรัฐมนตรี

อย่างไรก็ดี การอบรมในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมอุตสาหกรรมโคเนื้อของประเทศไทย โดยการขับเคลื่อนในระบบของการผลิตให้ครบห่วงโซ่การผลิต โดยเฉพาะโว่กลางน้ำ ซึ่งเป็นกลุ่มของโรงฆ่าที่จะต้องเร่งทำมาตรฐาน GMP Good Manufacturing Practice หรือ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต และโซ่ปลาน้ำ กลุ่มการตลาด และ บริโภค ที่จะต้องให้ความรู้ทั้งในส่วนของหลักวิชาการ และ แนวทางปฏิบัติ ตั้งแต่ผู้เลี้ยง ผู้ประกอบการ และ Food Service ที่จะเน้นในส่วนของอาหารของสด และวัตถุดิบทำอาหาร ขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับเกษตรกร และ ผู้ประกอบการในช่วงของตลาดโคเนื้อผันผวน ทั้งนี้ตนอยากจากฝากข้อคิดที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิของ สกว.ว่า จะพัฒนาผลิตภัณฑ์โคเนื้ออย่างไรให้นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีมจำนวนมากที่มาท่องเที่ยว ได้ซื้อผลิตภัณฑ์นั้นกลับไป แทนที่เราจะส่งเนื้อคุณภาพจำนวนมากออกไปขายให้กับประเทศจีน

รศ.ดร.จุพารัตน์ เศรษฐกุล ในฐานผู้ประสารงานฝ่ายเกษตร สกว. กล่าวว่า ช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์โคเนื้อไทยให้กลายมาเป็นเนื้อระดับพรีเมียม คือมีลักษณะนุ่มเนียน มีไขมันแทรกระดับเดียวกับเนื้อวากิว หรือเนื้อโกเบ แต่ปัจจุบันรูปแบบการเลี้ยงโคเนื้อได้เปลี่ยนมาเป็นการเลี้ยงเพื่อผลิตเนื้อโค เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อโคเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ แต่ทั้งนี้ โคเนื้อเป็นสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตสูง และกว่าจะได้รับผลตอบแทนต้องใช้ระยะเวลานาน อีกทั้ง การเลี้ยง โคเนื้อยังประสบปัญหาอยู่หลายอย่าง เช่น ต้นทุนของอาหารสัตว์ ปัญหาโรคระบาด อย่างไรก็ตามหากมีระบบการจัดการที่ดี เชื่อว่าตลาดโคเนื้อของประเทศไทยไปได้

รศ.ดร.จุฑารัตน์ อธิบายว่า ปัจจุบันตลาดบน หรือ ตลาดเนื้อโคคุณภาพสูง ของไทยมีการผลิตอยู่ราว 12,000 ตัว ต่อปี คิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 960 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 2.3 ของมูลค่าทั้งหมด ประมาณ 41,810 ล้านบาท ในส่วนนี้ อาจารย์จุฑารัตน์ อธิบาลย้ำว่า โอกาสชิงส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นไปได้สูง เพราะเนื้อแทรกไขมันกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ยกตัวอย่าง หากเรานำเนื้อวากิว หรือ เนื้อโกเบ กิโลละหลายพันบาท มาทำเป็นชิ้นวางจำหน่ายควบคู่กับ เนื้อที่เราขุน โดยเทคโนโลยีผสมพันธ์ และอาหารในการขุน กิโลไม่ถึง พันบาท แต่คุณภาพ รสชาติ อาจจะแพ้เนื้อคุณภาพในบางประการ แต่เชื่อว่าจะเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้

ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถนำโคเนื้อมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เริ่มตั้งแต่การชำแหละ เพื่อแยกเนื้อแต่ละประเภท ตามความนิยม และ ความเหมาะสมกับการนำไปประกอบอาหารแต่ละเมนู เช่น ทำสเต็ก ก๋วยเตี๋ยว ที่สำคัญการแยกชิ้นส่วน แต่ละชิ้นส่วน ทำให้เกษตรกรสามารถขายได้ทุกส่วน หรือ แม้แต่กระดูกช่วงข้อเข่า (โคบราห์มัน ผสมพันธ์พื้นเมือง) ก็อาจได้ราคาถึงกิโลกรัมละ 200 บาท ขณะเดียวกัน เกษตรกร หรือ ผู้ ประกอบการ สามารถนำเนื้อโค มาแปรรูปตามความนิยมของผู้บริโภค เช่น การเอาเนื้อมาสไลด์ เพื่อนำไปทำปิ้งย่าง รวมถึง การทำเป็นผลิตภัณฑ์พวกแฮม ไส้กรอก ต่างๆ ซึ่งทั้งหมดรวมอยู่ในการอบรมช่วง 4 วันนี้ โดยความรู้ทางวิชาการ และ เทคนิค ต่างที่ทางวิทยากร แล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้กันและกัน

สุดท้ายนี้ ตนในฐานะนักวิชาการที่ทำวิจัย เรื่องการขยายโอกาสธุรกิจเนื้อโคไทย มากว่า 10 ปี เชื่อว่า หากมีการจัดการตลาดโคเนื้ออย่างเป็นระบบ ครบทุกห่วงโซ่ จะเป็นเกษตรกร หรือ ผู้ประกอบการเงินล้าน ไม่ใช่ฝันที่ไกลเกินเอื้อม