Retail Market Monitor (2 มี.ค.61)

Retail Market Monitor (2 มี.ค.61)

จิตวิทยาช่วงสั้น เป็นลบจากความเสี่ยงดอกเบี้ยเฟดและการกีดกันการค้าของสหรัฐ

เรายังคงมองตลาดอยู่ในช่วงการแกว่งตัวปรับฐาน โดยมีจิตวิทยาช่วงสั้นที่เป็นลบมากขึ้นทั้งจากความเสี่ยงที่ตลาดประเมินเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าคาดเป็น 4 ครั้ง (จากเดิมตลาดประเมิน 3 ครั้ง) รวมทั้งการที่สหรัฐฯ เตรียมประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็ก (อัตรา 25%) และอะลูมิเนียม (อัตรา 10%) ในสัปดาห์หน้า ซึ่งเร่งความกังวลต่อเงินเฟ้อจากราคาสินค้าเข้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ในสัปดาห์หน้าสหรัฐฯจะมีการประกาศตัวเลขค่าจ้างแรงงานต่อชั่วโมง (average hourly earnings) ซึ่งอาจส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตร รวมถึงสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงนี้

ภาพรวมหุ้นไทยเรายังคงมองเป็นการแกว่งตัวปรับฐานในกรอบ 1800-1850 จุด หลังคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียนยังไม่พบสัญญาณการปรับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่อัพไซด์ของหุ้นกลุ่มพลังงานเริ่มจำกัดและได้รับจิตวิยาเชิงลบจากราคาน้ำมันที่ชะลอตัว จะกดดันให้เกิดความเสี่ยงต่อการปรับลดน้ำหนักการลงทุนกลุ่มดังกล่าว โดยหุ้นกลุ่มที่อิงกับการบริโภคและเศรษฐกิจภายในประเทศโดย และมี Valuation ที่ถูกกว่ามากอย่างกลุ่มธนาคาร ดูน่าสนใจเพิ่มขึ้น และคาดว่าหุ้นกลุ่มดังกล่าวจะเริ่มทยอยมีบทบาทต่อ SET Index มากขึ้นในช่วงต่อไป

Investment Theme // กลุ่มธนาคาร หุ้นที่เราชอบได้แก่ BBL, KBANK, KTB //การแพทย์ หุ้นพื้นฐานดีที่ Underperform & Under-owned ในช่วงที่ผ่านมา BDMS BCH THG*// หุ้นที่ได้ประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับขึ้น TIP*, THREL* // กลุ่มเดินเรือ ค่าระวางเรือ (BDI) เริ่มขาขึ้นช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. ได้แก่ PSL TTA // กลุ่มพลังงาน top pick 3 อันดับ 1) BANPU, 2) PTTEP และ 3) IRPC, IVL, PTTGC

ภาพรวมกลยุทธ์: แกว่งตัวสร้างฐาน และช่วงสั้นมีโอกาสสลับกลุ่มนำตลาดจากพลังงานสู่ธนาคาร แนะนำเตรียมเงินสดราว 25-30% เพื่อเลือกซื้อรายตัวในจังหวะผันผวน นักลงทุนควรเพิ่มความระมัดระวังและกำหนดจุดตัดขาดทุนทุกครั้ง รวมถึงตั้งจุดขายล็อคกำไร (trailing stop) ในหุ้นที่ถือครอง  // หุ้นแนะนำ BBL, KTB, TTA*

แนวรับ 1814 และ 1807 / แนวต้าน : 1836-40 จุด สัดส่วน : เงินสด 40% : พอร์ตหุ้น 60%

 

ประเด็นการลงทุน

ประธานเฟดชี้ยังไม่มีสัญญาณเงินเฟ้ออย่างเด่นชัด ประธานเฟดกล่าวแถลงการณ์รอบครึ่งปีต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาสหรัฐว่า เขายังไม่พบสัญญาณเงินเฟ้ออย่างชัดเจนที่เกิดจากค่าจ้างในขณะนี้ หลังจากที่คำกล่าวเตือนเงินเฟ้อของเขาในวันอังคารส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯดิ่งลงอย่างหนัก

สหรัฐเผย GDP ขยายตัว 2.5% ใน Q4/60 สอดคล้องคาดการณ์ – กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ที่ระดับ 2.5% ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ แต่ต่ำกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ที่ระดับ 2.6%

รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน ม.ค.61 – ธปท.ระบุ เศรษฐกิจไทยเดือน ม.ค.61 ขยายตัวต่อเนื่องจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวสูงและภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตดี สอดคล้องกับอุปสงค์ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีในทุกหมวดการใช้จ่าย ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวตาม สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐกลับมาขยายตัวจากรายจ่ายลงทุน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงตามราคาพลังงานและอาหารสด

 

ประเด็นติดตาม: 02 มี.ค. – US Beige Book, ตัวเลขการจ้างงาน, 07 มี.ค. EU – GDP ไตรมาส 4/60, 09 มี.ค. US – ตัวเลขค่าจ้างแรงงานต่อชั่วโมง, 21 มี.ค. US – FOMC meeting

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)