สร้าง 'อุดรธานี' เป็นพื้นที่ต้นแบบ ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย..สู่การตายดี

สร้าง 'อุดรธานี' เป็นพื้นที่ต้นแบบ ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย..สู่การตายดี

สานพลังเครือข่ายแพทย์ พยาบาล นักกฎหมาย สร้าง "อุดรธานี" เป็นพื้นที่ต้นแบบ ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย...สู่การตายดี

ทีมดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองของโรงพยาบาลอุดรธานีกว่า 20 คน นั่งล้อมวงหารืออย่างเคร่งเครียดร่วมกับครอบครัวผู้ป่วย เพื่อวางแผนดูแล “อ้อม” คนไข้รายใหม่ที่เข้ารับการรักษา โรคมะเร็งเต้านม ขณะตั้งครรภ์ได้ 7 เดือน เธอปฏิเสธการรักษาด้วยเคมีบำบัดเพราะเกรงผลกับลูกน้อยในครรภ์ แต่ยอมรับการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติอย่างการประคบสมุนไพรและนวดเพื่อผ่อนคลาย 

สร้าง \'อุดรธานี\' เป็นพื้นที่ต้นแบบ ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย..สู่การตายดี

ในช่วง 1 เดือนก่อนถึงกำหนดผ่าคลอด แผลบริเวณเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น สร้างความเจ็บปวดพร้อมๆ กับอาการเหนื่อยหอบรุนแรง เพราะเนื้อร้ายแพร่กระจายไปยังปอด อ้อมแข็งใจต่อสู้กับความเจ็บปวด จนกระทั่งครรภ์มีอายุครบ ๘ เดือน ลูกสาวตัวน้อยก็ลืมตาดูโลกอย่างปลอดภัย

อ้อมมีโอกาสได้ “เกี่ยวก้อย” นิ้วมือน้อยๆ เป็นดั่งสัญญาให้ลูกอยู่บนโลกใบนี้ต่อไปอย่างเข้มแข็ง...แม้ไม่มีเธออยู่ด้วยก็ตาม

สร้าง \'อุดรธานี\' เป็นพื้นที่ต้นแบบ ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย..สู่การตายดี

 “ขออยู่ต่ออีกสักเดือน” อ้อมบอกทีมดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองของโรงพยาบาลอุดรธานี และยอมเข้าสู่การรักษาด้วยเคมีบำบัดหลังจากนั้น เพื่อยืดเวลาอันแสนสั้น ดูแลลูกน้อยก่อนต้องจากโลกนี้ไป

 แม้จะให้นมลูกไม่ได้ แต่เธอเฝ้าดูในยามหลับและตื่น มีเวลาอัดคลิปวิดีโอพูดคุยกับลูก เขียนจดหมายถึงทุกๆ วัน เป็นบทบันทึกให้รู้ว่า “แม่รักลูกเพียงใด” อ้อมยังอัดคลิปขอบคุณทีมดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง โรงพยาบาลอุดรธานี และเชิญชวนให้ผู้ป่วยใช้เวลาที่เหลืออันน้อยนิดกลับมาอยู่บ้านกับครอบครัวที่รักเราและเรารัก มากกว่าใส่ท่อช่วยหายใจจนวินาทีสุดท้ายอย่างโดดเดี่ยว ก่อนที่อ้อมจะจากโลกนี้ไปอย่างสงบเมื่อเดือนกันยายน 2558 โดยมีลูกสาววัย 1 เดือน 10 วัน กำลังหลับตาพริ้มนอนเคียงข้าง

สร้าง \'อุดรธานี\' เป็นพื้นที่ต้นแบบ ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย..สู่การตายดี

เรื่องราวของแม่ผู้เข้มแข็งถูกเล่าผ่าน “พี่ยอม” พวงพยอม จุลพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลอุดรธานี ครั้งแล้วครั้งเล่าในเวทีเสวนาต่างๆ เพื่อรณรงค์การ “ตายอย่างสงบ” และสอนน้องๆ พยาบาลทั้งในโรงพยาบาลอุดรธานี และโรงพยาบาลอื่นๆ เพื่อให้เห็นความจำเป็นและเข้าใจการดูแลแบบประคับประคอง รวมถึงเห็นความหมายของ “การตายดี”


สร้าง \'อุดรธานี\' เป็นพื้นที่ต้นแบบ ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย..สู่การตายดี

ปัจจุบัน มีทีมดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองโรงพยาบาลอุดรธานี เพิ่มขึ้นเป็น 30 คน ได้รับการยอมรับจากแพทย์แผนกต่างๆ มีการจัดตั้ง Pain clinic และ Palliative care clinic สร้างระบบรองรับและกระบวนการเยี่ยมคนไข้ระยะสุดท้าย ขณะที่โรงพยาบาลอื่นๆ ในพื้นที่เขต ๘  ครอบคลุม ๗ จังหวัดในภาคอีสาน ต่างมาเรียนรู้งานจากที่นี่และรับประสานส่งต่อคนไข้

สร้าง \'อุดรธานี\' เป็นพื้นที่ต้นแบบ ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย..สู่การตายดี

พี่ยอม บอกว่า งานของเธอยังไม่จบ เพราะคนไข้ระยะท้ายในปี 2560 จำนวน 720 รายรออยู่ แม้จะเพิ่มขึ้นมากจากปี 2554 ที่มีเพียง 54 คน แต่เชื่อว่ายังมีคนไข้ที่ตกหล่น ไม่ถูกนำมาเข้าระบบการดูแลแบบประคับประคองเพื่อไปสู่ภาวะ “ตายดี” อีกมาก

สร้าง \'อุดรธานี\' เป็นพื้นที่ต้นแบบ ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย..สู่การตายดี

ด้าน พญ.ปิยฉัตร วรรณาสุนทรไชย แพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลอุดรธานี ในฐานะประธานทีมดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง เขตบริการสุขภาพที่ 8 เห็นด้วยกับการยกระดับขับเคลื่อนแนวทาง “ตายดี” โดยกล่าวว่า การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ไม่ได้หมายถึงมิติทางจิตใจอย่างเดียว แต่ยังรวมการลดความเจ็บปวดทางร่างกาย เช่นการเข้าถึง “มอร์ฟีน” และทำให้จากไปอย่างสงบด้วย ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ระดับนโยบาย ทางทีมงานฯ จึงร่วมกันไปพบผู้บริหารของโรงพยาบาลอุดรธานีให้เห็นประโยชน์ตรงนี้ และยอมจ่ายยามอร์ฟีนออกนอกโรงพยาบาลเพื่อระงับปวดที่บ้าน สิ่งสำคัญคือช่วยลดภาระให้กับคนไข้ที่อยู่ห่างไกลและยากจน ไม่มีค่ารถมาโรงพยาบาลได้บ่อยครั้งอีกด้วย

สร้าง \'อุดรธานี\' เป็นพื้นที่ต้นแบบ ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย..สู่การตายดี

“ยอมรับว่าแพทย์อีกหลายคนไม่เข้าใจเรื่องนี้ เพราะไม่มีการเรียนการสอนเรื่องการดูแลประคับประคองผู้ป่วยระยะท้าย ซึ่งต้องอาศัยศาสตร์ที่หลากหลาย รวมถึงการสื่อสารกับคนไข้ หากปรับกระบวนการเรียนการสอนใหม่และใส่เรื่องนี้เข้าไปด้วย จะทำให้การตายดีและระบบการรักษาแบบประคับประคองเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน”

ในเวทีงานสัมมนาวิชาการ “การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและสิทธิการตายดีตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ” ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับคณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลอุดรธานี และสำนักงานอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายจังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงพยาบาลอุดรธานี โดยมีแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุขในพื้นที่เขต 8 ทั้ง 7 จังหวัด รวมถึงนักสังคมสงเคราะห์ นักกฎหมาย และบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมเข้าร่วมกว่า 250 คน มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พร้อมหลักการดูแลประคับประคองผู้ป่วยระยะท้ายอย่างละเอียดเพื่อปลดล็อกความกังวลต่อความขัดแย้งในประเด็นของกฏหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ

สร้าง \'อุดรธานี\' เป็นพื้นที่ต้นแบบ ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย..สู่การตายดี

ดร.น้ำแท้ มีบุญสล้าง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย จังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า การทำตามความต้องการของผู้ป่วยที่เขียนหนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้าว่าไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือ Living Will ไว้ จะทำให้แพทย์หรือพยาบาลหลุดพ้นจากความรับผิดทั้งปวง ในทางกลับกันหากมีหนังสือแสดงเจตนาฯ นี้ แต่แพทย์ พยาบาลไม่ทำตามเจตนาของผู้เขียนกลับจะเป็นปัญหามากกว่า เพราะเท่ากับเป็นการยัดเยียดความทรมานให้ผู้ป่วยจากการรักษาด้วยเครื่องไม้เครื่องมือในช่วงระยะสุดท้ายของชีวิต อันถือเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์   

สร้าง \'อุดรธานี\' เป็นพื้นที่ต้นแบบ ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย..สู่การตายดี

.แสวง บุญเฉลิมวิภาส ผู้อำนวยการศูนย์ธรรมศาสตร์ธรรมรักษ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้รณรงค์เรื่องการตายดี และ Living Will มาอย่างต่อเนื่อง ได้ใช้เวทีเสวนาครั้งนี้อธิบายปัญหาค้างคาใจของแพทย์ พยาบาล และนักกฎหมาย ซึ่งเป็นอุปสรรคที่ทำให้ Living Will ไม่ขับเคลื่อนไปข้างหน้า

“แพทย์ถูกสอนให้ต้องรักษาจรรยาบรรณถึงที่สุด ขณะที่การทำ Living Will แสดงเจตนาขอตายตามธรรมชาติ ก็ไม่ได้แปลว่าแพทย์ต้องหยุดรักษา เพราะการดูแลแบบประคับประคองยังคงมีอยู่ ดังนั้น Living Will จะเกิดและใช้ได้ผลจริง แพทย์พยาบาลต้องให้เวลากับพูดคุยทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ผู้ป่วยยังสามารถตัดสินใจเองได้ รวมถึงการพูดคุยกับญาติเพื่อยินยอมให้หมอทำตามเจตนานั้น”


สร้าง \'อุดรธานี\' เป็นพื้นที่ต้นแบบ ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย..สู่การตายดี

ด้าน นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ย้ำว่า มาตรา 12 ภายใต้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ระบุถึงสิทธิของบุคคลในการทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้า กรณีไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนเอง ซึ่งมาตรานี้ถูกเขียนขึ้นเพื่อปรับสมดุลในการรักษาผู้ป่วยให้เดินตาม “ทางสายกลาง” และตรงกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมทั้งช่วยลดภาวะการล้มละลายของผู้ป่วยจากการรักษาในวาระสุดท้าย และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อการจากไปอย่างมีความสุขอีกด้วย

สร้าง \'อุดรธานี\' เป็นพื้นที่ต้นแบบ ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย..สู่การตายดี

“เทคโนโลยีทางการแพทย์มีข้อดีที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในการรักษาโรค แต่การใช้เทคโนโลยีสู้กับโรคโดยไม่มีขีดจำกัด จนลืมคิดไปว่าสู้แล้วแพ้หรือชนะ และชนะแบบไหน คนป่วยมีคุณภาพชีวิตอย่างไรในช่วงสุดท้ายของชีวิต รวมถึงจะจัดการอย่างไรกับภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากจากการรักษาในช่วงสั้นๆ นี้”

นพ.พลเดช ยอมรับว่า แนวทางการตายดีและการที่จะทำให้คนไทยเห็นความสำคัญของการทำ Living Will เป็นเรื่องท้าทาย แต่ สช. จะต้องเดินหน้ารณรงค์ ทำความเข้าใจกับประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ของสังคม เพื่อการเดินทางไปสู่วาระสุดท้ายอย่างมีคุณภาพและตายอย่างมีศักดิ์ศรี ตลอดจนการทำความเข้าใจต่อมุมมองเรื่อง “การดูแลแบบประคับประคอง” ให้ตรงกันต่อไป