ส่ง ‘คู่มือเผือก’ ถึงมือ ‘อาคม’ ป้องกันภัยทางเพศบนขนส่งสาธารณะ

ส่ง ‘คู่มือเผือก’ ถึงมือ ‘อาคม’ ป้องกันภัยทางเพศบนขนส่งสาธารณะ

ส่ง "คู่มือเผือก" ถึงมือ "อาคม" ป้องกันและแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะ พร้อมทวงถามแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหา

เมื่อวันที่ 14 มี.ค.61 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังรับคู่มือต้นแบบการอบรมพนักงานขนส่งสาธารณะ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศ และตุ๊กตาเปเปอร์เมเช่ "พลังเผือก" สัญลักษณ์ของผู้ที่ถูกคุกคามทางเพศบนรถสาธารณะ หรือ “คู่มือเผือก” จากกลุ่มภาคีเครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง ภาคีเครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง (Safe Cities for Women) ว่า

ตนไม่นิ่งนอนใจเรื่องการคุกคามบนรถโดยสารสาธารณะ ถือเป็นอันตรายทั้งทรัพย์สิน และบุคคล ซึ่งการร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ถือเป็นเรื่องทีดีและอยากให้ ทำต่อไป และเพิ่มการประชาสัมพันธ์ถึงแนวทางการป้องกันตัวเอง อย่างไรก็ตามจะสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ทุกส่วนเพราะเกี่ยวข้องกับการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ ร่วมมือ และเข้มงวดเรื่องความปลอดภัยในการใช้และให้บริการเพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศ

น.ส. รุ่งทิพย์ อิ่มรุ่งเรือง ผู้จัดการฝ่ายโครงการและนโยบาย องค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย กล่าวว่า สิ่งที่อยากเห็นมากที่สุด คือ นโยบายที่ชัดเจนในเรื่องของการป้องกันหรือไม่ให้เกิดการคุกคามทางเพสบนรถสาธารณะทั้งหมด ภายใต้การกำกับของกระทรวงคมนาคม ซึ่งเรื่องนี้จะทำได้ ภาครัฐจะต้องมีมาตรการหลายๆอย่างออกมา โดยที่ผ่านมาเครือข่ายฯได้เสนอให้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพราะอย่างน้อยจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะมอนิเตอร์ ตรวจสอบว่ามีการคุกคามทางเพศเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะมีกรณีที่เหยื่อไปแจ้งเจ้าหน้าที่ซึ่งเจ้าหน้าที่บอกว่าไม่สามารถทำอะไรได้ เนื่องจากไม่มีพยานหลักฐาน

สำหรับ "คู่มือเผือก: รู้ เข้าใจ ช่วยเหลือได้ เมื่อเกิดภัยคุกคามทางเพศ" มีเนื้อหาที่น่าสนใจ โดยระบุว่า ผู้ตอบแบบสำรวจทุกเพศยอมรับว่าเคยถูกคุกคามทางเพศขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะถึง 35% โดยในจำนวนนี้เป็นเพศหญิง 45% ซึ่งพฤติกรรมการคุกคามทางเพศที่พบบ่อย 5 อันดับแรก คือ อันดับ 1.ลวนลามด้วยสายตา 18.8 %, อันดับ 2. แต๊ะอั๋ง ถูกเนื้อต้องตัว ลูบคลำ 15.4 %, อันดับ 3. ผิวปากแซว 13.9 %, อันดับ 4. พูดแซว พูดแทะโลม พูดเกี้ยวพาราสี 13.1 % และอันดับ 5. พูดลามก เรื่องเพศ หรือ ด่าทอด้วยถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องเพศ 11.7 %

ประเภทของการขนส่งสาธารณะที่เกิดเหตุการณ์คุกคามทางเพศบ่อยที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ รถโดยสารประจำทาง 50 %, รองลงมาคือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง 11.4 %, รถแท็กซี่ 10.9 %, รถตู้ 9.8 %และรถไฟฟ้า 9.6%

ส่วนแนวทางการจัดการสถานการณ์การคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะนั้น หากพนักงานให้บริการพบเห็นสิ่งผิดปกติ เช่น ผู้โดยสารมีสีหน้าอึดอัด ไม่พอใจ หรือ แสดงท่าทีว่าต้องการความช่วยเหลือ พนักงานควรมีวิธีจัดการกับสถานการณ์นั้น ๆ ทั้งอาจส่งเสียงเตือน ในลักษณะที่ไม่ระบุเจาะจงตัวผู้กระทำการคุกคามและเพื่อเตือนให้ผู้ถูกคุกคามระมัดระวังตัว หากยังไม่หยุดพฤติกรรม พนักงานควรแจ้งให้พนักงานขับรถหยุดรถ และเชิญผู้โดยสารกลุ่มนี้ลงจากรถ

39887248185_65ba268b54_b