อีสานโพลชี้ 'สุดารัตน์' อันดับ1ดันเป็นนายกฯ เผย42%เลือกเพื่อไทย

อีสานโพลชี้ 'สุดารัตน์' อันดับ1ดันเป็นนายกฯ เผย42%เลือกเพื่อไทย

ผลสำรวจชาวอีสานชี้ "สุดารัตน์" อันดับ1ดันเป็นนายกฯ เผย42%เลือกเพื่อไทย และกว่า 90.8% ต้องการหัวหน้าพรรคที่บริหารประเทศเก่ง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ

(22 มีนาคม 2561) อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER)
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง “พรรคการเมืองในฝันของคนอีสาน” พบกลุ่มตัวอย่างคนอีสานมากกว่าร้อยละ 80 เห็นว่าเลือกตั้ง ส.ส. ภายในปี 2561 เหมาะสมที่สุด โดยจุดเด่นที่ต้องการให้พรรคการเมืองมีมากที่สุดคือ มีผู้นำพรรคที่บริหารประเทศเก่งโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ผู้นำพรรคมีจริยธรรมสูง/เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม มีนโยบายและความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและมุ่งมั่นแก้ปัญหาทุจริตของชาติอย่างจริงจัง และมีทีมงานและผู้สมัคร ส.ส. ที่มีจริยธรรมสูง/เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม

ทั้งนี้ยังไม่มีว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใดสามารถครองใจคนอีสานได้เกินครึ่ง และพรรคเพื่อไทยยังคงได้รับความนิยมสูงสุดในภาคอีสาน อย่างไรก็ตามกลุ่มที่ยังรอพรรคทางเลือกหรือยังไม่ตัดสินใจยังมีสัดส่วนที่สูง

ผศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นคนอีสานในประเด็นจุดเด่นของพรรคการเมืองที่คนอีสานต้องการ เพื่อเป็นแนวทางให้พรรคการเมืองต่างๆ นำไปประยุกต์ใช้ปรับปรุงจุดเด่นและจุดด้อยของพรรคการเมืองให้ตรงกับความต้องการของคนอีสานต่อไป โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16-19 มีนาคม 2561 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน1,190 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่า การจัดเลือกตั้ง สส. ช่วงใดเหมาะสมที่สุด พบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งหรือ ร้อยละ 50.5 เห็นว่าควรจัดเลือกตั้ง ส.ส. ในช่วง พ.ค.-ส.ค. 61 รองลงมาร้อยละ 31.8 ควรจัดช่วง ก.ย.-ธ.ค. 61 ตามมาด้วย ร้อยละ 12.9 ควรจัดช่วง ม.ค.-เม.ย. 62 ร้อยละ 3.5 ควรจัดช่วง พ.ค.-ส.ค. 62 และร้อยละ1.3ควรจัดช่วงปลายปี62 หรือนานกว่านั้น โดยสรุปกลุ่มตัวอย่างคนอีสาน ร้อยละ 82.3 คิดว่าการจัดเลือกตั้งสส. ภายในปี 2561 เหมาะสมที่สุด

เมื่อสำรวจความต้องการจุดเด่นของพรรคการเมืองในฝันที่กลุ่มตัวอย่าง ต้องการให้พรรคการเมืองมีโดยมีตัวเลือกจุดเด่นต่างๆ 19 รายการ และระดับความต้องการ 5 ระดับ ตั้งแต่น้อยที่สุดไปจนถึงมากที่สุด(โดยเลือกระดับมากที่สุดได้ไม่เกิน 5 รายการ เพื่อสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มตัวอย่างออกมาให้ได้มากที่สุด) จากการประมวลผล โดยให้คะแนนเต็ม 100 หมายถึง ทุกคนต้องการจุดเด่นดังกล่าวมากที่สุดและศูนย์คะแนน หมายถึง ทุกคนต้องการจุดเด่นดังกล่าวน้อยที่สุด เป็นดังนี้ 

          จุดเด่นของพรรคการเมืองที่ต้องการ คะแนน 1) มีหัวหน้าพรรคที่บริหารประเทศเก่ง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ 90.8% 2) มีหัวหน้าพรรคที่มีจริยธรรมสูง/เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม 81.7% 3) มีนโยบายและความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย 81.2% 4) มีนโยบายและความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาทุจริตของชาติอย่างจริงจัง 80.0% 5) มีทีมงานและผู้สมัคร สส. ที่มีจริยธรรมสูง/เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม 79.4% 6) มีทีมงานและผู้สมัคร สส. ที่เก่งและมีความเชี่ยวชาญหลากหลาย 78.2% 7) มีนโยบายและความมุ่งมั่นที่จะปฏิรูประบบราชการ/กระบวนการยุติธรรม 77.2% 8) เป็นพรรคขนาดใหญ่ที่มีพลังในการก าหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ 75.8% 9) ต่อต้านการแจกเงิน/สิ่งของเพื่อซื้อเสียงอย่างจริงจัง 74.0% 10) นักการเมืองของพรรคขยันลงพื้นที่เพื่อรับฟังและแก้ปัญหา 73.8% 11) มีนโยบายและความมุ่งมั่นที่จะทำระบบรัฐสวัสดิการ 73.3%

            12) เปิดกว้างให้คนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถเข้ามาทำงานการเมือง 72.8% 13) มีนโยบายและความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนประชาธิปไตยตามแนวทางสากล 71.8% 14) มีโครงสร้างพรรคที่สมาชิกพรรคมีส่วนร่วม ไม่ใช่ของกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง 70.3% 15) มีนโยบายและความมุ่งมั่นที่จะกระจายอ านาจให้จังหวัดและท้องถิ่น 70.2% 16) มีนโยบายและความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก 68.8% 17) ให้อิสระ สส. อย่างเต็มที่ ในการลงมติและแสดงความคิดเห็นที่ต่างจากพรรค 68.7% 18) มีนโยบายและความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือชนชั้นกลาง 68.6% 19) สส. และข้าราชการการเมืองของพรรคไม่รับเงินเดือนและเบี้ยประชุม 67.2%

          เมื่อสำรวจถึงผู้ที่เหมาะสมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป พบว่า จากการเสนอ 12 รายชื่อผู้ที่มีแนวโน้มจะถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีให้กลุ่มตัวอย่างพิจารณา นั้น ยังไม่มีใครสามารถครองใจคนอีสานได้เกินครึ่ง ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่าคนอีสานต้องการผู้นำที่มีภาพลักษณ์บริหารประเทศเก่งโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจมีจริยธรรมสูง/เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม มีความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และมุ่งมั่นแก้ปัญหาทุจริตของชาติอย่างจริงจัง ซึ่งคุณสมบัติโดยรวมดังกล่าวค่อนข้างหาได้ยากในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งคะแนนของทั้ง 12 ว่าที่นายกรัฐมนตรีเป็นดังนี้

รายชื่อที่ถูกคาดหมาย                         เหมาะสม   ไม่เหมาะสม             ไม่รู้จัก/ไม่แน่ใจ 
1) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์                 35.2%       61.8%                   3.0%
2) นายจาตุรนต์ ฉายแสง                        34.9%              61.6%           3.5%
3) นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์                     34.3%              62.1%                        3.5%
4) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา             24.1%                73.4%                       2.5%
5) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ                  22.0%              76.6%                         1.4%
6) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์                     19.7%                 62.3%                    17.9%
7) นายชวน หลีกภัย                           13.7%              82.7%                      3.5%

8) นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย                    12.3%               63.9%                    23.7%
9) นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ                         11.1%              67.5%                     21.4%
10) นายศุภชัย พานิชภักดิ์                         10.2%               67.8%                    22.0%
11) นายอนุทิน ชาญวีรกุล                        9.4%                 65.9%                    24.7%
12) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์                     9.2%                70.7%                    20.1%

 

            สุดท้ายเมื่อสำรวจถึงแนวโน้มที่กลุ่มตัวอย่างจะสนับสนุนพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า
อันดับหนึ่งร้อยละ 42.9 จะสนับสนุนพรรคเพื่อไทย รองลงมา ร้อยละ 38.3 เป็นกลุ่มสนับสนุนพรรคทางเลือกอื่นๆหรือยังไม่ตัดสินใจเลือกพรรคใด ตามมาด้วย ร้อยละ 7.2 สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 6.4 สนับสนุนพรรคที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ ร้อยละ2.4 สนับสนุนพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 2.0 สนับสนุนพรรคชาติพัฒนา และ ร้อยละ 0.7 สนับสนุนพรรคชาติไทยพัฒนา 

          ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 99% และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ 3.5% ประกอบด้วยเพศหญิงร้อยละ 51.8 เพศชายร้อยละ 48.2 ด้านอายุ ช่วงอายุ18-25ปี ร้อยละ 7.4 อายุ 26-35 ปีร้อยละ 26.9 อายุ 36-45 ปีร้อยละ 29.3 อายุ 46-55 ปีร้อยละ 23.1 อายุ56-60 ปี ร้อยละ 7.5 และอายุตั้งแต่ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 5.8 ส่วนระดับการศึกษา จบระดับประถมศึกษา/ต่ ากว่า ร้อยละ 18.7 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 18.2 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.ร้อยละ 21.1 ระดับอนุปริญญา /ปวส. ร้อยละ 12.9 จบการศึกษา ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 24.2 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 4.7
          ด้านอาชีพ ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 39.6 รองลงมารับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 14.8 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 12.5 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.1 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 9.2 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 5.5 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 5.1 และอื่นๆ ร้อยละ 2.1 ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 14.7 รายได้5,001-10,000 บาท ร้อยละ 30.1 รายได้10,001-15,000 บาท ร้อยละ 21.5 รายได้15,001-20,000 บาท ร้อยละ 16.3 รายได้ 20,001-40,000 ร้อยละ 14.2 และรายได้มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 3.1