เตรียมความพร้อม! ให้รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข เพื่อกายฟิตจิตดีมีออม

เตรียมความพร้อม! ให้รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข เพื่อกายฟิตจิตดีมีออม

ลงพื้นที่เมืองอุบลฯ เตรียมความพร้อมให้รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข เพื่อนำไปสู่กายฟิต จิตดี มีออม เพื่อสู่สังคมสูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ            

สานต่อโครงการไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข (Pfizer Healthy Aging Society) เตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ ลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เพื่อนำไปสู่ “กายฟิต จิตดี มีออม” โดยมูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทยร่วมกับสถาบันคีนันแห่งเอเชีย
 
ภญ.ศิริวรรณ ชื่นชมสกุล กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย กล่าวว่า มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย ตระหนักว่าเรามีทรัพยากรมาก ถึงแม้จะไม่เยอะ แต่สามารถเข้ามาช่วยเหลือเกี่ยวกับเรื่องสังคมของผู้สูงวัยได้บ้าง เป็นที่มาของโครงการไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข (Pfizer Healthy Aging Society) โครงการนี้เป็นโครงการที่ภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาให้ความร่วมมือกันในการเตรียมความพร้อมสู่สูงวัย ทั้งนี้ในประเทศไทยจะมีประชากรที่อายุเกิน 60 ปี มากกว่า 20 % ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ และยังพบว่าประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ สะท้อนให้เห็นได้จากแผน ผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564)

1                 

มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ทุกช่วงวัยและเล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมการเป็นผู้สูงวัยที่มีคุณภาพ จึงได้ร่วมกับสถาบันคีนันแห่งเอเชีย ดำเนินโครงการไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข รณรงค์เตรียมความพร้อมของวัยก่อนสูงอายุ ได้แก่ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ที่เน้นการทำงานอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพความรู้ความเข้าใจเชิงสุขภาพสำหรับเป้าหมาย ปรับเปลี่ยนทัศนคติของกลุ่มเป้าให้เป็นพฤติกรรมสุขภาพเชิงบวก               

2

ภาพรวมของการดำเนินโครงการ จะเชื่อมโยงการทำงานทั้งระดับประเทศและชุมชน เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ประชากรก่อนวัยสูงอายุ และวัยสูงอายุ ในด้านความรู้เรื่องสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การรณรงค์ (Promotional Campaigns) การสร้างความตระหนักในเรื่องการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพดี และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและวิถีชีวิต รวมทั้งการติดตามประเมินผลโครงการและการถอดบทเรียนไปใช้”

ภาวะ “สังคมสูงวัย” ในปัจจุบัน

อาจารย์ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ปรึกษาโครงการไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข กล่าวว่า ประเทศและทั่วโลกกำลังประสบปัญหากับการเข้าสู่ “สังคมสูงวัย” และจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ประมาณปี 2574 ภายในปี 2584 ทุกประเทศในอาเซียน จะเข้าสู่สังคมสูงวัยทั้งอาเซียน แล้วถ้าทั้งอาเซียนมีแต่ผู้สูงวัย การแข่งขันกันในเรื่องของ ธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม สวัสดิการ จะดำเนินไปได้อย่างไร ถ้าเราไม่เกิดการเตรียมความพร้อม ปัจจุบันพบปัญหาสูงวัย และคนอายุยืนเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าอายุยืนแล้วสุขภาพไม่ดีก็เป็นภาระของประเทศ อีก 3 ปี ประเทศไทยจะเป็น 1 ใน 5 ของคนอายุ 60 ปี พอถึงปี 2574 จะมีประชากรอายุ 60 ปี มากกว่า 1 ใน 3 ของคนไทย นำมาสู่การประสบปัญหาผู้สูงวัยที่รวดเร็วมากเนื่องมาจาก รุ่นก่อนหน้านี้มีบุตรกันเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย เฉลี่ยการมีบุตร ต่อคน 7-8 คนหรือมากกว่านั้น จึงนำไปเติมเต็มกลุ่มคนสูงวัยในยุคนี้ ซึ่งเราเรียกว่า “สึนามิประชากร”   

3     

ดังนั้น การที่ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ที่มีคุณภาพได้นั้น จะต้องไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ Non-Communicable Diseases (NCDs) ประชากรของประเทศควรได้รับการเตรียมตัวตั้งแต่ก่อนสูงวัย (Pre-senior) หรือตั้งแต่อายุ 45 ขึ้นไป ให้มีความพร้อมตั้งแต่ด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ แต่จากการสำรวจข้อมูลด้านสุขภาพของประชากรก่อนสูงอายุ ของกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานครในช่วงปลายปีที่ผ่านมา พบว่ายังมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรค NCDs เพราะร้อยละ 86 ชอบเนื้อติดมันและเครื่องใน ร้อยละ 51 ติดเครื่องดื่มรสหวาน ในขณะที่ร้อยละ 74 ขาดความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 52 ขาดความรู้เรื่องโรคหัวใจ และมีร้อยละ 30 ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว เป็นต้น จากข้อมูลเหล่านี้ทำให้ตระหนักได้ว่าความรู้เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ทุกคนเป็นผู้สูงวัยที่มีคุณภาพ จึงออกแบบโครงการให้เป็น Knowledge-based project สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักที่อายุระหว่าง 45-59 ปี

ส่งเสริมสุขภาพ ให้ความรู้          

นางสุภาพร มหาพลตระกูล ผู้จัดการโครงการไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข จากสถาบันคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า สำหรับสถาบันคีนันแห่งเอเชีย เราได้เล็งเห็นถึงความสำคัญถึงกลุ่มเป้าหมายหลักของเรา ได้แก่กลุ่มคนในช่วงอายุ 45-49 ปี เป็นกลุ่มที่เราจะให้ความรู้ ในเรื่องของ กายฟิต จิตดี มีออม เราให้ความรู้แก่ Change Agents ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง ในด้านของการดำเนินโครงการของเรา 1 ปีที่ผ่าน ซึ่งจะมีความต่อเนื่องถึง 3 ปี ด้วยกัน และปีนี้เป็นปีที่ 2 ในปีที่ 1 เราได้ดำเนินโครงการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (เขตคลองเตยและบางขุนเทียน) เราเริ่มต้นโดยการมีคณะทำงานในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เราได้ทำการคัดเลือกกลุ่มคนในช่วงอายุ 45-49 ปี ซึ่งคนเหล่านี้มีคุณสมบัติ นอกจากเรื่องของอายุแล้วยัง เป็นกลุ่มคนที่ตั้งใจทำงานสามารถที่จะส่งผ่านความรู้ ประสบการณ์ เข้าไปสู่คนในชุมชนได้ ในด้านของการทำงานเราเน้นในการจัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพ ให้ความรู้ในเรื่องของการใช้ชีวิตและผลของการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของเขาที่จะเป็นในเชิงบวกเพื่อที่จะสามารถดูแลตนเองได้ 

9             

ดังนั้นในปีที่ 2 เราได้เห็นถึงการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และจำนวนประชากร ในทุกช่วงวัยรวมถึงวัยก่อนเกษียณ ในพื้นที่การจัดกิจกรรม อบรมเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข ที่ จ.อุบลราชธานี (อำเภอเมืองและอำเภอวารินชำราบ)  เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่มีความสำคัญ โดยมีกลุ่ม Change Agents ซึ่งเป็นกลุ่มจิตอาสาเข้าร่วมอบรมกว่า 120 คน อาทิ บุคลากรด้านสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) และบุคลากรด้านการศึกษาที่มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานพัฒนาชุมชน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชุมชน และมีอิทธิพลทางความคิดต่อชุมชน ผู้เข้าอบรมทั้งหมดได้เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสุขภาพองค์รวมและสุขภาพทางการเงิน เพื่อสร้างเสริมทัศนคติและปรับพฤติกรรมสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความพร้อมที่จะสูงวัยอย่างอยู่ดีมีสุข โดยคาดหวังให้เกิดการส่งผ่านความรู้ความเข้าใจดังกล่าวไปสู่ชุมชนของตน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมคนไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างอย่างมีคุณภาพ กิจกรรมในครั้งนี้ มีนักวิชาการและนักปฏิบัติการด้านสุขภาพระดับประเทศในแต่ละสาขา มาร่วมถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มจิตอาสาจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี, เทศบาลนครอุบลราชธานี, โรงพยาบาลสาธารณสุขตำบลเพียเภ้า, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวารินชำราบ, โรงพยาบาลวารินชำราบ และโรงเรียนปทุมพิทยาคม เป็นต้น

8

เตรียมรับมือ สู่สังคมสูงวัย

นางเกษร ประชุมแดง นักวิชาการชำนาญการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ บ้านทัพไทย ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อายุ 50 ปี ผู้มาร่วมอบรมในโครงการ กล่าวว่า เป็นหนึ่งในผู้มาเข้าร่วมอบรมโครงการ เพราะสอดคล้องกับสายอาชีพที่ได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ บ้านทัพไทย ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ที่อยู่ในความดูแลและรับผิดชอบทั้ง 3 หมู่บ้าน มาเข้าร่วมโครงการจากการชักชวนจากเพื่อน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่ายินดีและสมัครใจที่จะเข้าร่วมโครงการนี้หรือไม่ อีกหนึ่งเหตุผลหนึ่งก็คือ คิดว่าตัวเองในตอนนี้กำลังที่จะก้าวไปสู่วัยผู้สูงอายุในไม่กี่ปีข้างหน้าแล้ว จึงอยากมาเข้าร่วมโครงการและอบรมเพื่อที่จะเตรียมความพร้อมก่อนสูงวัย    

5           

นางสาวพิมพร อุทภู อาชีพรับราชการ นักวิชาการ สำนักงานสาธารณะสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี อายุ 40 ปี ผู้มาร่วมอบรมในโครง กล่าวว่า เข้ามาร่วมโครงการได้จากการชักชวนของคนรู้จัก อีกทั้งทำงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุโดยเฉพาะอยู่แล้ว ทำให้การมาร่วมเข้าอบรมในครั้งนี้ได้เกิดความรู้ใหม่ในเรื่องที่ยังไม่เคยรับรู้มาก่อน และสามารถนำไปต่อยอดความรู้เดิมได้ สิ่งที่ได้รับรู้คือ การจัดวางสิ่งของในบ้าน การดูแลสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ที่มีความละเอียดอ่อนที่เรามองข้ามไป 

7              

4

การเตรียมความของก่อนสูงวัย สิ่งที่สำคัญคือการตั้งสติ หาแล้วทางการเตรียมพร้อมในทุกด้าน เช่น การเงิน สุขภาพ ที่อยู่อาศัย คนที่เข้าใจเราในช่วงสูงวัย ทั้งนี้สิ่งที่กลัวที่สุด ก็คือ ภาวะถดถอย เพราะกลัวที่จะควบคุมตนเองได้ยาก