‘ทุนลอรีอัล’ปรับรูปแบบรับดิจิทัล

‘ทุนลอรีอัล’ปรับรูปแบบรับดิจิทัล

โครงการทุนนักวิทย์สตรีไทยปีที่ 16 ปรับโครงสร้างใหม่เหลือ 2 สาขาคือ วิทย์กายภาพและวิทย์ชีวภาพ ทั้งเปิดออนไลน์เป็นช่องทางรับพิจารณาไฟล์ผลงาน

โครงการทุนนักวิทย์สตรีไทยปีที่ 16 ปรับโครงสร้างใหม่เหลือ 2 สาขาคือ วิทย์กายภาพและวิทย์ชีวภาพ ทั้งเปิดออนไลน์เป็นช่องทางรับพิจารณาไฟล์ผลงานแทนการส่งเอกสารทางไปรษณีย์

นางสาวอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า โครงการทุนวิจัยลอรีอัลประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยา ศาสตร์” ในปีที่ 16 ได้ปรับกรอบการให้ทุนใหม่เหลือ 2 สาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์กายภาพและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทั้งเปลี่ยนวิธีการรับสมัครและพิจารณาทุนวิจัยมาเป็นช่องทางออนไลน์แทน การส่งเอกสารทางไปรษณีย์ เพื่อให้สอดคล้องแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจและสังคมด้วยดิจิทัล

กรอบการให้ทุนเดิมแบ่งเป็น 3 สาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วัสดุศาสตร์และวิทยาศาสตร์เคมี ส่วนหลักเกณฑ์การพิจารณาและจำนวนทุนยังคงเดิมคือ ไม่เกินปีละ 5 ทุน ทุนละ 2.50 แสนบาท ให้แก่นักวิทยาศาสตร์สตรีอายุระหว่าง 25-40 ปี และงานวิจัยดังกล่าวต้องอยู่ระหว่างการดำเนินการ อย่างไรก็ตาม 15 ปีที่ผ่านมามีนักวิจัยสตรีไทยที่ได้รับทุนจากโครงการนี้รวมทั้งสิ้น 64 คน ผล งานล้วนได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาค เชื่อว่าในอนาคตนักวิจัยไทยสามารถก้าวสู่ระดับโลก

ทั้งนี้ ขอบเขตของทุนสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ประกอบด้วย การศึกษาวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่างๆ ของสิ่งที่ไม่มีชีวิตครอบคลุมถึง วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเคมี วิทยา ศาสตร์และ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์โลก วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วัสดุศาสตร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ศาสตร์นาโน และ วิทยาศาสตร์ดิจิทัล

ส่วนขอบเขตของทุนสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เป็นการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่างๆ ของสิ่งที่มีชีวิตที่ครอบคลุมถึง ชีววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ ชีววิทยาระดับเซลล์และอณู ชีววิทยา วิทยาศาสตร์ทางทะเล วิทยาศาสตร์ทางทะเล ชีวฟิสิกส์ พืชศาสตร์ จุลชีววิทยา วิศวกรรมชีวการแพทย์ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นาโน

ศ.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ คณะกรรมการกิตติมศักดิ์ โครงการทุนวิจัยลอรีอัลฯ กล่าวถึง อะคาเดมีออนไลน์ที่ตั้งขึ้นมาในวาระครบรอบ 20 ปีทุนวิจัยลอรีอัลที่ฝรั่งเศส ว่ามุ่งส่งเสริมทักษะทางด้าน 4 ด้าน หลักในรูปแบบอี-เลินร์นิงคือ การบริหารจัดการ ความเป็นผู้นำ การสื่อสารและแหล่งความรู้ และเครื่องมือการทำงานให้แก่ผู้ที่ได้รับทุน 3,122 คนจาก 117 ประเทศ

"แพลตฟอร์มดังกล่าวตอบโจทย์นักวิจัย ที่โดยทั่วไปจะเก่งด้านวิชาการในเชิงลึกแต่ขาดทักษะทางสังคม ทั้งยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ จากการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ในชุมชนออนไลน์” ศ.ยงยุทธ กล่าว

3 ปีที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการนำผลงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์มากขึ้น ขณะเดียวกันบริษัทขนาดใหญ่ต้องปรับตัวรับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ “นวัตกรรม” ที่เกิดจากงานวิจัยเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่การจะทำให้เกิดนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ได้นั้นต้องทำให้นักวิจัยเกิดความเข้าใจบริบทรอบข้างมากขึ้นเหนือเหนือจากทักษะทางด้านวิชาการ ยังจำเป็น ต้องมีทักษะทางสังคมด้วย จึงเป็นที่มาของโครงการอะคาเดมีออนไลน์ดังกล่าว