ล่อง 'ดุจนาวากลางมหาสมุทร' ถึงท่าล้ง 1919 ด้วยแสงสีเสียงแสนประทับใจ

ล่อง 'ดุจนาวากลางมหาสมุทร' ถึงท่าล้ง 1919 ด้วยแสงสีเสียงแสนประทับใจ

จากตัวหนังสือ สู่การเล่าบทประวัติศาสตร์ ในรูปแบบแสงสีเสียงแสนประทับใจ! ..ล่อง "ดุจนาวากลางมหาสมุทร" ถึงท่าล้ง 1919

ประวัติศาสตร์ถูกจารึกในรูปแบบที่ต่างกัน แต่ประวัติศาสตร์ของชนชาติจีนในเมืองไทยได้รับการกล่าวถึงในสมัยอดีตมาอย่างยาวนาน การเก็บรักษาข้อมูลก็อยู่ในรูปแบบที่ต่างกัน “ดุจนาวากลางมหาสมุทร” เป็นหนังสืออีกหนึ่งเล่ม ที่ไม่ใช่เพียงหนังสือบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ ผ่านมุมมอง ข้อเท็จจริงของ คุณหญิงจำนงศรี (รัตนิน) หาญเจนลักษณ์ เท่านั้น แต่ยังเป็นผลงานเชิงประวัติศาสตร์เล่มแรกที่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าของญาติพี่น้องในตระกูลจีนริมน้ำฝั่งธนบุรี ซึ่งปัจจุบันนับเป็นการพิมพ์ฉบับครั้งที่ 9 ฉบับครั้งสมบูรณ์ที่สุด โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานคำนิยมแก่หนังสือ เมื่อปีพ.ศ.2541



 โดยในฉบับล่าสุดนี้มีการเพิ่มบท การล่องนาวาจากแผ่นดินใหญ่ สู่ท่าประวัติศาสตร์ศิลป์ไทย-จีนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ล้ง 1919 โดยจัดงานเปิดตัวฉบับสมบูรณ์อย่างเป็นทางการในรูปแบบการเล่าบทประกอบแสงสีเสียงที่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้มาเยือน ณ โครงการล้ง 1919 ถ.เชียงใหม่ คลองสาน เมื่อวันอังคารที่ 27 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา

  6_1

คุณหญิงจำนงศรี (รัตนิน) หาญเจนลักษณ์ ผู้เขียน ดุจนาวา กลางมหาสมุทร กล่าวว่า “ดุจนาวากลางมหาสมุทร ตีพิมพ์มาไม่น้อยกว่า 8 ครั้ง เริ่มต้นจากการเป็นหนังสือที่ไม่เคยคิดฝันว่าจะเขียน และเขียนเสร็จเร็วที่สุดในชีวิตของชีวิตนักเขียน ทั้งสิ้น 4 เดือน เพื่อเป็นหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายสุวิทย์ หวั่งหลี ผู้นำของตระกูลในยุคนั้น โดยในขณะนั้นมีการประชุมกันอย่างเร่งด่วนในวงญาติ โดยตกลงกันว่าจะทำหนังสือภาพสวยๆ ที่สื่ออดีตกับปัจจุบัน แต่เนื่องจากไม่ค้นพบภาพถ่ายโบราณ ภาระหน้าที่จึงตกเป็นของตนในฐานะนักเขียนคนเดียว จึงเป็นที่มาของการค้นคว้าจากการบอกเล่าของพี่น้องในตระกูล รวมทั้งได้เดินทางไปยังเมืองจีน ที่ซัวเถา รวมทั้งที่หมู่บ้านโจ่ยมุ่ย (โจ่ยโคย) ที่ได้ฟังเรื่องราวบรรพบุรุษจากญาติและบริวารเก่าแก่ ซึ่งแต่ละคนดูมีความสุขในการเล่าเรื่องเก่าๆ ในความทรงจำ และรู้สึกว่าประตูอดีตเปิดกว้างให้เราก้าวเข้าไปไม่ใช่ในฐานะแขก หากแต่เป็นในฐานะลูกหลานจากแดนไกล”

  10

คุณหญิงจำนงศรี เล่าต่อไปว่า “ชื่อของหนังสือ ดุจนาวากลางมหาสมุทร ผุดขึ้นในใจเมื่อเขียนเรื่องไปไกลแล้ว การพยายามลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ค้นพบเกี่ยวกับบรรพบุรุษ ทำให้รู้สึกแจ่มชัดว่าชีวิตดำเนินไปในวิถีของเวลาเหมือนเกลียวคลื่นที่เกิดขึ้นแล้วหายไป ไม่เหลือให้จับต้องได้อีก จากนั้นจึงมองชีวิตเลยไปเหมือนเรือสำเภาที่บรรพบุรุษหวั่งหลีใช้เดินสมุทร พบกับพายุบ้างในบางคราว ซึ่งบางครั้งไต๋กง (ผู้นำเรือสำเภา) ก็คงรู้สึกถึงความอ้างว้างเดียวดายขณะลอยเรืออยู่กลางมหาสมุทร มองไปทางไหนก็ไม่เห็นฝั่ง แต่ปัจจุบัน หากจะเปรียบ ดุจนาวากลางมหาสมุทร กับเรือ และการตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้กับท่าเรือ ดุจนาวาฯ ก็ออกจากอู่ต่อเรือมาได้ถึง 22 ปีเศษ จากนั้นก็ล่องวารีอย่างงามสง่า จากท่าสู่ท่า มาจนถึงวันนี้ โดยแต่ละท่าที่นาวาลำนี้เข้าเทียบ ก็มีเหตุให้คนต่อเรือได้เก็บเกี่ยวสารพันสิ่งมาเติมต่อเรือให้สมบูรณ์แบบขึ้นเรื่อยๆ ณ วันนี้ ตนเองอิ่มในใจอย่างยากที่จะอธิบาย ที่ ดุจนาวากลางมหาสมุทร กำลังจะเข้าเทียบท่าดั้งเดิมที่โคตรเหง้าของคนต่อเรือได้หยั่งรากในแผ่นดินสยามเมื่อร่วม 150 ปีมาแล้ว คือ ฮวยจุ่งโล้ง ที่เพิ่งจะกลายมาเป็นล้ง 1919”

  13

ภายในงานเปิดตัวหนังสือ “ดุจนาวากลางมหาสมุทร” อบอวลไปด้วยความรู้สึกอบอุ่นจากคนรุ่นเก่า – รุ่นใหม่ของตระกูล รวมทั้งผู้มีเกียรติที่มาร่วมแสดงความยินดีคับคั่ง อาทิ สุกิจ  สุภีร์ หวั่งหลี สุจินต์ หวั่งหลี, ยุพา ล่ำซำ, ปราโมทย์ - วรรณพร พรประภารศ.ดร.คุณหญิง วินิตา ดิถียนต์ (แก้วเกล้า ว.วินิจฉัยกุล)ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์พลโท นายแพทย์สุปรีชา - สุมัณฑนา โมกขะเวสเมตตา อุทกะพันธุ์, ศ.ดร.กาญจนา กาญจนสุตผศ.ดร.วาสนา วงศ์สุรวัฒน์พงศกร ล่ำซำวิมลพรรณ ปีตธวัชชัยเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ชวนทิพย์ วัชรสินพวงทิพย์ หวั่งหลีพจนีย์ บูโร, ธำรงรัตน์ -  ศุภรัฐ พิศาลบุตร, พญ. สถิตย์หทัย วงศ์สัจจา, พอลลีน ล่ำซำ, วิมลพรรณ ปีตธวัชชัยเชาวน์ - สาวิตรี สุวรรณสถิตย์อรยา สูตะบุตร ฯลฯ พร้อมร่วมชมการแสดงเปิดในรูปแบบการแสดงแสงสีเสียง ที่บอกเล่าย้อนเวลากลับไปให้ทุกคนได้เห็นภาพตามจินตนาการของแต่ละคน โดยมีนักแสดงกิตติมศักดิ์รับเชิญร่วมอ่านบทประวัติศาสตร์บอกเล่าเรื่องราว นำโดย คุณหญิงจำนงศรี รัตนิน หาญเจนลักษณ์ ผู้เขียน   พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร บรรณาธิการ, รุจิราภรณ์ หวั่งหลีวรัดดา รัตนิน, สุภปรัชญ์ ปันยารชุน,  ดร.ศรัณฐ์ หวั่งหลีกานดา วิทยานุภาพยืนยง ฯลฯ

21

สำหรับหนังสือ “ดุจนาวากลางมหาสมุทร” เป็นการบอกเล่าเรื่องราวการเดินทางจากต้นทางผืนแผ่นดินใหญ่ ล่องนาวา...สู่ปลายน้ำ เหตุการณ์ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านคลองสาน โดยเป็นผลงานเชิงประวัติศาสตร์เล่มแรกที่เขียนจากคำบอกเล่าของญาติพี่น้องในตระกูลจีนริมน้ำฝั่งธนบุรี เรื่องของชีวิตจริงที่พลิกผัน การต่อสู้ ความสำเร็จ ความผิดหวัง ความรักมีทั้งรอยยิ้ม คราบน้ำตา และความสัมพันธ์ ที่ปรุงแต่งด้วยไออุ่นจากเตานึ่งขนมตาลพาผู้อ่านผ่านกาลเวลา ผ่านสงคราม ผ่านความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและค่านิยม จากจีนเป็นไทย ด้วยภาษาที่ไพเราะงดงาม สำหรับผู้ที่สนใจหาซื้อได้ที่ ร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป หรือสั่งจองได้ทาง โทร. 02-225-9536 ต่อ 11, 22