'ศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์' เทรนด์ซัพพลายเชนน่าจับตามอง

'ศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์'  เทรนด์ซัพพลายเชนน่าจับตามอง

ท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันที่รุนแรง ผู้ประกอบการทุกอุตสาหกรรมจำต้องหาวิธีการเพิ่มแต้มต่อทางธุรกิจ หนึ่งในกลยุทธ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยยกระดับ เสริมประสิทธิภาพการทำงาน

ศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ซีบรา  เทคโนโลยีส์ ผู้ผลิตและจำหน่ายโซลูชั่นสำหรับอ่านบาร์โค้ดและการพิมพ์จากสหรัฐ เปิดมุมมองว่า ผู้ประกอบการไทยต้องมีไหวพริบมากขึ้นและพร้อมที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างสมบูรณ์เพื่อรับประกันความสามารถในการแข่งขันในปีนี้และอนาคต

"ปีใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว นับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะมองย้อนกลับไปทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในปี 2560 รวมถึงนึกถึงสิ่งที่จะได้พบเห็นในปี 2561 ซึ่งคาดว่าอุตสาหกรรมการนำเข้าและส่งออกจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ 14% และ 10% ตามลำดับ" 

นอกจากนี้ สัญญาณที่สำคัญยิ่งกว่าที่เคยเป็นมาคือ การที่ซัพพลายเชนในประเทศไทยต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัล เพื่อการทำงานอย่างชาญฉลาด มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าทางต้นทุนมากยิ่งขึ้น 

ดังนั้น เพื่อการรับผลประโยชน์จากโอกาสที่กำลังจะเข้ามา ธุรกิจที่ต้องการรักษาระดับความสามารถในการแข่งขันควรนึงถึงเทรนด์ 3 ข้อที่น่าจับตามองและนำมาปรับใช้ดังต่อไปนี้คือ

ประการแรก นำเศรษฐกิจแบบ “ตามความต้องการ” (on-demand)" มาปรับใช้ ด้วยการใช้ ‘3As’ คือ การวิเคราะห์ (Analytics) การวางระบบอัตโนมัติ (Automation) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

โดยเบื้องหลังของเศรษฐกิจแบบตามความต้องการนั้น ซัพพลายเชนต่างต้องต่อสู้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับโมเดลสู่ความสำเร็จที่กำลังเปลี่ยนแปลง นั่นคือการทำให้ลูกค้าสามารถได้รับสิ่งที่ต้องการมากขึ้น ตามเวลาและวิธีการส่งที่ต้องการ ด้วยปัจจัยดังกล่าวซัพพลายเชนจึงกำลังประสบกับอุปสรรคในการจัดการในระดับคลังสินค้า และการคาดการณ์ความต้องการในเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินการได้เกือบตามเวลาจริง

“นี่คือเหตุผลที่ว่าเหตุใดการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มบทบาทของสินทรัพย์ คน และผลิตภัณฑ์ เพื่อทำความเข้าใจความต้องการแบบเฉพาะจึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง”

เขากล่าวว่า ทุกวันนี้จึงมีความต้องการอย่างสูงในการทำให้ขั้นตอนเชิงปฏิบัติการของซัพพลายเชนให้ทันสมัยยิ่งขึ้น ด้วยการใช้วิธีการสามเอดังกล่าว ขณะเดียวกันเชื่อว่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ซัพพลายเชนสามารถติดตามผู้คน ขั้นตอน สินทรัพย์ ในระดับย่อยและละเอียดยิ่งขึ้น รวมถึงนำเสนอประสบการณ์ลูกค้าที่น่าสนใจและตรงกับความต้องการเฉพาะบุคคลอีกด้วย

แกร่งตั้งแต่รากฐาน

ศิวัจน์เผยว่า เทรนด์ที่ 2. "ใช้ซอฟต์แวร์เชิงวิเคราะห์และข้อมูลตามเวลาจริงที่จำเป็น" ในการเพิ่มบทบาทก่อนเริ่มขั้นตอนการดำเนินที่ดีที่สุดขั้นต่อไป ด้วยโลกทุกวันนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่การขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมากยิ่งขึ้น ธุรกิจต่างๆ จะใช้ข้อมูลตามเวลาจริงในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและเอาชนะในการแข่งขัน จากการที่ข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่มีความต้องการมากขึ้นในตลาด ทำให้ซัพพลายเชนได้แสดงความตั้งใจที่จะลงทุนเชิงระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับผลประโยชน์จากการใช้ข้อมูลที่เร็วและดียิ่งขึ้น

ส่วนของเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ ไล่เลียงมาตั้งแต่บาร์โค้ดไปจนถึงโซลูชั่นเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (radio frequency identification หรือ RFID) โดยผู้ประกอบการทุกขนาดจะสามารถรับผลประโยชน์ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถติดตามสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดตามเวลาจริงได้ ไม่ว่าจะเป็นคน สินค้า หรือพาหนะ

ขณะที่ 3. "นำเทคโนโลยีสำหรับติดตามและระบุตำแหน่งในพื้นที่มาใช้" เพื่อบทบาทที่ดียิ่งขึ้นและการตัดสินใจที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น โดยระบบติดตามและระบุตำแหน่งตามเวลาจริง (real-time locationing systems หรือ RTLS) คือปัจจัยสำคัญในการให้ข้อมูลการติดตามอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความแม่นยำที่สูงขึ้น เพื่อนำไปทำการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ขั้นสูง 

จากการศึกษาเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ในการผลิต (Manufacturing Vision Study) โดยซีบร้าที่จัดทำขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ เหล่าผู้ผลิตต่างตระหนักถึงคุณค่าของการใช้เทคโนโลยีสำหรับติดตามและระบุตำแหน่งในพื้นที่ตามเวลาจริง และจะขยายระดับการใช้งานจาก 38% เป็น 61% ภายในปี 2565

นอกจากนี้ กว่า 55% ของบริษัทจะหันมาใช้งานระบบติดตามและระบุตำแหน่งตามเวลาจริงภายในปี 2565 ระบบติดตามและระบุตำแหน่งตามเวลาจริงทำให้ซัพพลายเชนสามารถรวบรวมข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับสินทรัพย์ รวมถึงตำแหน่งที่ตั้ง ขั้นตอน และสถานะ ในปัจจุบัน มีเพียง 8% ของผู้ผลิตที่มีการติดตามตามเวลาจริงอย่างเหมาะสมและครอบคลุมชั้นการผลิตทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 35% ภายในปี 2565

"ซัพพลายเชนได้เริ่มใช้ความเชื่อมโยงระหว่างโลกแห่งรูปธรรมและดิจิทัลในการพัฒนาบทบาทและนำข้อมูลเชิงลึกที่สร้างการเปลี่ยนแปลงมาปรับใช้เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า กระตุ้นประสิทธิภาพเชิงปฏิบัติการ และพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ แม้ว่าบางรายอาจอยู่ในระหว่างขั้นตอนแห่งการเปลี่ยนผ่าน แต่ปี 2561 จะเป็นปีที่พวกเขาวางแผนเปิดตัวโซลูชั่นใหม่ๆ อย่างเต็มกำลัง