เมื่อ 'บุพเพสันนิวาส' ฟื้น Reference Books

เมื่อ 'บุพเพสันนิวาส' ฟื้น Reference Books

ออเจ้าฟีเวอร์!! "บุพเพสันนิวาส" ละครปังฟื้น Reference Books

ละคร “บุพเพสันนิวาส” นวนิยายของรอมแพง หนังสือดีเด่นเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ปี 2553 ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เขียนบทโทรทัศน์โดย ศัลยา กำกับการแสดงโดย ภวัต พนังคศิริ กลายเป็นกระแสทำให้แฟนละครไปตามหา บุคคลสำคัญในราชสำนักประวัติศาสตร์สยาม จนทำให้ Reference Books หรือหนังสือเสริมความรู้ หลายเล่มถูกแนะนำให้นักอ่านไปตามหาตัวละครประวัติศาสตร์สมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่มีอยู่จริง เช่น หมื่นสุนทรเทวา ภายหลังได้อวยยศเป็น ขุนศรีวิสารวาจา ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญทางการทูตและได้ร่วมอยู่ในคณะทูตที่ไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับฝรั่งเศส เมื่อปีพ.ศ. 2229 โดยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระราชวังแวร์ซายส์

เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)เป็นนักผจญภัยชาวกรีก ผู้กลายมาเป็นสมุหนายกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาเมื่อพ.ศ. 2218 นอกจากนี้ยังมี เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)หัวหน้าคณะราชทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศสจนประสบผลสำเร็จของออกญาโกษาธิบดี (ปาน) ทำให้ไทยรอดพ้นจากการคุกคามของฮอลันดา

เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) แม่ทัพ ในราชการสงคราม หลายครั้งในต้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ท้าวทองกีบม้ามีชื่อตัวว่า มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา(Maria Guyomar de Pinha) ว่ากันว่านางได้ประดิษฐ์ขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารโปรตุเกส อาทิ ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ทองม้วน และหม้อแกงจนได้สมญาว่าเป็น “ราชินีแห่งขนมไทย”

ออกญาโหราธิบดี ผู้นิพนธ์หนังสือ “จินดามณี” ในปี พ.ศ.2215 ซึ่งถือเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่อง การใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ การแจกลูก การผันอักษร อักษรศัพท์ อักษรเลข การสะกดการันต์ ฯลฯต่อมามีหนังสือแบบเรียนไทยใช้ชื่อจินดามณีฉบับความแปลก จินดามณีครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท และศรีปราชญ์กวีเอกคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย เป็นบุตรของพระโหราธิบดี เข้ารับราชการตั้งแต่อายุ 9 ขวบ กวีเอกของพระนารายณ์มหาราชผลงานชิ้นสำคัญ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์

การตื่นตัวหา“Reference Books”มาอ่านเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้เกิดการค้นคว้าสืบค้น โดยเฉพาะหากเกิดกับเด็กรุ่นใหม่ๆแล้วจะช่วยให้พวกเขามีองค์ความรู้สอดคล้องในทางเดียวกันกับการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA) ของประเทศสมาชิกองค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจโดย OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ที่เพิ่มวิชาสมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก (Global Competence) โดยจะวัดความสามารถในการมองประเด็นสังคม โลก และระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมถึงการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณเข้ามาในปีนี้

คิม จงสถิตย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด อธิบายว่าจะเป็นการดีถ้าโรงเรียนควรสนับสนุนให้นักเรียนอ่าน

“Reference Books” ในแพลตฟอร์มต่างๆที่มีใน Big Data ซึ่งจะช่วยปฏิวัติการเรียนรู้ของเด็กไทย โดยยึดหลักการเรียนรู้แบบ Personalised Learning ตอบโจทย์สะท้อนการเรียนรู้ที่หลากหลาย สำนักพิมพ์ต่างๆน่าจะมีการรวบรวมหนังสือเกี่ยวกับหมวดต่างๆที่เกี่ยวข้องกันไว้เป็นคู่มือครูที่สอนวิชาต่างๆได้รู้ว่าจะต้องใช้หนังสือประกอบอย่างไรในบทเรียนที่ต้องสอนตามเนื้อหาสาระต่างๆที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด จะช่วยในการวัดผลด้าน Global Competence ในการมองประเด็นสังคม โลก และระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมถึงการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณเข้ามาในปีนี้ด้วย

ศราวุธ สุตะวงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กล่าวว่าการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลนี้ ต้องสร้างวัฒนธรรมการอ่านทั้งในและนอกโรงเรียน ปลูกพลังในตัวเด็ก สร้าง หล่อหลอมตัวตน และมีทักษะที่หลากหลาย ให้ครูผู้สอนนำหนังสือ

“Reference Books”ไปใช้ประกอบการสอนมุ่งสู่การเป็น Thinking School การจัดการศึกษาแนวใหม่เพื่อรับมือกับโลกยุคใหม่ ยุคสมัยที่มีความซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องที่ผู้บริหารโรงเรียนต้องคิดอยู่ตลอดเวลา

โรงเรียนแห่งนี้ไม่มีหนังสือเรียนมา 10 ปีแล้วเราใช้ “Reference Books”มีไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นเล่ม จัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งใช้ไอที ใช้ครูตู้ ครูสอนจริง เน้นเกิดการเรียนรู้ตามแต่ละหลักสูตร เช่น English Program EP ห้องเรียนพิเศษเตรียมแพทย์ - วิศวะ.,ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ,ห้องเรียนพิเศษเน้นภาษาอังกฤษ ,ห้องเรียนพิเศษเน้นภาษาจีน ,ห้องเรียนผู้นำแห่งการพัฒนา ,E-Sport โปรแกรมห้องเรียนกีฬา ,ห้องเรียนทั่วไป ,ห้องเรียนเตรียมคุรุทายาท,ห้องเรียนความเป็นเลิศด้านดนตรี ศิลปะและการแสดง,ธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ (รูปแบบทวิภาคี) ,ห้องเรียนพิเศษเตรียมความพร้อมสู่สี่เหล่าทีพ ,ห้องเรียนพาณิชย์นาวี

"นักเรียนทุกคนมีความเก่งอยู่ในตัวเองไม่เหมือนกัน ครูต้องจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างเพื่อดึงความสามารถ เด็กที่ต้องการเป็นนักกีฬาทีมชาติ จะเรียนแปดโมงครึ่งเลิกสี่โมงคงเป็นไปได้ไม่ได้ ต้องซ้อมก่อนถึงจะกลับบ้านได้หรือเรียนน้อยแต่ซ้อมเยอะ ขณะที่เด็กห้องเรียนพิเศษเตรียมแพทย์ - วิศวะ ก็ต้องจัดการเรียนสอนอีกอย่างเด็ก 3 พันคนครู200กว่าคนต้องมีแบบแผนการสอนที่ได้มาตรฐานและผลสัมฤทธิ์อยู่ที่ตัวเด็กเน้นวัดผลที่การประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA)เป็นหลัก และนักเรียนที่จบม.6 แล้วได้ที่เรียนต่อ100 %ตั้งแต่รอบแรกที่สัมภาษณ์ เพราะเด็กที่นี่จะตอบคำถามไม่เหมือนเด็กที่อื่น ทำให้เป็นตัวเลือกที่ได้เรียนต่ออันดับต้นๆ" ผู้อำนวยการโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กล่าว
ศราวุธ อธิบายว่าการจัดการเรียนการสอนแบบ Thinking School “ครูสอนคิด” การปฏิรูปการศึกษาเริ่มที่“ห้องเรียน”ครูต้องอยู่กับนักเรียน ไม่ควรทิ้งนักเรียนไว้ในห้องเรียน ซึ่งต้องหาภารกิจ(Mission)ให้กับครูในการจัดการสอนเรียนสอน โดยสอนให้นักเรียน รู้จัก 4 องค์ประกอบคือ 1).ทำไมต้อง“สอนคิด” 2).เครื่องมือการสอนคิด (Thinking Tools) 10 เครื่องมือ และ Creative Thinking & Critical Thinking3).แผนการสอน Thinking (หน้าเดียว) ตลอดถึงการวัดและประเมิน 4).การจัดการชั้นเรียน 4 ขั้นตอน (Do Now/Purpose/ Work Mode/ Reflective) เรียนสนุก บรรลุผล การเรียนมีประสิทธิภาพ

"เราใช้การจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทั้งใช้เครือข่าย ซื้อโปรแกรมการสอน พัฒนาโปรแกรมการสอนด้วยตนเอง ซึ่งต่างประเทศที่มีผลประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA) ที่สูงๆเช่นฟินแลนด์ เขาก็ทำอย่างนี่มานานแล้ว และทุกวันนี้มีโรงเรียนต่างๆมาฝังตัวดูการเรียนการสอนที่โรงเรียนจำนวนมากไม่ต่ำว่า 500-600 โรงเรียนแล้วเพื่อนำไปขยายผลทั่วประเทศ ผมเชื่อว่าเป็นทางรอดของการศึกษาไทย ครูต้องอยู่กับนักเรียนและต้องปรับการเรียนการสอนใหม่ให้ทันกับโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนไป" ผู้อำนวยการโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กล่าวทิ้งท้าย