สกว.หนุน 'บ.พัฒนาเมือง' วิจัยยกระดับ Smart City

สกว.หนุน 'บ.พัฒนาเมือง' วิจัยยกระดับ Smart City

หน่วย ABC (สกว.) จัดการประชุมใหญ่ โครงการออกแบบย่านที่ฉานฉลาดเพื่อการยกระดับเศรษฐกิจ เพิ่มความสามารถทางเศรษฐกิจและการยกระดับการแข่งขัน โดยการประยุกต์เกณฑ์ Smart Growth  สู่ New Platform และ Smart City 

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 -  ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่ครั้งที่ 1 โครงการออกแบบย่านที่ฉานฉลาดเพื่อการยกระดับเศรษฐกิจ เรื่อง แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทพัฒนาเมือง : New Platform ของไทย เพื่อเพิ่มความสามารถทางเศรษฐกิจและการยกระดับการแข่งขันของประเทศ ณ โรงแรมริชมอนด์ สไตลิส คอนเวนชั่น โดยมี ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบูรณาการวิจัยและร่วมมือเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สกว. (ABC) ผศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบุญธรรม รอง ผอ.หน่วย ABC อาจารย์ฐาปนา บุณยประวิต อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย และ ผู้แทนบริษัทพัฒนาเมือง ร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาเมือง โดยการประยุกต์เกณฑ์ Smart Growth เพื่อการพัฒนา New Platform  

โอกาสนี้ ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวถึงการใช้กระบวนการวิจัย เพื่อการออกแบบย่านที่ฉานฉลาดเพื่อการยกระดับเศรษฐกิจ ว่า ปัจจุบัน สกว.ให้ความสำคัญกับการยกระดับการพัฒนาในทุกมิติ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์ใหม่ของ สกว. โดย ระบุถึง การสนับสนุนการวิจัย เพื่อยกระดับการพัฒนาเมือง รองรับการเปลี่ยนแปลง ที่แสดงให้เห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแสดงถึงแนวโน้มของโลก Global Trend และแนวโน้มการพัฒนาที่มีรูปแบบของแต่ละเมืองที่คล้ายกัน คือ ปรากฏการณ์ความเป็นเมืองใหญ่ มีแนวโน้มการเข้ามาอยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น เกิดปัญหาต่างๆตามมา ยกตัวอย่างที่ทุกท่านประสบในแต่ละเช้า เช่น รถติด ปรากฏการณ์ที่ว่า อาจชี้ให้เห็นรูปแบบการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน  

"ดังนั้น สกว.หวังเป็นอย่างยิ่งว่า องค์ความรู้ หรือ นวัตกรรมที่ได้จากกระบวนการวิจัย จะมีส่วนสำคัญของการยกระดับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพราะความรู้ที่ จะต้องถูกนำไปใช้ประโยชน์ และไม่ใช่แค่ความรู้จากงานวิจัย แต่เป็นการผสมผสารระหว่างความรู้ ประสบการณ์ในการบริหารจัดการของหน่วยงานในพื้นที่ และความรู้กับมุมมองเชิงประจักษ์ด้วยสายตาของนักบริหาร"  

“อย่างไรก็ตาม การจะใช้งานวิจัยเป็น "คานงัด" ให้เกิดการพัฒนานั้น สกว. ได้สนับสนุนการวิจัย ด้วยนวัตกรรมการบริหารจัดการทุนวิจัยใหม่ของ สกว. TRF Flagship Research Program  (TRP) ใน 5 เรื่อง เพื่อสร้าง "นวัตกรรมเชิงความรู้" ประกอบด้วย 1.การจัดทำแผนบูรณาการณ์จังหวัดออกแบบและพัฒนาเมือง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัด ยุทธศาสตร์ของจังหวัด 2.การสร้างนวัตกรรมการเกษตรสู่การเกษตรสมัยใหม่ 3.การร่วมสร้างคุณค่าการท่องเที่ยว 4.การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน และสุดท้าย 5.การพัฒนาเยาวชนสู่พลเมืองคุณภาพสูง ซึ่งทุกเรื่องต่างเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกัน และมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ”ผู้อำนวยการ สกว. กล่าว  

ด้าน อาจารย์ฐาปนา บุณยประวิตร อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย กล่าวถึงการก่อตั้งบริษัทพัฒนาเมือง ว่า เป็นการสร้างรูปแบบการทำงานร่วมกัน ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของแต่ละภาคส่วน มีวัตถุประสงค์เดียวกันในการสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาใหม่ของชาติ New Growth Engines อันประกอบด้วย การเพิ่มขีดความสามารถในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของเมือง เพิ่มขนาดของเศรษฐกิจ และ การจ้างงานอย่างมีเป้าหมายชัดเจน และการลดปัญหาและการสูญเสียที่เป็นผลจากการพัฒนาเมืองไม่เหมาะสม รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมของเมืองที่น่าอยู่  

“ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะเกิดขึ้นได้ อาจจะต้องอาศัยเกณฑ์การเติบโตอย่างฉานฉลาด Smart Growth Principles จากสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อม สหรัฐอเมริกา ใน 10 ข้อ เช่น 1. การใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน โดยการจำแนกการใช้ประโยชน์ให้ชัดเจน เพราะหากใช้ที่ดินผิดประเภท จะส่งผลต่อการเก็บภาษีของรัฐ 2. การสร้างชุมชนแห่งการเดิน  การปรับปรุงโครงข่ายทางเดิน และออกแบบปรับปรุงถนน และ ทางเดินให้สวยงาน ในส่วนนี้ หากวิเคราะห์ให้ดีจะเห็นว่า กรณีที่รัฐ เข้าไปลงทุนการสร้างถนน เท่ากับว่า สนับสนุนให้ประชาชนซื้อรถ และ หากเน้นไปที่การสร้างระบบขนส่งแบบราง ก็เป็นการกระตุ่นให้ประชาชนซื้อบัตร ที่นอกจากจะทำให้เกิดการเชื้อเพลิงตามมาแล้ว ยังสร้างความเสี่ยงให้กับประชาชนในแง่ของการเดินทาง เพราะหากวางแผนการเดินทางผิดเท่ากับว่าเงินในกระเป๋าจะลดลงไปด้วย” อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย 

นอกจาก 2 ข้อที่กล่าวมา อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย ยังกล่าวอีกว่า การสร้างทางเลือกในการเดินทางที่มีความหลากหลาย โดยใช้ระบบการขนส่งมวลชนมาเป็นกลยุทธ์หลักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางของประชาชน ที่นอกจากจะลดความเสี่ยง ยังเป็นการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน โดยหน่วยงานพัฒนาเมืองจะต้องบูรณาการเกณฑ์การเติบโตอย่างฉานฉลาดให้เข้ากับบริบทของแต่ละพื้นที่ พร้อมกับถ่ายทอดให้ประชาชน ผู้ประกอบการ นักลงทุน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดความเข้าใจ