นวัตกรรมเกษตร-อาหาร ปูทางขยับไทยแลนด์4.0

นวัตกรรมเกษตร-อาหาร ปูทางขยับไทยแลนด์4.0

ขนมวาฟเฟิลกรอบจากข้าวเจ้า,โยเกิร์ตถั่วเหลืองพร้อมดื่มผสมฟักทอง สำหรับผู้ที่แพ้แป้งข้าวสาลีและแพ้นมวัว ผลงานวิจัยที่อยู่ระหว่างถ่ายทอดสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ขนมวาฟเฟิลกรอบจากข้าวเจ้าและโยเกิร์ตถั่วเหลืองพร้อมดื่มผสมฟักทอง สำหรับผู้ที่แพ้แป้งข้าวสาลีและแพ้นมวัว ผลงานวิจัยที่อยู่ระหว่างถ่ายทอดสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ องค์กรทัพหน้าขับเคลื่อนวิจัยและนวัตกรรมสู่ภาคเกษตร-อาหารตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ขนมวาฟเฟิลกรอบจากข้าวเจ้าและโยเกิร์ตถั่วเหลืองพร้อมดื่มผสมฟักทอง สำหรับผู้ที่แพ้แป้งข้าวสาลีและแพ้นมวัว ผลงานวิจัยที่อยู่ระหว่างถ่ายทอดสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ องค์กรทัพหน้าขับเคลื่อนวิจัยและนวัตกรรมสู่ภาคเกษตร-อาหารตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 


สองผลงานไฮไลต์นี้คิดค้นพัฒนาสูตรโดย รศ.กมลวรรณ แจ้งชัด อาจารย์ประจำภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร โดยผลิตภัณฑ์แรกผลิตจากข้าวเจ้า 100% ขณะนี้ได้รับความสนใจที่จะนำไปผลิตเพื่อจำหน่ายในช่องทางโมเดิร์นเทรนด์ แต่ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดเนื่องจากอยู่ระหว่างการเจรจาสัญญาขั้นสุดท้ายกับผู้ประกอบการก่อนใช้สิทธิ์


3แพลตฟอร์มขยับไทยแลนด์ 4.0 


นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ม.เกษตรฯ จะต้องร่วมเป็นเสาหลักในการขับเคลื่อนองค์ความรู้จากงานวิจัยมาเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเชื่อมโยงกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ( ทปอ.) ในลักษณะของการสร้างแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายระดับโลก “สิ่งสำคัญในการสร้างมูลค่าให้การเกษตรไทย คือ ทำอย่างไรให้การวิจัยไม่ใช่เพื่อวิจัย แต่เป็นวิจัยเพื่อธุรกิจ ทำน้อยแต่ได้มาก ซึ่งตอนนี้ ม.เกษตรฯ ถอดรหัสนี้ได้และนำมาใช้ให้เกิดผลสูงสุด ขณะที่นวัตกรรมก็ต้องสามารถขับเคลื่อนธุรกิจได้ด้วย”


ทั้งนี้ รัฐบาลเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม จึงจัดวางโครงสร้างพื้นฐานด้าน วทน. ขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 อย่างเป็นรูปธรรมผ่าน 3 แพลตฟอร์มหลัก ประกอบด้วย 1.ไบโอ-ดิจิทัล แพลตฟอร์ม ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่มีฐานจากรหัสพันธุกรรมและชีวโมเลกุล และดิจิทัลเดต้า ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ เตรียมโครงการสำคัญรองรับหลายโครงการ อาทิ ธนาคารชีวภัณฑ์ ธนาคารพันธุกรรม โรงงานปลูกผัก และ Bioinformatics เป็นส่วนหนึ่งในการขยายองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อการเกษตร โดยมีพื้นฐานมาจากความหลากหลายทางชีวภาพ2. ไซเบอร์-ฟิสิกคัล แพลตฟอร์ม เพื่อเตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ที่จะมีทั้งระบบการผลิตที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ทางกายภาพ รวมถึงแพลตฟอร์มการทำงาน การซื้อขาย ตลอดจนการให้บริการที่อยู่ในโลกไซเบอร์ควบคู่กันไป โดยมีเทคโนโลยีสำคัญ อาทิ การประมวลผลประสิทธิภาพสูง สมาร์ทบิสซิเนส บล็อกเชน และการวิเคราะห์ข้อมูล 3. เอิร์ธ-สเปซ แพลตฟอร์ม ครอบคลุมทั้งด้านอาหารในอนาคต ชีวการแพทย์ พลังงานทางเลือก การจัดการน้ำและทรัพยากร และภัยพิบัติต่าง ๆ ตลอดจนการจัดการที่เกี่ยวกับดาวเทียมและอวกาศ และอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ เป็นต้น


ทปอ.จัดงบหนุนวิจัยลงหิ้ง


ด้านนายกฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยได้รับงบจาก ทปอ. 438 ล้านบาทเพื่อต่อยอดงานวิจัยออกสู่ตลาดผ่านโครงการเกษตร อาหารและเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 และ 294 ล้านบาทผ่านโครงการอินโนเวชันฮับด้านเกษตรและอาหาร เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากด้วยนวัตกรรม ขณะนี้ดำเนินการคืบหน้าไปแล้ว 80% สามารถถ่ายทอดผลงานวิจัยแก่ผู้ประกอบการและเกษตรกร ได้ตามเป้าหมาย คาดว่า ปีนี้จะมีงานวิจัยที่ต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ได้ไม่ต่ำกว่า 20-30% จากทั้งสิ้น 119 ผลงาน แต่หากเกินกว่า 50% มีความเป็นไปได้ว่าในปีหน้าจะจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานแก่ผู้ประกอบการเพื่อเจรจาธุรกิจเพิ่มเป็นปีละ 2 ครั้ง


รศ.กมลวรรณ กล่าวว่า วาฟเฟิลจากข้าวเจ้าทดแทนแป้งสาลี เป็นจุดขายที่เหมาะกับผู้บริโภคที่แพ้กลูเตนในแป้งสาลี ขณะเดียวกันตอบโจทย์ผู้บริโภคต่างประเทศที่ส่วนใหญ่แพ้กลูเตน พัฒนาโดยนำความรู้ด้านเทคโนโลยีการอบร่วมกับการใช้ส่วนผสมที่เหมาะสม ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อสัมผัสกรอบ บรรจุในถุงอะลูมิเมียมฟอยล์เคลือบพลาสติกและใส่กล่องกระดาษอีกชั้นหนึ่ง จึงมีอายุการเก็บรักษาไม่น้อยกว่า 6 เดือน”


นอกจากนี้ยังได้พัฒนาโยเกิร์ตถั่วเหลืองพร้อมดื่มผสมฟักทอง ซึ่งเป็นการพัฒนาเครื่องดื่มแนวใหม่โดยใช้โปรตีนจากถั่วที่ไม่ใช่นม ดังนั้น ผู้ที่แพ้โปรตีนนมหรือรับประทานอาหารมังสวิรัติรวมถึงผู้สูงอายุสามารถบริโภคได้ นอกจากมีโปรตีนแล้วยังเสริมฟักทองที่เป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนเข้าไปด้วย โดยได้พัฒนาปรับปรุงให้มีกลิ่นถั่วเหลืองอ่อนๆ และรสชาติกลมกล่อมน่ารับประทานปัจจุบันในตลาดยังไม่มีโยเกิร์ตพร้อมดื่มจากถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์นี้จึงเป็นรายแรกในตลาดไทยล่าสุดได้รับการติดต่อขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัท แอปเปิ้ลโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งมีพื้นฐานในการผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอยู่แล้ว