กรมอุตุฯ ประกาศเตือนพายุฤดูร้อน ฉบับที่ 15

กรมอุตุฯ ประกาศเตือนพายุฤดูร้อน ฉบับที่ 15

"กรมอุตุนิยมวิทยา" ประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศฉบับที่ 15 ย้ำ!! ภาคเหนือ อีสาน กลาง และตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบถึงวันที่ 9 มีนาคม 2561)"
ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 08 มีนาคม 2561 ในช่วงวันที่ 8-9 มีนาคม 2561 ประเทศไทยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยจะมีผลกระทบดังนี้

วันที่ 8 มีนาคม 2561

ภาคเหนือ: จังหวัดอุตรดิตถ์ กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา และชลบุรี
ภาคกลาง: จังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

วันที่ 9 มีนาคม 2561

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศไทยยังคงมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงกับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

DXwjpiOV4AAq4C3