Daily Strategy (6 มี.ค.61)

Daily Strategy (6 มี.ค.61)

คาดหุ้นไทยขึ้นกับปัจจัยพิเศษเฉพาะตัว

กลยุทธ์การลงทุนวันนี้: วันนี้ มีการอ่านคำตัดสินศาลฎีกาคดีหงสาของ BANPU และ BPP เวลา 9.00 น.PTT ขึ้นเครื่องหมาย XD จ่ายปันผล 12 บาท หากปรับตัวลงเท่ากับเงินปันผลที่จ่ายจะมีผลกระทบให้หุ้นลบ 3.4 จุด อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นต่างประเทศจะช่วยหนุนให้หุ้นไทยไม่ติดลบต่อมากนัก คาดการณ์กรอบการเคลื่อนไหวในวันนี้ 1,802-1,820 จุด มีแนวโน้มรีบาวด์ นักลงทุนต่างชาติยังคงเทขายหุ้นไทยและมีสถานะขายสุทธิในตลาดอนุพันธ์ เรายังแนะนำให้ลงทุนในหุ้นหลักในกลุ่มพลังงานและค้าปลีกขนาดใหญ่ไว้ก่อน ได้แก่ PTT, PTTGC, IRPC, CPALL คาดว่าพา SET ผ่านไปถึง 1,850 จุด ณ สิ้นไตรมาสนี้ได้ เราคาดว่า PTT จะเป็นหุ้นหลักที่พาดัชนีขึ้นต่อไปได้ในปีนี้ เนื่องจาก Outlook สดใสขึ้นมาอย่างมาก (เรามีบทวิเคราะห์ PTT ออกไปเมื่อวานนี้) ส่วนหุ้นเล็กเข้าซื้อเก็งกำไรสั้น ๆ เลือก TTCL แนะนำเก็งกำไร รอขายแถว 8.00 – 9.00 บาทเล่นรอบเนื่องจากปรับตัวลงมากเกินไป

หุ้นเด่นวันนี้: BCP (ปิด 40.25 บาท; ซื้อ; AWS TP 46.00 บาท)

  • BCP ประกาศผลประกอบการปี 2560 มีกำไรสุทธิ 5,778 ล้านบาท EPS 4.20 บาท เพิ่มขึ้น 21%YoY ซึ่งมี EBITDA รวมมากถึง 13,663 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20%YoY มีที่มาจากธุรกิจ Refinery: Marketing: BCPG: Bio Base Product: Natural Resources เท่ากับ 56%:17%:23%:4%:2% ตามลำดับ ธุรกิจดาวรุ่งในปี 2560 คือ Refinery กับ BCPG ซึ่ง contributeEBITDA มากถึง 7,600 ล้านบาท และ 3,088 ล้านบาทตามลำดับ แต่ในปี 2561 คาดว่าธุรกิจ Refinery อาจจะอ่อนกำลังลง เนื่องจากมี Planned Shutdown 45วัน และปริมาณการกลั่นน้ำมันลดลงจาก 111,000 บาร์เรลต่อวัน เหลือ 100,000-102,000 บาร์เรลต่อวัน แต่คาดว่าจะถูกชดเชยด้วยธุรกิจ Marketing และ Bio Base Product ที่ฟื้นตัวจากภาวะที่อ่อนแอในปี 2560 เรายังคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2561 ที่ราว 5,800 ล้านบาท หรือ EPS 4.20 บาท ทรงตัวจากปีก่อน และให้ราคาเป้าหมายที่ 46 บาท อิงค่า PER 11 เท่าแนะนำซื้อ
  • Price Pattern ของ BCP ยังมีแนวโน้มหลักอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จากการเกิดทั้ง Daily & Monthly Buy Signal รอเพียงการกลับมาเกิด Weekly Buy Signal ครั้งใหม่ เมื่อสามารถปิดตลาดรายสัปดาห์ได้เหนือ 75 บาทเป็นอย่างน้อย และมีเป้าหมายสำคัญถัดไปอยู่ที่ 45.75 บาท ทั้งนี้ BCP มีจุด Stop Loss ระยะสั้นอยู่ที่ 39.50 บาท(Resistance: 40.50, 40.75, 41.25; Support: 40.00, 39.50, 39.25)

 

ปัจจัยในประเทศ:

  • SCB (ราคาปิด 50 บาท; ซื้อ; AWS TP: 167 บาท) กำลังเจรจากับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่รายหนึ่งในสหรัฐ หวังช่วยหนุนธุรกิจออนไลน์แบงก์กิ้งของธนาคาร การเจรจานี้คาดว่าจะได้ข้อสรุปในช่วงกลางปี 2561(บางกอกโพสต์) ความเห็น: การเจรจาดังกล่าวเป็นไปตามกลยุทธ์ Transformation ส่วนหนึ่งของ SCB ที่จะมองหาพาร์ตเนอร์มากขึ้นทั้งในและต่างประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของธนาคารและสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วท่ามกลางสภาวะอุตสาหกรรมธนาคารที่เปลี่ยนไป
  • ADVANC (ปิด 50 บาท; BUY; AWS TP 219.00 บาท)ADVANC ลงทุน 787 ล้านบาทผ่านบริษัท แอดวานซ์ mPAY เพื่อเข้าถือหุ้น 33.3% ของบริษัท Rabbit Line Pay ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการชำระเงินเพื่อสร้างแรงผลักดันให้ผู้คนใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ความเห็น: การลงทุนครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือให้กับลูกค้าของเอไอเอสเนื่องจากแพลตฟอร์มของ Line มีประโยชน์กับทุกฝ่ายเพราะคนส่วนใหญ่ใช้งานและมีแอพพลิเคชั่นอยู่ในโทรศัพท์อยู่แล้ว

 

ตลาดต่างประเทศ:

  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ: ดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้นกว่า 300 จุด เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกเกี่ยวกับสงครามการค้า หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งสัญญาณว่า สหรัฐฯ อาจยกเลิกการเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากการดีดตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน กลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่มธนาคาร หลังจาก ปธน.ทรัมป์ส่งสัญญาณผ่านการทวีตข้อความเมื่อวานนี้ว่า สหรัฐอาจยกเลิกการเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม อย่างน้อยที่สุดสำหรับแคนาดาและเม็กซิโก หากมีการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ที่เป็นธรรม

 

สินค้าโภคภัณฑ์:

  • ราคาน้ำมันดิบ: ปิดพุ่งขึ้นกว่า 2% โดย WTI พุ่งขึ้น 32 ดอลลาร์ หรือ 2.2% ปิดที่ 62.57 ดอลลาร์/บาร์เรล; เบรนท์ เพิ่มขึ้น 1.17 ดอลลาร์ หรือ 1.8% ปิดที่ 65.54 ดอลลาร์/บาร์เรล ขานรับรายงานคาดการณ์ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ซึ่งระบุว่า ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องจนถึงปี 2566 นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับปัจจัยหนุนจากข่าวการปิดแหล่งน้ำมัน เอล ฟีล ในประเทศลิเบีย IEA คาดการณ์ว่า ในช่วง 5 ปีข้างหน้า สหรัฐจะหลุดจากรายชื่อประเทศผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยจีนและอินเดียจะครองตำแหน่งดังกล่าว ขณะที่การนำเข้าน้ำมันในเอเชียจะเพิ่มขึ้น 3.5 ล้านบาร์เรล/วันจนถึงปี 2566 โดยตะวันออกกลางจะยังคงเป็นซัพพลายเออร์น้ำมันรายใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชีย แต่จากการที่จีนได้เพิ่มการกลั่นน้ำมัน ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้สหรัฐส่งออกน้ำมันดิบมากขึ้นเช่นกัน