BEDO สัญจร 2018 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

BEDO สัญจร 2018 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

BEDO สัญจร 2018 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “มูนมังอีสาน ฐานทุนทรัพยากร ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ”

รัฐบาลประกาศให้เศรษฐกิจชีวภาพเป็นวาระแห่งชาติ และมีการประกาศยุทธศาสตร์เพื่อให้อัตราการเจริญเติบโต ของประเทศมีสัดส่วนของการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (เศรษฐกิจชีวภาพ) ในอัตราที่เพิ่มขึ้น สานักงานพัฒนา เศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่ เป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้ ได้ให้ความสาคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจจากการใช้ประโยชน์จากความหลากหลาย ทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยการดาเนินงานเน้นกระบวนการสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตลอดจนชุมชนท้องถิ่น

ทั้งนี้ มีเป้าหมายสาคัญคือการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของความ หลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นว่าเป็นสินทรัพย์อันทรงคุณค่าของประเทศ ที่มีอยู่ในแต่ละชุมชนท้องถิ่น การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง (access) และการชื่นชม (appreciation) ความหลากหลายทางชีวภาพดังกล่าว จะนาไปสู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างยั่งยืน


นางจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล ผู้อานวยการสานักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ กล่าวว่า จังหวัดสกลนคร มีความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นต้นทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ BEDO ได้เข้ามา ทางานในพื้นที่ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 10 ปี ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ จนเกิดเป็นต้นแบบในการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Model for Community based BioEconomy) ในระยะเริ่มแรกการดาเนินงานของ BEDO มุ่งเน้นในการส่งเสริมให้ชุมชนใช้ประโยชน์ควบคู่กับ การอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพ การสร้างศูนย์เรียนรู้ การจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และการจัดการด้านการตลาด ของผลิตภัณฑ์ชุมชนพร้อมร่วมกับทางจังหวัดในการจัดทาฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและการขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication: GI) ซึ่งได้ร่วมผลักดันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนได้รับการ ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จานวน 3 รายการ ได้แก่ ผ้าครามธรรมชาติสกลนคร หมากเม่าสกลนคร และน้าหมากเม่าสกลนคร รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ผ้าย้อมคราม กลุ่มผลิตผ้าครามทอผืน ตั้งแต่ ต้นน้า กลางน้า และปลายน้าของเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน

BEDO ได้กาหนดยุทธศาสตร์ในการดาเนินงานโดยมุ่งเน้นการทางานในระดับพื้นที่มากขึ้นใน 6 ภูมินิเวศ ประกอบด้วยภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ BEDO จึงได้จัดงาน BEDO สัญจร เพื่อให้เกิดการรับรู้ สร้างความตระหนักให้กับทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการประสานพลังในการขับเคลื่อนงาน การจัดงาน BEDO สัญจร (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ที่จังหวัดสกลนคร มีความสาคัญเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความผูกพันและมีการ ทางานร่วมกับพี่น้องในจังหวัดสกลนครมาตั้งแต่ปี 2551 เราได้ค้นพบทั้งความหลากหลายทางชีวภาพที่มีมากมาย ภูมิปัญญาวัฒนธรรมที่เอกลักษณ์โดดเด่น และความความเข้มแข็งของการทางานแบบบูรณาการ จึงจัดงานภายใต้แนวคิด “มูนมัง อีสาน ฐานทุนทรัพยากรภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ” ร่วมกับงานมหกรรมมูนมังอีสาน“มหัศจรรย์ ผ้าย้อมคราม” ระหว่างวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2561 ณ บริเวณริมห้วยทราย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร


ในงาน BEDO สัญจร (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ได้รับการนาเสนอแนวคิดสาคัญเรื่องการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ คือ “เครือข่ายป่าครอบครัวจังหวัดสกลนคร” ซึ่งเป็นแนวคิดการส่งเสริมภาคครัวเรือนปลูกต้นไม้ในพื้นที่ของตัวเอง เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ อาจปลูกเสริมจากพื้นที่ป่าดั้งเดิม หรือเริ่มปลูกในพื้นที่ใหม่โดย การปลูกเลียนแบบป่า ด้วยพืชพรรณนานาชนิดเพื่อใช้ประโยชน์ในการบริโภค สร้างความมั่นคงทางอาหาร ใช้สอย ลดรายจ่ายหรืออาจเพิ่มเป็นรายได้เสริม ตลอดจนเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และลดภาวะโลกร้อน


โดย BEDO ได้เข้ามาสนับสนุนส่งเสริมการสร้างความรู้และกระบวนการให้ภาคครัวเรือนปลูกพืชในพื้นที่ของตนเอง เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริโภค สร้างความมั่นคงทางอาหาร ดารงความหลากหลายทางชีวภาพให้คงอยู่ และเพื่อเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดผลกระทบปัญหาภาวะโลกร้อน ทาให้ลดรายจ่ายและสร้างรายได้ทั้งในระดับครัวเรือนและระดับกลุ่ม (เครือข่าย) กระชับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและเครือข่าย

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ได้ขยายแนวคิดป่าครอบครัว ให้กับเครือข่ายต.กุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนคร เมื่อปี พ.ศ. 2557 ปัจจุบันมีสมาชิก จานวน 57 ครอบครัว รวมพื้นที่ 95 ไร่ มีความหลากหลายทางชีวภาพของชนิดพันธุ์พืช จานวนประมาณกว่า 101 ชนิดพันธุ์ โดยป่าครอบครัว 5 แห่ง พื้นที่รวม 25.3 ไร่ ได้รับใบประกาศนียบัตรในการสนับสนุนกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 365 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2/e)


ปัจจุบัน มีเครือข่ายในพื้นที่ จ. สกลนคร เข้าร่วมเป็นเครือข่ายป่าครอบครัว รวมเป็น 12 ตาบล 8 อาเภอทาให้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 99 ครอบครัว รวมพื้นที่ 495-3-28 ไร่มูลค่าทางเศรษฐกิจจากเครือข่ายป่าครอบครัว จ.สกลนคร จากการสารวจข้อมูลเครือข่ายป่าครอบครัวต.บะฮี อ.พรรณานิคม พื้นที่ 1,000 ไร่ พบว่า มีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพร จานวน 52 ชนิด จากการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจพืชอาหาร พืชเป็นนาสมุนไพร ต้นไม้ใช้สอยและประโยชน์อื่นๆ คือเป็นมูลค่า 2,520,000