Daily Strategy (13 มี.ค.61)

Daily Strategy (13 มี.ค.61)

คาด Sideways

กลยุทธ์การลงทุนวันนี้: จากการปรับตัวแรงเมื่อวานนี้ คาดว่าวันนี้ทิศทางตลาดหุ้นไทยจะเป็นการ Sideways โดยยังไม่มีปัจจัยหนุนการขึ้นหรือลงต่ออย่างชัดเจน คาดการณ์กรอบดัชนี 1,790-1,810 จุด Selective Buy หุ้นพื้นฐานดี ซึ่งเรายังชอบกลุ่มของพลังงาน-ปิโตรเคมี แม้ราคาน้ำมันอ่อนตัวลง ยังเป็นโอกาสซื้อและถือลงทุนใน PTT, PTTGC, IVL, BGRIM, CPALL, CPF และหาจังหวะเข้าซื้อ IRPC สำหรับการลงทุนระยะปานกลาง ส่วน BANPU เมื่อจบเรื่องคดีความโครงการหงสาแล้ว บริษัทคาดว่ารับรู้ค่าใช้จ่ายในการชดเชยในไตรมาส 1/61 นี้เลยทำให้กำไรไตรมาส 1/61 ออกมาอ่อนแอ แต่เป็น One-Time Expense ซึ่งถือว่ามีผลกระทบกับ Fundamental Value น้อยมาก เพียง 0.50 บาท หาโอกาสในการเข้าซื้อในช่วงราคาหุ้นต่ำกว่า 21 บาท ช่วงนี้ราคาถ่านหินเริ่มอ่อนตัวลงต่ำกว่า 100 เหรียญฯ ต่อตัน คาดว่าราคาหุ้น BANPU อาจจะยังไม่แข็งแกร่ง แนะนำเก็งกำไรเป็นรอบไปก่อน หุ้นเด่นวันนี้เลือก CPF, IVL, BEM

 

หุ้นเด่นวันนี้: CPF (ปิด 24.20 บาท, “ซื้อ” , AWS TP 27.50 บาท )

  • คาดราคาหมูจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาส 2/61 จากการปรับลดจำนวนหมูเลี้ยงซึ่งใช้เวลาประมาณ 6 เดือน – 1 ปี หลังจากเกิดปัญหาอุปทานส่วนเกิน (Oversupply) ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2560 ทำให้เราคาดว่าจำนวนหมูในประเทศเวียดนาม รวมถึงประเทศไทยและกัมพูชาน่าจะปรับลดลงจนใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค ได้ภายในไตรมาส 2/61 ช่วยให้ผลประกอบการ 2561 นี้จะฟื้นตัวดี โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี นอกจากนี้บริษัทมี Upside Risk จากข่าวจีนเตรียมมาตรการตอบโต้การขึ้นภาษีเหล็กและอลูมิเนียมของสหรัฐ ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าถั่วเหลือง ทั้งนี้จีนเป็นผู้นำเข้าถั่วเหลืองรายใหญ่จากสหรัฐประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณส่งออกทั้งหมด ดังนั้นหากจีนตัดสินใจขึ้นภาษีดังกล่าวจะทำให้ราคาถั่วเหลืองในตลาดโลกปรับลงแรง ส่งผลบวกต่อ CPF  ที่ใช้กากถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบทำอาหารเลี้ยงสัตว์ โดยเราคาดบริษัทจะมีกำไรปกติในปี 2561 เท่ากับ 11,866 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 161% YoY
  • Price Pattern ของ CPF แม้ว่าปัจจุบันจะมีความแข็งแกร่งเพียงการเกิด Daily Buy Signal เท่านั้น แต่หาก Price Pattern ของ CPF สามารถปิดตลาดรายสัปดาห์เหนือ 40 บาท ก็จะกลับมาเกิด Weekly Buy Signal ครั้งใหม่ และหาก Price Pattern ของ CPF สามารถปิดตลาดรายเดือนเหนือ 24 บาท ก็จะกลับมาเกิด Monthly Buy Signal ครั้งใหม่ ซึ่งจะทำให้ Price Pattern ของ CPF กลับเข้าสู่แนวโน้มหลักที่เป็นแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) อย่างเต็มตัว เมื่อพิจารณา Price Pattern ของ CPF มีเป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ 26 บาท ทั้งนี้ CPF มีจุด Stop Loss ระยะสั้นอยู่ที่ 22.60 บาท (แนวต้าน: 24.30, 24.50, 24.60; แนวรับ: 24.10, 24.00, 23.80)

 

ปัจจัยในประเทศ:

  • รมว.กระทรวงการพาณิชย์ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ คาดการพูดคุยข้อตกลงทางการค้าเสรีไทย-อียู จะเริ่มต้นได้อีกครั้งในกลางปีนี้ หลังจากที่อียูประกาศรื้อความสัมพันธ์ทางการเมืองกับไทยในปีที่ผ่านมา (บางกอกโพสต์)
  • ความเชื่อมั่นนักลงทุนปรับตัวลงแต่ยังอยู่ในภาวะร้อนแรง สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (Fetco) เผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้ายังคงอยู่ในเกณฑ์ “ร้อนแรง” แต่ลดลงมาอยู่ที่ 09 จากเดือนที่ผ่านมาที่ 156.62 (-8.7% MoM) เนื่องจากนักลงทุนกังวลเรื่องความไม่แน่นอนทางการเมืองและความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับดอกเบี้ยขึ้น 3-4 ครั้งในปีนี้ (อินโฟเควสท์)
  • นักวิเคราะห์ปรับเป้าหมาย SET Index สิ้นปีนี้ 1,871 จุด นายไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA) แถลงผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนต่อทิศทางหุ้นไทยเดือน มี.ค. ว่า นักวิเคราะห์มีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นไทยมากขึ้น และเพิ่มเป้าหมายดัชนีสิ้นปีอีก 10 จุด มาอยู่ที่ 1,871 จุด จากเดือนก่อนอยู่ที่ 1,860 จุด และมองจุดต่ำสุดที่ 1,727 จุด ซึ่งถือว่ามีโอกาสจะลงได้อีกเมื่อเทียบกับเดือน ก.พ. ที่หุ้นไทยปรับลงลึกไปที่ระดับ 1,750 จุด และขึ้นไปสูงสุดที่ 1,910 จุด ไม่แตกต่างจากครั้งก่อน (Posttoday)
  • ICHI(75 บาท; NR; IAA Consensus 9.50บาท) เราคาดว่าธุรกิจของ ICHI ได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดในปี 2560 ไปแล้ว และจะเริ่ม Turnaround ในปี 2561 โดยบริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตของรายได้รวมปี 2561 ไว้ที่ 6,800 ล้านบาท จากปีก่อนที่ 5,688 ล้านบาท แยกเป็นยอดขายในประเทศ 73% หรือราว 5,000 ล้านบาท จากประมาณ 4,200 ล้านบาท ในปี 2560 ยอดขายต่างประเทศอีก 23% หรือราว 1,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1,500 ล้านบาทในปี 2560 คาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นของสินค้าในประเทศจะดีขึ้นจากการผลิตสินค้าใหม่ “ชิวชิว” ทั้งหมด ซึ่งเป็นสินค้าที่ออกใหม่ในช่วงไตรมาส 4/60 อีกทั้งคาดว่าจะมีการปรับเปลี่ยนสูตรเครื่องดื่ม เพื่อเน้นเป็นสินค้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น นอกจากนี้คาดว่าการปันส่วนขาดทุนในอินโดนีเซียจะลดลงจาก 144 ล้านบาท เหลือเพียง 100 ล้านบาท จากการจัดจำหน่ายสินค้าใหม่ที่ได้รับการตอบรับดีคือ Thai Milk Tea และเพิ่ม Distributors ในการกระจายสินค้าอีกว่า 20 ราย เพื่อให้ทั่วถึงทั้งประเทศ โดยช่วงนี้กำลังทำโปรโมชั่นที่เข้มข้นในการแจกรางวัล เพื่อกระตุ้นยอดขายในประเทศให้เติบโต แนะนำเก็งกำไร
  • WICE (7.20 บาท; NR; IAA consensus 6.25 บาท) WICEเตรียมควักกระเป๋า 300 ล้านบาท ปิดดีลซื้อกิจการเพิ่มอีก 1 แห่งภายในปีนี้ หวังต่อยอดให้บริการโลจิสติกส์ครอบคลุมทั่วเอเซีย โดยว่างเป้ารายได้ปีนี้เพิ่มขึ้นจากเดิม 30%(Thunhoon)

 

ตลาดต่างประเทศ:

  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ:ปิดปรับตัวลง -0.62% เนื่องจากหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมร่วงลงอย่างหนัก หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐฯ ได้ลงนามในคำสั่งเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม ขณะที่ดัชนี Nasdaq ยังคงปิดในแดนบวก+36% โดยได้ปัจจัยหนุนจากการที่นักลงทุนยังคงขานรับตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐฯ
  • ตลาดหุ้นลอนดอน: ปิดลบ เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากตลาดพุ่งขึ้นติดต่อกัน 5 วันทำการก่อนหน้านี้ ขณะที่หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลง เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมของยุโรปยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับมาตรการเรียกเก็บภาษีเหล็กและอลูมิเนียมของสหรัฐฯ

สินค้าโภคภัณฑ์:

  • ราคาน้ำมันดิบ:ปิดลบWTI ลดลง 68 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 61.36 ดอลลาร์/บาร์เรล; เบรนท์ ลดลง 54 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 64.95 ดอลลาร์/บาร์เรล จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ ขณะที่สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) คาดการณ์ว่า การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกในเดือนเม.ย.
  • ราคาทองคำ:ปิดลบ 2 ดอลลาร์ หรือ 0.24% ปิดที่ 1320.80 ดอลลาร์/ออนซ์หลังจากมีสัญญาบ่งชี้ว่า ความตึงเครียดทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศเริ่มคลี่คลายลง นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่ทางการสหรัฐฯ จะเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อในวันนี้ เพื่อจับสัญญาณทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
  • ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ:อ่อนค่า DXYO อยู่ที่873 จุด หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่า ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญเพื่อหาสัญญาณเงินเฟ้อนั้น ขยายตัวน้อยกว่าการคาดการณ์ นักลงทุนจับตาการประชุมเฟด 21 มี.ค.นี้