อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว"

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว"

พาชมนิทรรศการภาพถ่ายประวัติศาสตร์แนวทางทรงพัฒนาชาติ งานฝีมือช่างหลวง ขนมไทยตำรับโบราณ และอาหารอร่อย ภายในงาน 'อุ่นไอรัก คลายความหนาว'

จากพระราชปณิธานที่ทรงหมายมั่นของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่จะทรงบำบัดทุกข์-บำรุงสุขให้กับอาณาประชาราษฎร์ สืบสานพระราชปณิธานขององค์บูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ที่ทรงปกครองดูแลชาติบ้านเมือง ให้อยู่รอดปลอดภัยจากภยันตรายนานัปการ มีผืนแผ่นดินให้ประชาราษฎร์ได้อยู่อาศัย ประกอบสัมมาอาชีวะ ดำเนินวิถีชีวิตได้จวบจนปัจจุบันนี้

อีกทั้งยังทรงตระหนักดี ว่ายังมีประชาชนชาวไทยอีกเป็นจำนวนไม่น้อย ที่ยังคงได้รับความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจากสภาวะแวดล้อม ภัยธรรมชาติ และปัญหาความขาดแคลนปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพโดยปกติสุข 

และทรงมีพระราชหฤทัยอันแน่วแน่ที่จะทรงแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ทำให้เกิดความทุกข์กาย-ทุกข์ใจของประชาชนอันเป็นที่รักและห่วงใยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ได้รับการบรรเทาเบาบาง และจางหายไปด้วยวิธีการต่างๆ 

ทรงหวังอยู่ในพระราชหฤทัยว่า ทุกคนจะอยู่อาศัยบนผืนแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอนของเราด้วยความสุขกายสบายใจกันถ้วนทั่ว พึ่งพาตนเอง และพึ่งพาซึ่่งกันและกันได้ ด้วยมิตรภาพ ด้วยความรัก น้ำใจไมตรีอันดีงาม ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความเห็นอกเห็นใจ อันเป็นคุณสมบัติตามธรรมชาติที่มีอยู่ในหัวใจของคนไทยที่มีความรักชาติบ้านเมืองทุกคน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ประชาชนได้มีความสุข ความรื่นเริง และรำลึกถึงวิถีชีวิตที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยราชการในพระองค์ฯ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จัดงานพระราชทานความสุขให้กับประชาชน และเผยแพร่ความงดงามของความเป็นไทยในรูปแบบต่างๆ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) องค์พระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักเคารพยิ่งของปวงชนชาวไทย

ภายใต้ชื่องาน อุ่นไอรัก คลายความหนาว ระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์-11 ม่ีนาคม พ.ศ.2561 ณ พระลานพระราชวังดุสิตและสนามเสือป่า วันอาทิตย์-พฤหัสบดี เวลา 10.30-21.00 น. วันศุกร์-เสาร์ 10.30-22.00 น. โดยไม่เสียค่าบัตรผ่านประตู

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปเปิดงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว" ณ พระลานพระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. พร้อมนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา นำคณะรัฐมนตรีและคู่สมรส แต่งกายด้วยผ้าไทยย้อนยุคสมัยรัชกาลที่ 5 เข้าชมงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 (ภาพ : วรวิทย์ พุ่มพวง)

++ น้ำพระทัยในภาพประวัติศาสตร์ ++

นอกเหนือจากการเชิญชวนแต่งกายด้วย ‘เสื้อผ้าชุดไทยย้อนยุค’ เข้าร่วมงาน, หนึ่งในหัวใจของงาน ‘อุ่นไอรัก คลายความหนาว’ คือการจัดแสดงนิทรรศการพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจล้นเกล้าล้นกระหม่อม รัชกาลที่ 5 พระผู้ทรงมีคุณูปการต่อแผ่นดินไทยและประชาชนชาวไทยทั้งมวลอย่างสุดจะประมาณได้ ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติซึ่งพร้อมใจกันน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญานาม สมเด็จพระปิยมหาราช ตลอดจนนิทรรศการพระราชกรณียกิจของ รัชกาลที่ 9 พระผู้ทรงงานตลอดระยะเวลา 70 ปีแห่งการครองราชย์เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

นิทรรศการดังกล่าวจัดแสดงผ่าน ‘ภาพถ่าย’ (จำลองจากภาพถ่ายจริง) ประดับกรอบไม้สีน้ำตาลเรียบง่าย ติดตั้งบนผนังซึ่งจัดทำขึ้นตลอดแนวรั้วสวนอัมพรและสนามเสือป่า แต่ละภาพล้วนเป็นภาพประวัติศาสตร์ ที่นอกจากหาชมยาก ยังถือเป็นครั้งหนึ่งในชีวิตที่มีบุญตาได้ชม 

ต้นฉบับภาพจริง เก็บรักษาและอยู่ในความดูแลของ กองศิลปกรรม สำนักพระราชวัง บางภาพนั้นสุดจะหาโอกาสได้ชมภาพจริง 

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ กับพระราชโอรส ประดิษฐานภายในห้องไปรเวต พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์ตะวันออก

หนึ่งในภาพประวัติศาสตร์ดังกล่าว คือภาพเขียนสีน้ำมัน ‘พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ กับพระราชโอรส’ เขียนถวายโดย มร.เอ็ดวาร์โด เยลลี (Edouardo Gelli) จิตรกรชาวอิตาเลียน 

ปัจจุบัน พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์องค์จริง ประดิษฐานภายในห้องที่รัชกาลที่ 5 ทรงเรียกว่า ‘ห้องไปรเวต (private)’ ของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์ตะวันออก

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" รัชกาลที่ 5 เสด็จขึ้นรถกับเปรสิเดนต์ (ประธานาธิบดีฝรั่งเศส) ที่สถานีรถไฟรองบุเยร์ วันที่ 20 สิงหาคม 2450

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" ขบวนรถรางปฐมฤกษ์ ในสมัยรัชกาลที่ 5

รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่า วิธีป้องกันมิให้ประเทศตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิตะวันตก คือต้องพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาการศึกษาของประชาชน ทรงยอมรอนแรมข้ามน้ำข้ามทะเลนานนับเดือนเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศในยุโรป และเสด็จพระราชดำเนินไปไกลถึงรัสเซีย ทรงสังเกตและนำรูปแบบความก้าวหน้าของประเทศตะวันตกที่ทำให้ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกลับสู่ ‘สยาม’

หลังเสด็จนิวัตพระนคร รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริให้ ตัดถนน เพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯ อาทิ ถนนราชดำเนิน ถนนเยาวราช ถนนพญาไท ทรงโปรดฯ ให้ ขุดคลอง ใหม่ๆ เพิ่มเติม ทรงก่อตั้ง การประปา การไฟฟ้า ไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ การสื่อสาร การธนาคาร การรถไฟ รถราง สะพาน ฯลฯ 

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" รัชกาลที่ 5 ขณะเสวยพระกระยาหารระหว่างเสด็จประพาสต้น ครั้งที่ 2 ที่เมืองกำแพงเพชร พ.ศ.2449

รวมทั้ง ‘การเสด็จประพาสต้น’ ยังหัวเมืองภายในประเทศ ที่ทรงโปรดฯ ให้เป็นไปโดยเรียบง่าย เสด็จไปอย่างเงียบๆ เพื่อให้ทรงทราบถึงทุกข์สุขและความเป็นไปของราษฎรอย่างละเอียดด้วยพระองค์เอง ทั้งยังได้ทรงเห็นการปกครองของเจ้าหน้าที่ที่ทรงแต่งตั้งให้ออกไปปกครองต่างพระเนตรพระกรรณ ว่าได้กดขี่ราษฎรเดือดร้อนหรือไม่อย่างไร

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" (บน) หนังสือ Le Petit Journal ในสาธารณรัฐฝรั่งเศส ตีพิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์ รัชกาลที่ 5, (บนขวา) เรือพระที่นั่งจักรี พระราชพาหนะที่รัชกาลที่ 5 ทรงใช้ประทับในการเสด็จฯ ต่างประเทศหลายครั้ง ในการเจริญพระราชสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ, (ขวาล่าง) ทรงฉายพระบรมรูปร่วมกับพระเจ้าซาร์ นิโคลาส ที่ 2 และพระราชวงค์ที่พระตำหนัก เอมเปรศมารี โฟรโดลนา (Empress Marie Feodorovna) พ.ศ.2440

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" รัชกาลที่ 5 ทรงนำความเจริญแบบตะวันตกมาปรับปรุงประเทศ เป็นต้นว่า ทรงพระเกศา ฉลองพระองค์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ทรงออกแบบด้วยพระองค์เอง

แม้แต่เรื่องใกล้ตัวที่สุด พระองค์ก็มิได้ทรงมองข้าม นั่นก็คือ เครื่องแต่งกาย ทรงเห็นว่า ‘เสื้อผ้า’ เป็นเครื่องแสดงออกของความเจริญประการหนึ่งที่ต่างชาติจับตา และเป็นข้อหนึ่งในแนวทางพัฒนาประเทศ ทรงประยุกต์เสื้อสูทกับโจงกระเบน ทรงออกแบบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ความจริงพระองค์ทรงสนพระทัยการออกแบบเครื่องแต่งกายตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์

ทั้งหมดกลายเป็นภาพถ่ายประวัติศาสตร์ ที่คนรุ่นหลังสามารถเดินชมได้ภายในงาน อุ่นไอรัก คลายความหนาวด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" รัชกาลที่ 5 ทรงออกแบบและพระราชทานชื่อเครื่องแบบ ‘หงอนแดงแข้งดำ’ ให้กับ ‘พลตระเวน’ ในรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งพัฒนาเป็น ‘กรมตำรวจ’ และ ‘สำนักงานตำรวจแห่งชาติ’ ในปัจจุบัน, สถาปัตยกรรมด้านหลังคือการจำลอง ‘พระที่นั่งวิมานเมฆ’ พระที่นั่งถาวรองค์แรกที่ ‘รัชกาลที่ 5’ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระราชวังดุสิต (รัชสมัยพระองค์ทรงเรียกว่า พระราชวังสวนดุสิต) เมื่อพ.ศ.2444 

++ วิจิตรศิลป์ช่างวังหลวง ++

พื้นที่ถัดจากนิทรรศการภาพ จัดแสดงงานฝีมือช่างวังหลวง อาทิ งานช่างประดับมุก จาก โรงเรียนช่างฝีมือในวัง(ชาย) จัดสาธิตขั้นตอนการทำงานประดับมุกและแสดงผลงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว นั่นก็คือ งานประดับมุกเลียนแบบลายรดน้ำตู้พระธรรม วัดเซิงหวาย ซึ่งลวดลายมีความอ่อนช้อยสุดจะพลิ้วไหว เป็นฝีมือสกุลช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลาย กนกเปลวแสดงถึงความมีอิสระในความคิดสร้างสรรค์และอารมณ์ดุ-หวานของช่าง ต่างจากกนกเปลวสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่จะแสดงออกถึง ‘กรอบและระเบียบ’ เนื่องจากบ้านเมืองเพิ่งฟื้นฟู งานศิลปะและช่างฝีมือสูญหาย เกิดการจัดรูปแบบงานศิลปกรรมให้อยู่ในกระบวนโดยครูช่างศิลป์ เพื่อให้ลูกศิษย์ทำตามได้ง่ายขึ้น คุณจิระวัฒน์ นิตะยะโส ข้าราชบริพารในพระองค์ 904 ซึ่งประจำอยู่ที่ซุ้มงานช่างประดับมุก ยกตัวอย่างให้ฟัง

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" งานช่างประดับมุก เลียนแบบลายรดน้ำตู้พระธรรม วัดเซิงหวาย, (ขวา)จิระวัฒน์ นิตะยะโส แสดงรูปแบบลายกนกเปลวต้นกรุงรัตนโกสินทร์

สกุลช่างต่างยกย่องให้ ‘ลายรดน้ำตู้พระธรรม วัดเซิงหวาย’ เป็นงานศิลปกรรมชิ้นเอกของชาติ ปัจจุบันเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 

ขณะที่ วิทยาลัยในวังหญิง หรือ โรงเรียนช่างฝีมือในวัง(หญิง) ร่วมสาธิตและจัดแสดงผลงานช่างหลายรูปแบบ อาทิ งานช่างปัก ที่นำวัสดุงานปักมาให้ชมหลายรายการ เช่น เส้นไหมน้อย ดิ้นมันเงิน-ทอง ดิ้นโปร่งเงิน-ทอง ดิ้นข้อเงิน-ทอง ซึ่ง ‘ฝ่ายใน’ ใช้ในการปักชุดครุยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" พวงกลาง : ทำจากดอกไม้สด อาทิ ดอกรัก ดอกข่า จำปี จำปา สายหยุด บานไม่รู้โรย และของแห้ง เช่น ผ้า(อบร่ำให้หอม) รัชกาลที่ 5 ทรงถอดแบบมาจากโคมไฟระย้าแขวนเพดาน(chandelier)ของฝรั่ง โดยให้ ‘ฝ่ายใน’ ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ตกแต่งสถานที่ในงานพิธี งานมงคล

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" พวงมาลัยและกระแตจับไม้ งานดอกไม้สดโดยช่างฝีมือวิทยาลัยในวังหญิง

โอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วิทยาลัยในวังหญิงอัญเชิญ พระเขนยอิง ประจำพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มาให้ผู้เข้าร่วมงานฯ ได้ชมอย่างใกล้ชิด

พระเขนยอิงองค์นี้ อายุกว่า 100 ปี เป็นพระเขนยอิง (หมอนอิง) ของ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของรัชกาลที่ 5  ทำจากผ้าแพรจีน ฝีมือฝ่ายพระราชฐานชั้นใน บนพระเขนยอิงปักเป็นรูป ‘พระเกี้ยว’ ตราประจำพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร, รูป ‘รวงข้าว’ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ และปักอักษร , , , , , , อักษรแต่ละตัวแทนคำว่า 

เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ

เป็นพระราชดำรัสของ ‘รัชกาลที่ 5’ พระราชทานให้กับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" พระเขนยอิง ประจำพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

ปกติแล้ว...พระเขนยอิงองค์นี้ประดิษฐานอยู่ ณ พระตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ภายในพระบรมมหาราชวัง

++ สืบทอดขนมไทยตำรับโบราณ ++

ภายในงานยังมีการสาธิตและจำหน่าย ขนมไทย ตำรับดั้งเดิม หน้าตาขนมสวยงามน่ารับประทาน จากฝีมือ ‘ฝ่ายใน’ และ ‘วิทยาลัยในวังหญิง’ หลายตำรับให้เลือกชิม ราคาชุดละ 50 บาท อาทิ ค้างคาวเผือก เผือกบด ปั้นให้มีโพรงพอสำหรับใส่ ‘ไส้’ ที่ทำจากกุ้ง มะพร้าว สับรวมกัน แล้วนำไปผัดกับรากผักชี พริกไทย กระเทียม จากนั้นปิดเผือกบดให้เป็นรูปทรงคล้ายพีระมิดสามด้าน แล้วนำไปทอดจนเผือกมีสีเหลืองทองอร่าม รับประทานกับเครื่องอาจาด เป็นเครื่องว่างที่ปรากฏตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" ค้างคาวเผือกและขนมเกสรลำเจียก

ใกล้กันมี ขนมเบื้องญวน แป้งผสมขมิ้น ห่อไส้กุ้ง ไช้โป๊ เต้าหู้ สับแล้วผัดรวมกัน

ย้ายไปบริเวณหน้าสวนอัมพร มีสาธิตการทำขนม สัมปันนี ทำจากแป้งมันคั่วสุก ผู้สาธิตเล่าให้ฟังเบื้องต้นว่า ผสมแป้ง น้ำกะทิ น้ำตาลทราย ตั้งไฟ กวนจนแป้งสุก จับเป็นก้อน ร่อนติดไม้พาย ไม่ติดกระทะ พักแป้งไว้แล้วใส่พิมพ์

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" สัมปันนีและขนมดอกอัญชัน

ใครไม่เคยเห็นการทำขนม เกสรลำเจียก ก็ได้ชมที่งานนี้ ร่อนแป้งข้าวเหนียวที่ผสมกับน้ำลอยดอกมะลิ ลงบนกระทะก้นแบน ให้แผ่เป็นแผ่นบางๆ เมื่อกะเวลาแป้งสุกได้ที่ วางเนื้อมะพร้าวที่กวนผสมน้ำตาลและน้ำใบเตย ม้วนเป็นแท่งกลมปลายรีเรียว ลงที่ขอบแผ่นแป้งด้านหนึ่ง แล้วค่อยๆ กลิ้งเนื้อมะพร้าวไปบนแผ่นแป้ง ให้แผ่นแป้งม้วนห่อเนื้อมะพร้าว ผู้สาธิตกล่าวว่า ต้องกะเวลาให้แป้งสุกพอดี เนื่องจากถ้าปล่อยแผ่นแป้งไว้บนกระทะนานเกินไป แผ่นแป้งจะแห้งมากและแตก กลิ้งเนื้อมะพร้าวไม่ได้

ขนม ‘เกสรลำเจียก’ นี้กลิ่นหอมนัก ปรากฏชื่ออยู่ใน ‘กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน’ ของล้นเกล้า ‘รัชกาลที่ 2’ ความว่า

ลำเจียกชื่อขนม        

นึกโฉมฉมหอมชวยโชย

ไกลกลิ่นดิ้นแดโดย  

โหยไห้หาบุหงางาม

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติซุ้มของว่างค้างคาวเผือก และแม่ครัวขนมกับแม่พิมพ์ทำขนมเรไร

เช่นเดียวกับขนม  เรไร ก็ปรากฏชื่อใน ‘กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน’ ในชื่อ ‘รังไร’ อาจเป็นเพราะลักษณะขนม ที่มีลักษณะสอดสานกันไปมาคล้ายรังนก

ขนม ‘เรไร’ ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกับแป้งท้าวยายม่อม อบควันเทียนให้หอม แล้วจึงนำไปร่อน จากนั้นนวดกับกะทิผสมน้ำสะอาด กรองชั้นหนึ่ง แล้วจึงนำขึ้นกวนบนเตา นวดจนแป้งเนียนมือ เคล็ดลับคือต้องนวดขณะแป้งยังร้อนๆ จากนั้นแบ่งแป้งเป็นก้อนกลม ขนาดโตกว่าลูกแก้วเล็กน้อย ปล่อยให้แป้งเย็นตัว แล้วใส่พิมพ์กด แม่พิมพ์จะรีดแป้งออกมาเป็นเส้นขดไปขดมา ใช้ปลายมีดแซะตัวขนมจากหน้าแม่พิมพ์ จากนั้นนำไปนึ่งต่ออีก 5 นาที วิธีรับประทานคือ โรยกะทิ น้ำตาลทราย มะพร้าวขูด

ขนมไทยสุดประณีตอีกหนึ่งตำรับ ขนมดอกอัญชัน รูปทรงสวยงาม ตัวขนมทำจากแป้งข้าวเจ้า แป้งท้าวยายม่อม นวดกับหัวกะทิ (เพื่อให้ตัวขนมนุ่ม) เติมหางกะทิ ละลายน้ำตาลทรายลงในน้ำลอยดอกมะลิเคี่ยวจนหนืด ใส่ลงในแป้งที่นวดไว้ ตามด้วยน้ำดอกอัญชัน คนส่วนผสมให้เข้ากัน กรองด้วยผ้าขาวบางอย่างน้อยสองครั้ง นึ่งถ้วยตะไลให้ร้อนก่อนเทแป้งที่ผสมลงในถ้วยตะไล ไม่เช่นนั้นหน้าแป้งจะบุ๋มลงไป ช่วงการหยอดแป้งลงถ้วยตะไล หรี่ไฟลงเล็กน้อย เมื่อหยอดแป้งเสร็จแล้ว ใช้ไฟแรงปานกลางในการนึ่ง เมื่อแป้งสุก ให้รอจนแป้งอุ่น แป้งมีความคงตัวแล้ว จึงค่อยแคะตัวขนมออกจากถ้วยตะไล ไม่เช่นนั้นตัวแป้งจะเละ 

แต่งหน้าแป้งที่แคะออกจากถ้วยตะไลด้วยมะพร้าวทึนทึกขูดนึ่ง-คลุกเกลือ และ ‘ไข่แมงดา’ ที่มีลักษณะคล้ายทองหยอดเม็ดกลมเล็กๆ ทำจากไข่แดงของไข่เป็ด กรองด้วยผ้าขาวบาง ตั้งน้ำเชื่อมให้เดือด ตักไข่เป็ดแดงที่กรองแล้วใส่กรวยหยด หยดไข่แดงลงในน้ำเชื่อมที่เดือดพอเหมาะ ต้องเดือดพอเหมาะเท่านั้น จึงจะได้ ‘ไข่แมงดา’ ที่เม็ดเล็กกลมสวย เป็นอันเสร็จกระบวนการทำขนมดอกอัญชัน

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" ไก่กะทิย่างเมืองนคร  ผัดหมี่กะทิเมืองนคร ร้านอภิรมย์

ภายในงานยังมีการจำหน่ายอาหาร ขนม ผลไม้ จากร้านคุณภาพอีกมากมายภายในบริเวณ สนามเสือป่า อาทิ  ร้านอภิรมย์ ของบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ร่วมน้อมนำแนวพระราชดำริสืบสานชุมชนวิถีไทย นำอาหารหารับประทานยากจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ไก่กะทิ เนื้อไก่คลุกเคล้าด้วยกะทิและเครื่องแกงเข้มข้น หมักทิ้งไว้ข้ามคืน แล้วนำมาเสียบไม้ย่างไฟ ทาเครื่องแกงซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้ได้รสชาติที่หวานหอมทั้งกะทิและเครื่องแกงสูตรเฉพาะเท่านั้น, ผัดหมี่เมืองนคร ชาวเมืองนครศรีธรรมราชทำผัดหมี่ที่มีสูตรเฉพาะของตนเอง พิถีพิถันเตรียมน้ำปรุง โขลกพริก ใส่กะทิ และเติมกุ้งสด ผัดให้เข้าเส้น เป็นอาหารท้องถิ่นจานเด็ดที่หารับประทานได้ตามร้านค้าเมืองนคร จนเป็นที่นิยมทำในเทศกาลงานต่างๆ

ร้านอภิรมย์ยังมี ขนมโค ขนมท้องถิ่นภาคใต้ คล้าย ‘ขนมต้ม’ ของชาวภาคกลาง แต่แตกต่างกันที่ไส้ใน ด้วยเน้นใช้วัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่น ทำจากแป้งที่นวดจนได้เนื้อนวลเนียน แล้วนำมาห่อด้วยน้ำตาลโตนดที่ได้จากต้นตาล ต้มในน้ำเดือด เมื่อตัวแป้งลอยขึ้นมา นำมาคลุกเคล้ากับมะพร้าวขูดสดๆ ใหม่ๆ เพิ่มความหอมมัน

นอกจากนี้ยังมีอาหารอร่อยอีกหลายรายการ ผัดไทย ข้าวยำข้าวสังข์หยด มะพร้าวน้ำหอม น้ำกะทิทุเรียน น้ำลำไยเกล็ดหิมะ ขนมถ้วยฟูถ้วยโบราณ น้ำตาลข้นเมืองเพชรฯ มะม่วงน้ำปลาหวาน ณ.๑๐๑๑ เป็นอาทิ 

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\" ผัดไทย และน้ำแกงส้มปรุงสำเร็จ ต.บางปลา จ.สมุทรปราการ

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\"

อาหาร-วิจิตรศิลป์งานช่างหลวง ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว\"

รายได้จากการจำหน่ายขนมไทยตำรับโบราณและอาหารทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย ทูลเกล้าฯ ถวาย  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงนำไปใช้ในการพระราชกุศล บำบัดทุกข์-บำรุงสุขให้กับประชาชน ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากภัยและเหตุการณ์ต่างๆ ทั่วภูมิภาคของประเทศ ภายใต้กิจกรรมในโครงการตามพระราชดำริ ‘จิตอาสา เราทำความดีด้วยหัวใจ’ 

และนี่คือที่มาของคำว่า อุ่นไอรัก คลายความหนาว

---------------------------------------------

ภาพ : ประเสริฐ เทพศรี, ชาลินี ถิระศุภะ, วลัญช์ สุภากร