ASEAN MICE Conference 2018 เปิดเทรนด์ไมซ์เมืองรองในกลุ่มอาเซียน

ASEAN MICE Conference 2018 เปิดเทรนด์ไมซ์เมืองรองในกลุ่มอาเซียน

ทีเส็บ ริเริ่มงาน ASEAN MICE Conference 2018 เปิดเทรนด์ไมซ์เมืองรองในกลุ่มอาเซียน กระจายรายได้ สร้างเศรษฐกิจยั่งยืน ตามแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค

24 มกราคม 2561 จ.เชียงใหม่ : สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บใช้แพลตฟอร์มการเข้าร่วมงานประชุมท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 37 (37th ASEAN Tourism Forum 2018 : ATF 2018)ณ จังหวัดเชียงใหม่ จัดงาน ASEAN MICE Conference 2018เชิญกูรูด้านไมซ์ของไทยและอาเซียนนำเสนอเมืองไมซ์ซิตี้และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือแนวทางการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ของเมืองต่างๆ ให้พร้อมรองรับการจัดงานไมซ์ และการกระจายกิจกรรมไมซ์จากเมืองหลักสู่ภูมิภาคท้องถิ่นในพื้นที่เมืองรอง หวังให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาและนวัตกรรม ทีเส็บ กล่าวว่า “การทำงานภายใต้ความร่วมมือกับประเทศอาเซียน ถือเป็นโอกาสอันดีในการแลกเปลี่ยนทางความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน ก่อให้เกิดความร่วมมือในระดับภูมิภาค และการประสานงานเชิงนโยบายในการส่งเสริมธุรกิจไมซ์ของอาเซียน โดยเฉพาะการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานในภาคส่วนต่างๆ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับความต้องการของนักเดินทางกลุ่มไมซ์จากทั่วโลกให้มาจัดงานไมซ์ในภูมิภาคนี้รวมทั้งแนวโน้มของการส่งเสริมพื้นที่หรือเดสติเนชั่นเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไมซ์ในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น นอกจากการส่งเสริมเมืองหลักและเมืองหลวงของประเทศให้รองรับการจัดงานไมซ์แล้วนั้น ยังเน้นการสร้างพื้นที่อื่นๆ ที่มีศักยภาพในการรองรับไมซ์ สร้างทางเลือกที่หลากหลายให้แก่กลุ่มลูกค้า และยังเป็นการกระจายรายได้ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่เมืองอื่นๆ กอปรกับรัฐบาลไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) มุ่งเน้นให้ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยการพัฒนาประเทศตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มีการกระจายรายได้ไปยังทุกภูมิภาคทีเส็บจึงได้กำหนดแนวทางขับเคลื่อนและพัฒนาอุตสาหกรรมไมซให้สอดรับกับเทรนด์ปัจจุบัน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนแม่บทอุตสาหกรรมไมซ์ที่เน้นการเติบโตอย่างเท่าเทียม ด้วยการพัฒนาระบบส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ในพื้นที่ภูมิภาค เสริมสร้างศักยภาพของไมซ์ซิตี้ และเมืองรองที่มีศักยภาพ รวมทั้งการพัฒนาแนวคิด Area-Based ที่เพิ่มการทำงานเชิงพื้นที่ลงลึกระดับภูมิภาค สร้างการทำงานเชิงรุกกับผู้ประกอบการของแต่ละท้องถิ่นให้มีความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมไมซ์มีส่วนร่วมในงานส่งเสริมกิจกรรมไมซ์ไทยมากขึ้นและวางกลยุทธ์เพื่อผลักดันตลาดไมซ์ในแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะ”

การจัดงาน ASEAN MICE Conference 2018 ในช่วงเวลาของการจัดงาน ATF 2018 นั้น จึงเป็นงานที่ทีเส็บริเริ่มขึ้นเพื่อใช้เป็นแพลตฟอร์มสร้างการรับรู้ ความเข้าใจและแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับ การขับเคลื่อนเมืองไมซ์และการสร้างศักยภาพของเมืองรอง ซึ่งเป็นประเด็นที่ทุกประเทศในอาเซียนต่างให้ความสนใจ และเร่งขับเคลื่อนให้เป็นโมเดลในการพัฒนาไมซ์ โดยงานครั้งนี้ จัดขึ้น ภายใต้แนวคิด ASEAN MICE Cities: Asia’s Power House ที่รวบรวมกูรูด้านไมซ์จากไทยและอาเซียนมาร่วมพูดคุยในหัวข้อที่สำคัญ อาทิ Thailand MICE Cities : Powering Up for the Future แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์เมืองไมซ์ซิตี้ของไทยอย่างเชียงใหม่ ขอนแก่น และพัทยาที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนเมืองและท้องถิ่น ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และภาพลักษณ์ของเมือง /Destination Success: Collaboration and Partnerships.A case study on BestCities Global Alliance” โดยนายพอล วาลลี กรรมการผู้จัดการ BestCities Global Alliance ร่วมถ่ายทอดนวัตกรรมการพัฒนาศักยภาพของเมืองต่างๆ ให้สามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมไมซ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประโยชน์ที่ได้รับจากการเป็นเมืองจุดหมายปลายทางด้านไมซ์ / Developing Future MICE Destinations: Standards, Co-created Spaces, and Local Aspirationsโดย ดร.สุรพิชย์พรหมสิทธิ์ ผู้อำนวยการโครงการปริญญาโทบริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติการจัดการสากล คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมถ่ายถอดแนวทางการพัฒนาจุดหมายปลายทางแห่งไมซ์ ทั้งด้านการสร้างมาตรฐานในระดับประเทศและระดับสากล การทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการระหว่างชุมชนหรือท้องถิ่นเพื่อให้เกิดกิจกรรมไมซ์ในรูปแบบใหม่ๆ และผู้แทนจากเมืองซาราวัค ประเทศมาเลเซีย เมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น และเมืองเคียงจู สาธารณรัฐเกาหลี มาร่วมเสวนาในหัวข้อMICE Cities: Seeing Opportunities, Not Challengesถ่ายทอดมุมมองของการเป็นเมืองรองที่ผันทรัพยากรของเมืองให้กลายเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ และสร้างโอกาสที่ยิ่งใหญ่ให้กับเมืองของตน”

ด้านนางสาวอะมีเลีย โรซี่แมน ประธานฝ่ายปฏิบัติการ ซาราวัค คอนเวนชั่น บูโรหรือ SCB กล่าวว่า “เมืองรองนั้นสามารถสร้างการรับรู้และสร้างการเติบโตในแง่ของเศรษฐกิจได้หากมีแผนการตลาดที่ดี มีการสร้างแบรนด์ และสร้างอัตลักษณ์ของตัวเองที่ไม่จำเป็นต้องเลียนแบบเมืองหลวง ดังเช่นที่ซาราวัคได้นำเอาความโดดเด่นของเกาะบอร์เนียวมาผนวกเข้ากับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้มาตรฐาน เป็นจุดเด่นที่ดึงดูดกิจกรรมไมซ์ระดับโลกให้มาจัดงานที่นี่ได้ดังเช่น The 55thICCA Congress 2016 โดยซาราวัคนั้นมีเป้าหมายในการสร้างเมืองให้เป็นจุดหมายปลายทางแห่งการจัดงานไมซ์หรือ Business Event มีพันธมิตรสำคัญคือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ให้ความร่วมมือและพร้อมจะพัฒนาศักยภาพตัวเองเพื่อให้สามารถรองรับกิจกรรมเชิงธุรกิจเหล่านี้ได้ ทุกคนต่างให้ความสำคัญและพร้อมเป็นตัวแทนของประเทศที่จะเป็นพลังในการขับเคลื่อน มีการกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันที่ชัดเจน อาทิ ลดช่องว่างหรืออุปสรรคทางการสื่อสารให้ได้อย่างรวดเร็ว เป้าหมายเศรษฐกิจเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีผู้รับผิดชอบดูแลพันธมิตรในแต่ละภาคส่วน โดยได้มีการตั้งฝ่าย Government and Industry Relations ขึ้นเพื่อทำหน้าที่โปรโมท เชื่อมโยง และส่งเสริมหน่วยงานต่างๆ ให้ทำงานควบคู่ไปกับ SCB ทั้งนี้ การเติบโตของอุตสาหกรรมไมซ์ก่อให้เกิดประโยชน์กับเมืองหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ไปยังชุมชน การเกิดกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility หรือ CSR) ที่มากขึ้น เกิดการแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยีและการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ มีการประชาสัมพันธ์เมืองให้เป็นที่รู้จักไปยังทั่วโลก และมีโอกาสสร้างพันธมิตรระหว่างประเทศดังเช่นการเดินทางมาร่วมกิจกรรมที่เชียงใหม่ใจครั้งนี้ ก็เชื่อว่าจะเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ที่ดีสำหรับพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของเมืองได้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน”

นอกจากงาน ASEAN MICE Conference 2018 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 24 มกราคม 2561 แล้วนั้น ในช่วงสัปดาห์ของการจัดงาน ATF 2018ณ จังหวัดเชียงใหม่โดยทีเส็บยังได้เข้าร่วมงานแถลงข่าวกับหน่วยงานพันธมิตร ทั้งสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และจังหวัดขอนแก่น ในการประกาศให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดงานประชุมPATA Destination Marketing Forum 2018 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2561 ณ จังหวัดขอนแก่น นับเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่เน้นการกระตุ้นและพัฒนาเศรษฐกิจระดับภูมิภาค โดยขอนแก่นเป็นหนึ่งในไมซ์ซิตี้ของไทยที่มีศักยภาพและความพร้อมในการรองรับการจัดงานประชุมระดับนานาชาติซึ่งการจัดประชุม PATA Destination Marketing Forum 2018 จะเป็นเวทีที่มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหน่วยงานองค์กร ผู้ประกอบการ บริษัทท่องเที่ยว และการประชุมในภูมิภาคเอเซีย แปซิฟิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เข้าร่วมงานชาวไทย ที่จะเดินทางมาจากจังหวัดขอนแก่นและเมืองรองต่างๆ โดยงานแถลงข่าวการจัดงาน PATA Destination Marketing Forum 2018 นี้ กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 26 มกราคม 2561 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่

และในวันเดียวกันช่วงเย็น ยังจัดให้มีพิธีมอบรางวัล ASEAN MICE Venue Standard ภายในงานASEAN Tourism Awards & Closing Ceremonyให้กับผู้ประกอบการไมซ์ทั้ง 10 ประเทศอาเซียนที่ผ่านการตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่จัดงานไมซ์อาเซียน นับเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งที่ทีเส็บได้ผลักดันให้มาตรฐานสถานที่การจัดงานไมซ์ของไทย เข้าสู่การสร้างมาตรฐานสถานที่จัดงานระดับอาเซียน และมีผู้ประกอบการไมซ์ในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ผ่านมาตรฐานและได้รับตราสัญลักษณ์มาตรฐานสถานที่จัดงานของอาเซียนจากประเทศบรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาวมาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย โดยแต่ละประเทศจะรับมอบตราสัญลักษณ์ดังกล่าวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวของแต่ละประเทศ

“ในปีงบประมาณ 2560 (เดือนกันยายน 2559-เดือนตุลาคม 2560) เกิดการจัดงานไมซ์ใน จ.เชียงใหม่, พัทยา จ.ชลบุรี, จ.ขอนแก่น และ จ.ภูเก็ต จำนวน 4,612 งาน มีนักเดินทางกลุ่มไมซ์เข้าร่วมงาน 692,788 คน ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจของจังหวัดเหล่านี้กว่า 63,773.04 ล้านบาท ซึ่งหากเมืองรองหรือจังหวัดต่างๆ มีการพัฒนาศักยภาพและเกิดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการในทุกภาคส่วนแล้ว จะช่วยพัฒนาเมืองให้มีความพร้อมและมีศักยภาพรองรับการจัดกิจกรรมไมซ์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างมาก” นางศุภวรรณ กล่าวทิ้งท้าย