Daily Strategy (2 มี.ค.61)

Daily Strategy (2 มี.ค.61)

ปรับตัวลงเป็นโอกาสซื้อ

กลยุทธ์การลงทุนวันนี้: คาดว่าวันนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงตามตลาดหุ้นต่างประเทศ กรอบดัชนี 1,815-1,840 จุด โดยสหรัฐฯ เกิดความกังวลเรื่องใหม่ หลังจาก ปธน.สหรัฐฯ ประกาศว่าสหรัฐฯ จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กในอัตรา 25% และอลูมิเนียม 10% ในสัปดาห์หน้า ซึ่งมาตรการดังกล่าวของทรัมป์จะกลับมาสร้างความเสียหายต่อผู้ผลิตของสหรัฐฯ เอง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ และความวิตกกังวลว่านโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ อาจก่อให้เกิดสงครามการค้า  ส่วนตลาดหุ้นไทย จากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวลง 3 วันทำการ เราคาดว่ากดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน-ปิโตรเคมีในช่วงสั้น เราเห็นเป็นโอกาสในการเข้าซื้อหุ้น PTT, PTTGC ซึ่งมีปัจจัยบวกหนุนทั้งการจ่ายเงินปันผล PTT จะรับรู้กำไรของ IRPC เพิ่มขึ้น ขณะที่ PTTGC มีสเปรดเอทิลีนที่ดีหนุนผลประกอบการไตรมาส 1/61 นอกจากนี้ แนะนำซื้อ CBG ซึ่งราคาทรุดตัวลงไปหนักเนื่องจากผิดหวังผลประกอบการไตรมาส 4/60 และผิดหวังยอดขายในประเทศจีนต่ำกว่าเป้าหมายปี 2560 มาก แต่หลังจากผู้บริหารออกมาให้วิสัยทัศน์การรุกต่างประเทศ คาดว่าปี 2561 จะเห็นการ Turnaround ของผลประกอบการ หุ้นเด่นเดือน มี.ค.61 เราเลือก PTTGC, PTT, TTA, TMB เป็น Top Pick

หุ้นเด่นวันนี้: CBG (ปิด 66.00 บาท; ซื้อ; AWS TP 89.00 บาท)

  • CBG วางโรดแมพขยายฐานธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังทั่วโลก มุ่งเจาะตลาดอังกฤษ-ยุโรป-จีน และอาเซียน ภายใต้วิสัยทัศน์ “สินค้าระดับโลก แบรนด์ระดับโลก” (World Class Products, World Class Brand) การทำตลาดประเทศอังกฤษเป็นปีที่ 2 แม้มีโอกาสขาดทุนในส่วนธุรกิจนี้มากกว่าเดิมเนื่องจากจ่ายค่าสปอนเซอร์กีฬาฟุตบอลไปจำนวนมาก แต่ยอดขายยังไม่สูงมากเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม เริ่มมีหลายประเทศในภาคพื้นยุโรป สนใจเป็นตัวแทนนำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชูกำลัง ”คาราบาว” เข้าไปจัดจำหน่าย เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทมีการออกผลิตภัณฑ์รสชาติใหม่เพิ่ม คือ Mandarin Orange ซึ่งเริ่มได้รับความนิยม นอกจากนี้ CEO จะเป็นผู้เข้าไปบุกตลาดจีนให้ประสบความสำเร็จด้วยตัวเอง ซึ่งการขายในตลาดจีน CBG รับรู้เป็นรายได้การขาย OEM ไม่ต้องรับผิดชอบค่าการตลาด ยิ่งขายมาก CBG ยิ่งได้ผลประโยชน์มาก เราจึงมองว่าแผนการตลาดในปีนี้มีความท้าทาย และสถานการณ์จะเริ่มดีกว่าปีที่แล้วซึ่งเป็นการบุกตลาดต่างประเทศหนัก ๆ เป็นปีแรก นอกจากนี้เราหวังผลว่า CBG จะประสบความสำเร็จในต่างประเทศได้ดีในปี 2562 ด้วย จึงแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 89 บาท (อิงค่า DCF)
  • Price Pattern ของ CBG แม้ว่ายังมีแนวโน้มหลักอยู่ในแนวโน้มขาลง (Downtrend) จากการเกิดทั้ง Weekly & Monthly Sell Signal แต่ Price Pattern ของ CBG ระยะสั้นนั้นได้กลับมาเกิด Daily Buy Signal ครั้งใหม่แล้ว โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 70.50 บาท และมีเป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ 77.25 บาท ตามลำดับ ทั้งนี้ CBG มีจุด Stop Loss ระยะสั้นอยู่ที่ 61 บาท (Resistance: 67.75, 69.75, 72.75; Support: 65.00, 63.00, 60.00)

ปัจจัยในประเทศ:

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. แตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนที่ 65 เพิ่มขึ้น 3.44% YoY สอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ 70.19% โดยสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวนำโดยรถยนต์ หนุนโดยการออกรถรุ่นใหม่ของค่ายรถยนต์ต่างๆ รวมถึงการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า (ไทยโพสต์)
  • ประธานาธิบดีทรัมป์ เตรียมพิจารณาขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กในสัปดาห์หน้า โดยสหรัฐจะขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กในอัตรา 25% และภาษีนำเข้าอลูมิเนียมในอัตรา 10%  (CNBC) ความเห็น: หากสหรัฐฯ ตัดสินขึ้นภาษีนำเข้าดังกล่าวอาจส่งผลลบต่อราคาเหล็กในตลาดโลกและมีความเสี่ยงที่ผู้ผลิตเหล็กจีนจะหันมาขายเหล็กในภูมิภาคเอเชียรวมถึงไทยมากขึ้น รวมทั้งก่อให้ความกังวลว่าจะเกิดสงคราการค้ามากขึ้น สำหรับผลผลกระทบต่อกลุ่มเหล็กอาจไม่มากเท่าในอดีตเนื่องจากปัจจุบันจีนมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศเพิ่มมากขึ้นจากโครงการ One belt, one road ประกอบกับจีนปรับลดกำลังการเหล็กคุณภาพต่ำไปกว่า 140 ล้านตัน ทำให้ต้นทุนการผลิตเหล็กปรับตัวเพิ่มขึ้นจนสูงกว่าต้นทุนการผลิตเหล็กในไทย จีนมีแนวโน้มส่งออกเหล็กลดลงอยู่แล้วในปัจจุบัน นะนำให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการลงทุนกลุ่มเหล็กชั่วคราว จนกว่าจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับกฎหมายภาษีดังกล่าว. และสามารถประเมินผลกระทบดังกล่าวได้ คาดส่งผลลบต่อผู้ผลิตเหล็ก อย่าง GJS, GSTEL และส่งผลลบจำกัดต่อธุรกิจเหล็กอย่าง TMT ก็ เพราะบริษัทมีนโยบายจัดเก็บสินค้าคงเหลือประมาณ 45-60 วัน แต่คาดว่าจะส่งผลดีต่อกลุ่มผู้ใช้เหล็กอย่างกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง
  • CHOW (ปิด 15 บาท, “ซื้อ”, AWS TP 8.50 บาท) รายงานกำไรสุทธิปี 256 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +627.2% YoY ดีกว่าที่เราคาดไว้ 210 ล้านบาท โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการขายโครงการโรงไฟฟ้าที่ประเทศญี่ปุ่น 2 โครงการ เป็น จำนวน 172 ล้านบาทในเดือนตุลาคมปี 2560 ดีกว่าที่เราคาดไว้ที่ 120 ล้านบาท ล่าสุดผลจากการปรับโครงสร้างทางการเงินและการขยายโรงไฟฟ้าบางส่วนเข้ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ญี่ปุ่นช่วยให้ เงินกู้ระยะสั้นอย่าง O/D ลดลงจาก 5594 ล้านบาท ในปี 2559 เหลือ 730 ล้านบาทในปี 2560 อัตราหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ลดลงจาก8.8 เท่าในปี 2559 เหลือ 7.2 เท่าในปี 2560 ทั้งนี้เรามองว่าบริษัทมีมูลค่าซ่อนเร้น (Hidden Value) อยู่ในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และมี Upside จากนำบริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ CEPL  ซึ่งเป็นบริษัทย่อยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  ช่วยให้บริษัทลดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนลงไปอยู่ในระดับปกติและสามารถขยายธุรกิจพลังงานทดแทนเพื่อสร้างรายได้เติบโตได้ต่อไป เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” ด้วยราคาเป้าหมายที่ 8.50 บาทต่อหุ้น
  • SSP (ปิด 85 บาท, “ซื้อ”, AWS TP 10.70 บาท) รายงานกำไรสุทธิปี 340 ล้านบาท ลดลง -24.3% YoY ต่ำกว่าที่เราคาดไว้ 368 ล้านบาทเล็กน้อย สาเหตุหลักมาจากการรับรู้ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจำนวน 73 ล้านบาท เป็นการบันทึกทางบัญชีที่ไม่ใช่รายการเงินสด เรามองว่าบริษัทมีศักยภาพในการเติบโตจากการเพิ่มสัดส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งในไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในประเทศมองโกเลียที่มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก คงคำแนะนำ “ซื้อ” ด้วยราคาเป้าหมายที่ 10.70 บาทต่อหุ้น
  • QH (ปิด 98 บาท; HOLD; AWS TP 3.00 บาท)QH รายงานกำไรสุทธิในปี 2560 ที่ 3,462 ล้านบาท สูงขึ้น 12% YoY แต่ถ้าตัดรายการพิเศษออกไปแล้วจะอยู่ที่ 2,750 ล้านบาท ลดลง 11% YoY เนื่องจากมีการเปิดตัวโครงการน้อย ส่วน GPM อยู่ระดับต่ำกว่าคาดที่ 29.8% เนื่องจากมีการระบายสต๊อกโครงการเก่าออกเป็นจำนวนมากโดยบริษัทเตรียมเปิดโครงการในปี 2561 ทั้งหมด 15 โครงการมูลค่ารวม 13,000 ล้านบาท โดยจะเป็นโครงการในแนวราบทั้งสิ้นถึงแม้ว่า QH จะมีการปรับกลยุทธหลายอย่างแต่ปีนี้บริษัทต้องเผชิญกับการแข่งขันในโครงการแนวราบที่รุนแรง โดยบริษัทยังไม่มีแผนการที่จะเปิดโครงการคอนโดมิเนียม นอกจากนี้บริษัทยังต้องระบาย Inventory จากโครงการที่เหลืออยู่ด้วย เราแนะนำ “ถือ” โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 3.00 บาท อ้างอิง PER 10 เท่าจากกำไรสุทธิในปี 2561

 

ตลาดต่างประเทศ:

  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ: ดาวโจนส์ปิดร่วงลงกว่า 400 จุด ลดลง 1.68% ดัชนี S&P500 ลดลง 1.33% และดัชนี Nasdaq ลดลง 1.27% หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐฯ ประกาศว่า สหรัฐจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมในสัปดาห์หน้า ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลว่านโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ อาจก่อให้เกิดสงครามการค้า และจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและบริษัทของสหรัฐฯ ส่งผลหุ้นกลุ่มยานยนต์ของสหรัฐฯ ดิ่งลง 3%-4% ขณะที่หุ้นกลุ่มเหล็กปรับขึ้น 3.3% ไปถึง 7.5% แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปีจะปรับตัวลงมาที่ 2.80% แล้วก็ตาม ทั้งนี้ช่วง 2 วันทำการที่ผ่านมาดาวโจนส์ปรับตัวลดลงประมาณ 1,200 จุด

 

สินค้าโภคภัณฑ์:

  • ราคาน้ำมันดิบ: ปรับตัวลดลงติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากถูกกดดันจากสต็อกน้ำมันเพิ่มขึ้น และค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว โดยสต็อกน้ำมันดิบทะยานขึ้น 3 ล้านบาร์เรล ขณะที่สถาบันปิโตรเลียมอเมริกา (API) คาดการณ์ว่าสต็อกน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้นเพียง 933,000 บาร์เรล EIA เปิดเผยในช่วงต้นเดือนนี้ว่า การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐจะพุ่งขึ้นเหนือระดับ 11 ล้านบาร์เรล/วัน ภายในปลายปี 2561 หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่า 10 ล้านบาร์เรล/วันในปี 2560 เป็นครั้งแรกนับจากทศวรรษที่ 1970 ความเห็น: เราคาดว่าทิศทางของราคาน้ำมันยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น แม้จะทรุดตัวลงในช่วงนี้ เรายังแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนหุ้นในกลุ่ม PTT ซึ่งได้แก่ PTT(เป้าหมาย 630 บาท), PTTGC(เป้าหมาย 116 บาท) และ IRPC(เป้าหมาย 50 บาท)
  • ราคาทองคำ: ร่วงลง 12.70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ ปิดที่ 1,305.20 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ ต่ำสุดในรอบสองเดือน จากการแข็งค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯ
  • อุตสาหกรรมเหล็ก: "ทรัมป์" เผยสหรัฐฯ เตรียมเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็ก 25%,อลูมิเนียม 10% สัปดาห์หน้า โดยมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะปกป้อง และพลิกฟื้นอุตสาหกรรมเหล็กของสหรัฐฯแต่ยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดที่ชัดเจนว่า จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมจากประเทศใดบ้าง และจะดำเนินมาตรการดังกล่าวเป็นเวลานานเท่าใดความเห็น: เราคาดว่าระยะสั้น ไม่เป็นปัญหามากนัก เนื่องจากช่วงนี้อุตสาหกรรมเหล็กมีดีมานด์ในเอเชียสูง และไม่สมดุลกับซัพพลาย ทำให้ราคาเหล็กพุ่งสูงเกินไป เรื่องดังกล่าวน่าจะลดความร้อนแรงของราคาเหล็กลงได้บ้าง อย่างไรก็ตาม อาจจะกระทบให้ราคาถ่านหิน และค่าระวางเรืออ่อนตัวลงตามราคาเหล็กได้ด้วย ระยะยาวต้องดูมาตรการดังกล่าวจะกระทบทำให้ซัพพลายเกิดการล้นตลาดขึ้นมาอีกหรือไม่ คาดว่าใช้เวลาเป็นปี ๆ กว่าจะมีผลลบต่ออุตสาหกรรมเหล็ก ถ่านหิน เรือ