สสว. เดินหน้าโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ คาดสร้างมูลค่ากว่า 2 พันล้าน

สสว. เดินหน้าโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ คาดสร้างมูลค่ากว่า 2 พันล้าน

สสว. จับมือ 19 หน่วยงาน เดินหน้าโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่และโครงการส่งเสริม และพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต ปี 2561 คาดสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจกว่า 2,000 ล้านบาท

เมื่อเร็วๆ นี้ นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (SME Start up) และ โครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Strong/Regular Level) ปี 2561 โดยได้ผนึกกำลัง 19 หน่วยงาน ชูกลยุทธ์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือสร้างนักรบเศรษฐกิจใหม่ให้เติบโตแบบก้าวกระโดด พร้อมขยายกลุ่มเป้าหมายสู่เอสเอ็มอีรายย่อยและวิสาหกิจชุมชนภาคเกษตร ปูพรมยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่เอสเอ็มอีอีกกลุ่มเติบโต ตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไม่ต่ำกว่า 6,000 ราย สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 2 พันล้านบาท

ทั้งนี้ได้เริ่มดำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (SME Start up) ในปี 2559 ตามนโยบายของรัฐบาล โดยปรับใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อบ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และต่อยอดไปสู่กลุ่มเป้าหมายภาคการเกษตรในปี 2560 ซึ่งมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการและผ่านการอบรมเบื้องต้นจำนวน 23,618 ราย สามารถสร้างผู้ประกอบการใหม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจำนวน 6,101 ราย ในปี 2561 สสว.ได้ปรับแนวทางพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจและเติบโตต่อไปได้อย่างก้าวกระโดดหรือพร้อมก้าวสู่ตลาดระดับสากล (Born Strong / Born to Global) โดยเน้นใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อน ภายใต้ความร่วมมือกับ 10 หน่วยงาน ได้แก่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และกรมประมง

โดยเน้นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมกลุ่ม High Value คือ ด้านเกษตรและอาหารแปรรูป (Agriculture and Food) ด้านเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ (Health and Wellness) ด้านธุรกิจสร้างสรรค์วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (Creative and Cultural + High Value Service) ด้านการศึกษาและสำรวจการใช้อุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Device) และด้าน Digital Internet of Things (IOT) พร้อมเชื่อมโยงกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อย วิสาหกิจชุมชนระดับฐานรากซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือพัฒนาโมเดลการทำเกษตรรูปแบบใหม่ พร้อมยกระดับจากภาคการผลิตไปสู่เกษตรแปรรูปที่มีคุณภาพมาตรฐานสามารถ