บทเรียนค่าโง่! 'คลองด่าน' ไม่ใช่คดีแรก หลังศาลสั่งถอนจ่าย9พันล้าน

บทเรียนค่าโง่! 'คลองด่าน' ไม่ใช่คดีแรก หลังศาลสั่งถอนจ่าย9พันล้าน

เปิดข้อมูล..บทเรียนค่าโง่! "คลองด่าน" ไม่ใช่คดีแรก.. หลังคดีกล่าวศาลปกครองสั่งถอนจ่าย9พันล้าน ชี้อนุญาโตตุลาการแค่ขั้นตอนไกล่เกลี่ย

กรมควบคุมมลพิษ ชนะยกแรก "คดีคลองด่าน" เมื่อวานนี้(6มี.ค.) ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการต่อข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 50/2546 หมายเลขแดงที่ 2/2544 ลงวันที่ 12 ม.ค. 2554

ในการดำเนินการตามคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุดให้กรมควบคุมมลพิษชำระเงินจำนวน 4,983,342,383 บาท กับอีก 31,035,780 ดอลลาร์สหรัฐพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินจำนวน4,424,099,982 บาท และจำนวน 26,434,636 ดอลลาร์สหรัฐ ตามสัญญาโครงการออกแบบรวมก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการให้กับ6บริษัท ตามคำร้องขอของบริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด พร้อมพวกรวม 6 คน

บทเรียนค่าโง่! 'คลองด่าน' ไม่ใช่คดีแรก หลังศาลสั่งถอนจ่าย9พันล้าน

โดยคดีดังกล่าวกรมควบคุมมลพิษซึ่งเป็นผู้คัดค้านและกระทรวงการคลัง ได้ร้องขอให้พิจารณาพิพากษาคดีใหม่โดยอ้างว่ามีคำพิพากษาในคดีอาญาซึ่งเป็นคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คำพิพากษาของศาลแขวงดุสิต และคำพิพากษาของศาลอาญา อันแสดงให้เห็นว่าการดำเนินโครงการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีการร่วมกันวางแผนและมีการเอื้อประโยชน์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐในฐานะผู้แทนฝ่ายผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง

ซึ่งศาลปกครองกลางวินิจฉัยว่า กระทรวงการคลังไม่ใช่คู่สัญญาและไม่ได้รับผลกระทบจากผลแห่งคำพิพากษาโดยตรง จึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ แต่กรมควบคุมมลพิษเป็นผู้คัดค้านมีสิทธิขอพิจารณาคดีใหม่ ศาลจึงได้วินิจฉัยสรุปได้ดังนี้

1. บริษัท นอร์ทเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้นำโครงการของกิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี ได้กล่าวอ้างคุณสมบัติด้านการเงินของ บริษัท นอร์ทเวสต์ วอเตอร์ กรุ๊ป จำกัดโดยไม่มีหลักฐานใด ๆ ว่าบริษัทดังกล่าวจะเข้ามาร่วมรับผิดชอบในโครงการ อีกทั้งยังส่วนรับผิดชอบการลงทุนเฉพาะงานเดินระบบและซ่อมบำรุง ซึ่งมีมูลค่าของงานประมาณ 10 %ของราคาโครงการ การกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษที่ไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่กิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี ผู้รับจ้าง

บทเรียนค่าโง่! 'คลองด่าน' ไม่ใช่คดีแรก หลังศาลสั่งถอนจ่าย9พันล้าน

2. เจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษ ผู้คัดค้าน ได้มีประกาศท้องที่ที่จะขายที่ดินสำหรับใช้ในโครงการซึ่งห่างไปจากที่บริษัทที่ปรึกษาได้ทำการศึกษาไว้กว่า 20 กิโลเมตร ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาโครงการที่เพิ่มสูงขึ้น โดยบริษัทคลองด่านมารีน แอนด์ ฟิชเชอรี่ จำกัด เป็นผู้เสนอขายที่ดินในบริเวณดังกล่าว อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทดังกล่าว ซึ่งมีความสัมพันธ์ในเชิงบริหารและเชิงทุนกับบริษัทหนึ่งในกิจการร่วมค้า

3. เจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษ ผู้คัดค้าน ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนดการประกวดราคา (TOR) ทำให้ที่ดินของกลุ่มบริษัทมารูเบนี่ คอเปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาอีกรายหนึ่งขาดคุณสมบัติ จึงเหลือที่ดินของบริษัท คลองด่านมารีน แอนด์ ฟิชเชอรี่ จำกัด ซึ่งเป็นที่ดินซึ่งอยู่ในความควบคุมของกิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี เพียงรายเดียว ทำให้กลุ่มบริษัทอีกรายหนึ่งไม่มีที่ดินที่จะใช้ดำเนินโครงการและขอถอนตัว

4. สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจร่างสัญญาและกำหนดให้กิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี และบริษัทนอร์ทเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด รับผิดร่วมกันแต่เจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความเป็นให้กิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี รับผิดร่วมกัน โดยตัดข้อความที่ให้บริษัท นอร์ทเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ต้องรับผิดร่วมกันออก และในการลงนามในสัญญาได้ให้บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ลงนามแทน

ต่อมาบริษัทแม่ของบริษัทนอร์ทเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้แจ้งขอถอนหนังสือมอบอำนาจเดิมต่อเจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษแล้ว แต่ไม่มีการตรวจสอบโดยอ้างว่าเป็นปัญหาภายในที่ไม่เกี่ยวกับกรมควบคุมมลพิษ อันเป็นการช่วยเหลือกิจการร่วมค้า หลังจากนั้นได้มีการยินยอมให้บริษัท สมุทรปราการ ออพเปอร์เรทติ่ง จำกัด ผู้ร้องที่ 6 ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์เข้ามาเป็นคู่สัญญาแทนบริษัทนอร์ทเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

ชี้เอกชนรับประโยชน์-ไม่ผูกพันคพ.
การกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการขัดต่อระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรีและกฎหมาย ทั้งในขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม การจัดหาที่ดินการประกวดราคา และมีการแก้ไขข้อความในร่างสัญญาที่ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานอัยการสูงสุดในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย โดยผู้ที่จะรับประโยชน์คือบริษัท คลองด่านมารีน แอนด์ ฟิชเชอรี่ จำกัด และกิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี สัญญาโครงการออกแบบรวมก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพันกรมควบคุมมลพิษผู้คัดค้าน คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการที่ชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระเงินจึงมีเหตุให้เพิกถอนได้ เนื่องจากการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน

เปิดช่องคู่ความอุทธรณ์ภายใน30วัน
นายประวิตร บุญเทียม โฆษกศาลปกครอง กล่าวว่า คำพิพากษาที่ออกมายังไม่ถือว่าสิ้นสุด โดยขั้นตอนหลังจากนี้คู่ความคือกลุ่มเอกชน ยังสามารถยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุดได้อีกภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษา ในส่วนของคพ.ยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาเดิมของศาลปกครองสูงสุดที่เคยสั่งไว้

บทเรียนค่าโง่! 'คลองด่าน' ไม่ใช่คดีแรก หลังศาลสั่งถอนจ่าย9พันล้าน

โดยจะต้องยื่นคำร้ององค์คณะคดีเดิมว่า ขณะนี้ปรากฏข้อเท็จจริงใหม่ตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางที่สั่งเพิกถอนคำวินิจฉัยคณะอนุญาโตฯ เพื่อให้องค์คณะคดีเดิมวินิจฉัยว่า จะงดการบังคับคดีต่อไปหรือไม่ โดยศาลมีอำนาจวินิจฉัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ป.วิ แพ่ง) มาตรา 289 ขณะเดียวกันกลุ่มเอกชน คู่ความ ก็สามารถยื่นโต้แย้งสิทธิได้ ซึ่งศาลก็จะนำมาพิจารณาประกอบกัน แต่หากไม่มีการอุทธรณ์คำพิพากษานี้ ก็จะถือว่าถึงที่สุด คือให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอนุญาโตฯ ที่คพ.หน่วยงานรัฐ ไม่ต้องชำระเงินใดๆ

อนุญาโตตุลาการแค่ขั้นตอนไกล่เกลี่ย
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีนี้ว่า การตัดสินของศาลปกครองที่มีลักษณะกลับคำพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ เพราะกระบวนการอนุญาโตตุลาการของประเทศไทยเป็นเพียงการระงับเหตุเบื้องต้น ซึ่งคู่กรณีสามารถนำคดีความเข้าสู่กระบวนการในชั้นศาลได้หากคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการยังไม่เป็นที่พอใจ
ส่วนที่มาการมองว่าการเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนนั้นขึ้นอยู่กับคำอธิบายของศาลว่าคำวินิจฉัยนั้นมีเหตุผลรับฟังไว้อย่างไรเพราะกระบวนการอนุญาโตตุลาการเป็นกระบวนการไกล่เกลี่ย ประนีประนอม เพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายที่เป็นคู่ความให้ได้รับความพึงพอใจ เพื่อไม่ให้มีคดีความในกระบวนการศาลมากเกินจำเป็น
ซึ่งมีหลายประเทศที่ยังเปิดโอกาสให้คู่กรณีที่ยังเห็นว่า คำตัดสินของอนุญาโตตุลาการยังไม่เป็นที่พอใจก็ยังสามารถดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลต่อไปได้

บทเรียนค่าโง่! 'คลองด่าน' ไม่ใช่คดีแรก หลังศาลสั่งถอนจ่าย9พันล้าน

เหตุระงับจ่ายโง่คลองด่าน คดีนี้ดำเนินมากว่า 20 ปี
จากกรณีที่ ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ที่ให้กรมควบคุมมลพิษ ชดใช้ค่าเสียหายในโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จำนวนกว่า 9 พันล้านบาท ให้กับ 6 บริษัทร่วมค้า NVPSKG หลังจากที่กรมควบคุมมลพิษและกระทรวงการคลัง ร้องขอให้พิจารณาพิพากษาคดีใหม่

โดยอ้างคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คำพิพากษาของศาลแขวงดุสิต และคำพิพากษาของศาลอาญา อันแสดงให้เห็นว่าการดำเนินโครงการของกลุ่มกิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งคดีนี้ดำเนินมากว่า 20 ปี ผ่านการพิจารณาคดีในชั้นศาลหลายกระบวนการ

ปฐมบท เริ่มจากโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ที่ดำเนินการโดยกรมควบคุมมลพิษ สมัย ปกิต กิระวานิช เป็นอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ได้จ้างบริษัทกิจการร่วมค้า NVPSKG ดำเนินโครงการออกแบบรวมก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดสมุทรปราการ ตามสัญญาจ้างเลขที่ 75/2540 ลงวันที่ 20 ส.ค.2540 มูลค่าโครงการ 2.2 หมื่นล้านบาท

แต่หลังตั้งคณะกรรมการตรวจสอบโครงการเมื่อปี 2546 ซึ่งได้มีการตรวจสอบและสรุปรายงานว่า ขณะทำสัญญา ไม่มีบริษัท NWWI เป็นส่วนหนึ่งของกิจการร่วมค้า เพราะถอนตัวออกไปก่อนหน้านั้นแล้ว และทางราชการสำคัญผิดว่าคู่สัญญามีบริษัทผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านร่วมอยู่ด้วย จึงได้ยกเลิกสัญญากับบริษัทดังกล่าว

ต่อมา (28 ก.พ. 2546) อภิชัย ชวเจริญพันธ์ รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหนังสือยกเลิกโครงการอ้างว่า สัญญาเป็นโมฆะทำให้กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ เพื่อชี้ขาดข้อพิพาท ซึ่งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้กลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ชนะคดี โดยให้กรมควบคุมมลพิษจ่ายเงินกว่า 9 พันล้านบาทให้กับกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ และต่อมาทางกลุ่มกิจการร่วมค้าได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาเมื่อ 21 พ.ย.2557 ให้กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ชำระเงินค่าจ้างและค่าเสียหายเป็นจำนวน 9,058,906,853.61 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5 %ต่อปี ให้กับกลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG ซึ่งเป็นกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างรวม 6 บริษัท ที่ยื่นฟ้องกรมควบคุมมลพิษ

โดยคำพิพากษาดังกล่าวยืนตามคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น ที่ให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเมื่อ 12 ม.ค. 2554 ที่ให้กรมควบคุมมลพิษ ชำระเงิน ค่าจ้าง ค่าเสียหาย รวมดอกเบี้ยให้กับ กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG 6 บริษัท เป็นเงินกว่า 9 พันล้านบาท กระทั่งคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีมติอนุมัติงบกลางเพื่อชำระเงินให้แก่ กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด เมื่อ17 พ.ย.2558

การชำระแบ่งเป็น 3 งวด ประกอบด้วย งวดที่ 1 จำนวน 40% ภายใน 21 พ.ย.2558 เป็นเงินจำนวน 3,174,581,566 บาท เป็นเงินเหรียญสหรัฐ 21, 717,855 เหรียญ,งวดที่ 2 ชำระ 30% ภายใน 21 พ.ค. 2559 เป็นเงินบาท 2,380,936,174 บาท เป็นเงินเหรียญสหรัฐ 16,288,391 เหรียญ, งวดที่ 3 จำนวน 30% ภายใน 21 พ.ย. 2559 เป็นเงิน 2,380,936,174 บาท เป็นเงินเหรียญสหรัฐจำนวน 16,288,391 เหรียญ ทั้งนี้เงินเหรียญสหรัฐให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย 7 วัน ก่อนวันที่ทำการชำระ

กระทั่งวานนี้(6มี.ค.)ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการที่ให้กรมควบคุมมลพิษ ชดใช้ค่าเสียหายในโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จำนวนกว่า 9 พันล้านบาท ให้กับ 6 บริษัทร่วมค้าNVPSKG ทั้งๆที่คดีนี้ดำเนินมากว่า 20 ปี ผ่านการพิจารณาคดีในชั้นศาลหลายกระบวนการ

บทเรียนค่าโง่! 'คลองด่าน' ไม่ใช่คดีแรก หลังศาลสั่งถอนจ่าย9พันล้าน

บทเรียนค่าโง่
ก่อนหน้านี้มีบทเรียนค่าโง่คดีการทางพิเศษ เมื่อปี 2538 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ว่าจ้างกิจการ ร่วมค้าบีบีซีดี และบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ก่อสร้างโครงการทางด่วนสายบางนา - บางพลี – บางปะกง วงเงินตามสัญญา 25,192,950,000 บาท โดยได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ และ กทพ.ได้ชำระค่าก่อสร้างตามสัญญาแล้ว แต่ต่อมาปี 2543 กิจการร่วมค้าบีบีซีดี โจทก์ และ บมจ. ช.การช่างได้ให้ กทพ. ชำระเงินค่าคงที่ที่เพิ่มขึ้นจากสัญญาอีกจำนวน 6,039,893,254 บาท แต่ กทพ.ปฏิเสธ

เอกชนทั้ง 2 ราย จึงยื่นข้อเรียกร้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย ต่อมาวันที่ 20 ก.ย.44 อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดให้ กทพ.ชำระเงินจำนวนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ย 7.5%ต่อปี ซึ่ง กทพ.ได้ปฏิเสธคำชี้ขาดดังกล่าว ทำให้เอกชนทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เมื่อ 1 พ.ค.2545 ให้พิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จนชนะคดีและบังคับให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของ อนุญาตโตตุลาการ แต่พนักงานอัยการ ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ดังกล่าวต่อศาลฎีกาตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วต่อมาศาลฎีกา จึงมีคำพิพากษาที่ 7277/2549 ให้ กทพ.ชนะคดี ไม่ต้องจ่ายเงินค่าคงที่ที่เพิ่มขึ้นจากสัญญาอีกจำนวน 6,039,893,254 บาทให้กับโจทก์

แต่พนักงานอัยการ ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ดังกล่าว ต่อศาลฎีกาตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วต่อมาศาลฎีกา จึงมีคำพิพากษาที่ 7277/2549 ให้ กทพ.ชนะคดี ไม่ต้องจ่ายเงินค่าคงที่ที่เพิ่มขึ้นจากสัญญาอีกจำนวน 6,039,893,254 บาทให้กับโจทก์ โดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างทางด่วนนั้น เกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพัน กทพ. หากบังคับคดีให้ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตฯนั้น ย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย ของประชาชน

โดยหลังจาก กิจการร่วมค้าบีบีซีดี แพ้คดีดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 11 ก.พ.51 กิจการร่วมค้าบีบีซีดี ก็ได้ยื่นฟ้อง กทพ. เป็นคดีใหม่ต่อศาลแพ่งในคดีหมายเลขดำที่ 72/2551 ในมูลคดีลาภมิควรได้ทุนทรัพย์ 9,683,686,389.76 บาท โดยศาลแพ่งที่เป็นศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 ก.ย.54 ให้ กทพ.แพ้คดี ให้ชำระเงินจำนวน 5,000 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 15 ก.พ.50 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้แก่กิจการร่วมค้าบีบีซีดี โจทก์ และให้ กทพ.ชำระค่าฤชาธรรมเนียมพร้อมค่าทนาย แทนกิจการร่วมค้าบีบีซีดี โจทก์อีกด้วยจำนวน 300,000 บาท

ซึ่งพนักงานอัยการสำนักงานคดีแพ่ง ก็ได้ยื่นอุทธรณ์ให้กับ กทพ. คัดค้านคำพิพากษาศาลแพ่งดังกล่าว และต่อมาในวันที่ 27 ธ.ค.56 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษากลับยกฟ้อง โดยกิจการร่วมค้าบีบีซีดี โจทก์ ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว กระทั่งเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.มีการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่ยืนตามศาลอุทธรณ์โดยให้ยกฟ้องคดี