คดีหวยอลเวง30ล้าน พบลายนิ้วมือ 'อดีตตำรวจ' ชัด

คดีหวยอลเวง30ล้าน พบลายนิ้วมือ 'อดีตตำรวจ' ชัด

คดีหวยอลเวง 30 ล้าน พบลายนิ้วมืออดีตตำรวจชัด ส่วนผลดีเอ็นเอพิสูจน์ไม่ได้เหตุปะปนกันหลายคน

จากกรณีที่มีการอ้างสิทธิการเป็นเจ้าของสลากกินแบ่งรัฐบาลรางวัลที่ 1 เลข 533726 งวดประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 จำนวน 1 ชุด 5 ใบ เป็นจำนวนเงิน 30 ล้านบาท ที่มี ร.ต.ท.จรูญ วิมูล อดีตข้าราชการเกษียณตำรวจเป็นผู้นำสลากไปขึ้นเงินรางวัล และนายปรีชา ใคร่ครวญ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนเทพมงคลรังษี ต.บ้านเหนือ อ.เมืองกาญจนบุรี ที่อ้างว่าตนเองเป็นผู้ถูกรางวัลแต่สลากชุดดังกล่าวหายไป และมีการฟ้องร้องกันอยู่ในขณะนี้ จนกลายเป็นข่าวโด่งดังและเกิดเป็นข้อสงสัยของประชาชนมานานกว่า 1 เดือน ว่าเจ้าของลอตเตอรี่ที่แท้จริงคือใครกันแน่

ล่าสุดเมื่อวันนี้ (19 ม.ค. 61) นายสมณ์ พรหมรส ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้อำนวยการ กองสารพันธุกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านลายพิมพ์นิ้วมือ ร่วมแถลงข่าวผลพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ หรือผลตรวจดีเอ็นเอ จากกรณีศึกชิงสิทธิ์ฉลากกินแบ่งรัฐบาล รางวัลที่1 งวดประจำวันที่ 1 พ.ย.60 จำนวน 1 ชุดรวม 5 ใบ มูลค่ารวม 30 ล้านบาท ระหว่างนายปรีชา ใคร่ครวญ อายุ 50 ปี ครูชำนาญการพิเศษ ในจ.กาญจนบุรี กับ ร.ต.ท.จรูญ วิมูล อดีตข้าราชการตำรวจ

นายสมณ์ กล่าวว่า สลากกินแบ่งรัฐบาลที่สถาบันได้รับเป็น สลากรางวัลที่ 1 งวดที่ 41 ประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ชุดที่ 4 ชุดที่ 7 ชุดที่ 14 ชุดที่ 15 และชุดที่ 22 หมายเลข 533 726 โดยตำรวจให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ตรวจหาลายนิ้วมือแฝง และสารพันธุกรรมโดยพนักงานสอบสวนได้มีหนังสือลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560 ส่งของกลางมาทำการตรวจพิสูจน์ที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ซึ่งประกอบไปด้วยตัวอย่างสารพันธุกรรมจากกระพุ้งแก้มของนายปรีชาใคร่ครวญนางสาวพัชริดาพรมตานางสาว รัตนาภรณ์สุภาทิพย์ และตัวอย่างลายนิ้วมือแฝงของนางสาวพัชริดาพรมตา และนางสาวรัตนาภรณ์สุภาทิพย์ เพื่อตรวจเปรียบเทียบสารพันธุกรรม และลายนิ้วมือแฝงกับสลากกินแบ่งรัฐบาล ต่อมาพนักงานสอบสวนได้ทำหนังสือลงวันที่ 26 ธันวาคม 2560 ถึงสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ขอความอนุเคราะห์ และส่งตรวจวัตถุพยาน และส่งตัวพยานบุคคลเพื่อตรวจสารพันธุกรรมและเก็บลายนิ้วมือแฝงจำนวน 5 ราย ได้แก่ ร้อยตำรวจโท จรูญ วิมล นางลาวัลย์ วิมูล นายปรีชาใคร่ครวญ นางสาวรัตนาพร สุภาอาทิตย์ และนางสาวพัชริดา พรมตา เพื่อเปรียบเทียบกับลายนิ้วมือแฝง และสารพันธุกรรมที่ตรวจพบที่สลากกินแบ่งรัฐบาล

โดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้รับสลากกินแบ่งรัฐบาลรางวัลที่ 1 งวดที่ 4 11 ประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ชุดที่ 4 7 10 54 ละ 22 หมายเลข 533 726 จากเจ้าหน้าที่สำนักงานกินแบ่งรัฐบาลพร้อมกับพนักงานสอบสวนจากสถานีตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2560 และดำเนินการจัดเก็บลายนิ้วมือและสารพันธุกรรมจากร้อยตำรวจโทจรูญวิมลนางราวรรณวิมลนายปรีชาใคร่ครวญนางสาวธนพร สุภาทิพย์ และนางสาวพัชริดา พรมตา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม คณะผู้เชี่ยวชาญด้านตรวจสอบลายนิ้วมือได้ดำเนินการตรวจสอบลายนิ้วมือ และฝ่ามือแฝงผลสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยวิธีการทางเคมี และวิธีการทางแสงระหว่างวันที่ 22 ธันวาคมถึง 3 มกราคม 2561 คณะผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมได้ดำเนินการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมบนสลากกินแบ่งรัฐบาลวัตถุพยานจากสถานีตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรีที่ได้รับ และวัตถุพยานกับพยานบุคคลจำนวน 5 รายที่มาจัดเก็บ สารพันธุกรรมและเก็บลายนิ้วมือแฝงที่สถาบันเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2560 ด้วยวิธีสกัดสารพันธุกรรมวัดปริมาณสารพันธุกรรม และเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมโดยเทคนิค pcr ระหว่างวันที่ 4 ถึง 11 มกราคม 2561

โดยผลการตรวจพิสูจน์สรุปได้ดังนี้ 1 การตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือพบรอยลายนิ้วมือแฝงซึ่งมีรายละเอียดของลายเส้นเพียงพอต่อการตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบเพื่อยืนยันตัวบุคคลจำนวน 200 บนสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดที่ 722 ซึ่งตรงกันกับลายนิ้วมือ นิ้วหัวแม่มือซ้าย และนิ้วก้อยซ้ายข้อนิ้วที่ 1 ติดกับข้อนิ้วที่ 2 ของร้อยตำรวจโทจรูญวิมล 2 การตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมตรวจพบรูปแบบสารพันธุกรรมแบบผสมบนสลากกินแบ่งรัฐบาลเนื่องจากมีสารพันธุกรรมของหลายบุคคลปะปนกันอยู่และมีปริมาณสารพันธุกรรมน้อยไม่สามารถแยกแยะรูปแบบของสารพันธุกรรมของบุคคลได้อย่างชัดเจนจึงไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับรูปแบบสารพันธุกรรมของพยานบุคคลทั้ง 4 ราย

พันตำรวจโทหญิง วิวรรณ สุวรรณสัมฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านลายพิมพ์นิ้วมือ กล่าวว่า ลายนิ้วมือตอนบนแต่จะระบุว่าเป็นเจ้าของหรือไม่คงระบุไม่ มีแค่ 2 รอยเท่านั้นที่สามารถระบุได้ ย้ำว่าตรวจพบมากกว่า2 รอย แต่มีรอยเท่านั้นที่สามารถยืนยันได้ รอยที่เหลือไม่สามารถยืนยันได้ รอยอื่นๆรายเส้นน้อยมาก ทั้งลายนิ้วมือ และฝ่ามือ เทียบแล้วตรงกับร.ต.ท.จรูญ มีการตรวจสอบและตรวจซ้ำ 3 ครั้ง โดยนิ้วหัวแม่มือซ้ายอยู่บนล้อตเตอรี่ ส่วนนิ้วก้อยอยู่บนขอบซ้ายด้านหลังล้อตเตอรี่

นายแพทย์ วรวีร์ ไวยวุฒิ ผู้อำนวยการกองสารพันธุกรรม กล่าวว่า การตรวจพิสูจน์สารพันธุ์กรรม ตรวจพบรูปแบบสารพันธุ์กรรมแบบผสม บนล็อตเตอรี่ เนื่องจากมีสารพันธุ์กรรมของหลายบุคคลปะปนกันอยู่ในปริมาณที่น้อยจึงไม่สามรถแยกแยะรูปแบบของาารพันธุกรรมของบุคคลได้ชัดเจน จึงไม่สามารถเปรียบเทียบได้

พล.ต.ต.กฤษณะ ทรัพย์เดช รองผู้บัญชาการตำรวจ ภูธรภาค 7 ในฐานะ หัวหน้าคณะทำงานสืบสวนในเรื่องนี้ กล่าวว่า วันนี้จะมอบหมายให้พนักงานสอบสวนมารับผลผลดีเอ็นเอ และลายนิ้วมือบนสลากกินแบ่งรัฐบาลจากนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งหลักฐานชิ้นนี้ถือว่าเป็นหลักฐานสำคัญที่ทางตำรวจค่อนข้างให้น้ำหนักค่อนข้างมาก เพราะจะสามารถนำมาปะติดปะต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์วันนี้ยังไม่สามารถนำไปสรุปชี้ชัด หรือฟันธงได้เลยว่าใครผิดใครถูก เพราะทางตำรวจจะต้องนำผลที่ได้มาตรวจสอบ และรวบรวมพร้อมกับพยานหลักฐานที่ได้สืบมาก่อนหน้านี้ ก่อนจะสรุปสำนวนชี้ชัดว่าใครผิดหรือใครถูก ใครเป็นเจ้าของตัวจริง เพื่อส่งต่อให้อัยการว่ามีความเห็นตรงตามสำนวนที่ส่งไปให้หรือไม่

ยืนยันว่าการทำคดีนี้ไม่มีความหนักใจ เพราะตำรวจทำงานตามพยานหลักฐานที่มี แต่สิ่งที่สำคัญคือ จะต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ถึงผลสรุปที่ตำรวจได้ทำออกมาในขั้นตอนสุดท้าย คาดว่าผลสรุปสำนวนคดีหวยอลวนจะส่งให้อัยการได้ภายในสิ้นเดือนนี้

ผอ.สถาบันนิติฯ กล่าวอีกว่า หลังจากนี้คงจบภาระกิจแล้วไม่มีการตรวจซ้ำอีก เนื่องจากผลออกมาเช่นเดิม และการตรวจเป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่นเดียวกับ เอฟบีไอ ทำจึง ขอให้ทุกคนเชื่อมั่นได้ ถึงขอให้มีตรวจผลเป็นเช่นเดิม ทั้งนี้ได้คืนล็อตเตอรี่กับกองสลากแล้ว และส่งข้อมูลให้สภ.กาญจนบุรีประกอบสำนวนต่อไป