ถวายฎีกา! ศาลสั่งจำคุกสาวตาบอดไม่รออาญา สารภาพหมิ่นเบื้องสูง

ถวายฎีกา! ศาลสั่งจำคุกสาวตาบอดไม่รออาญา สารภาพหมิ่นเบื้องสูง

ญาติจะขอถวายฎีกาหวังอภัยโทษ ศาลสั่งจำคุก "สาวตาบอด" ไม่รอลงอาญา ย้ำลดโทษหลังสารภาพโพสต์หมิ่นเบื้องสูง

เมื่อเวลา 11.00 น. (5ม.ค.61) ที่มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมประจำจังหวัดยะลา 40 ถนนผังเมือง4 อ.เมือง จ.ยะลา นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ประธานกรรมการมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมประจำจังหวัดยะลา เปิดเผยถึงกรณีศาลอ่านคำพิพากษาจำคุก หญิงพิการทางสายตา คดีหมิ่นมาตรา112 เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา ว่า สำหรับคดีของนางสาวนูรฮายาตี มะเสาะ เป็นกรณีที่ถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดตามมาตรา 112 ด้วยการโพสต์ข้อความหมิ่นสถาบัน

ในทางคดีหลังจากมีการควบคุมตัวจำเลย ก็มีการดำเนินการฝากขังศาล และควบคุมตัวจำเลยไว้ที่เรือนจำกลางจังหวัดยะลามาโดยตลอด ซึ่งมีอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา3 ภาค 9 เป็นโจทย์ฟ้องคดีนี้ ในชั้นพิจารณา จำเลยได้ให้การรับสารภาพกับศาล ศาลมีความเห็นให้มีการสืบเสาะและพินิจเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ใช้ประกอบในการพิจารณาลดโทษ หรือพิจารณาลงโทษจำเลยด้วยความปราณี และได้นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 4 มกราคม 2561 ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี แต่จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุก1ปี6เดือน โทษจำคุกไม่รอลงอาญา เนื่องจากเป็นความผิดร้ายแรง

“ในส่วนของการช่วยเหลือ ทางมูลนิธิฯ เพิ่งได้รับการติดต่อขอความช่วยเหลือจากพี่ของจำเลย เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคม 60 ที่ผ่านมา และหลังจากฟังคำพิพากษา ก็ได้มีการพูดคุยกันว่า ทางญาติยังมีความต้องการให้ทางมูลนิธิฯ อุทรณ์คำพิพากษาของศาล เพื่อให้ศาลอุทรณ์ภาค9 พิจารณาอีกครั้งในส่วนของโทษพิพากษาโดยไม่รอลงอาญา หรือจะทำหนังสือถวายฎีกาเพื่อขอความเมตตา ในการอภัยโทษ เนื่องจากที่ผ่านมา นางสาวนูรฮายาตี มะเสาะ ซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตา ในขณะที่ถูกคุมตัวอยู่ในเรือนจำนั้น จะมีปัญหาเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะต้องมีคนดูแล ให้การช่วยเหลือ เพราะไม่คุ้นชินกับสถานที่ ไม่ได้เป็นพื้นที่ประจำที่คนตาพิการจะรู้ว่า จะต้องเดินไปทางไหน และเชื่อว่าในเรือนจำก็ไม่มีพื้นที่สำหรับผู้ต้องขังที่พิการทางสายตา ทั้งนี้ในส่วนของคดี กฤหมายให้สิทธิ์กับจำเลยในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับศาลชั้นต้น สามารถอุทรณ์ได้ภายใน1เดือน หรือจะขอขยายเวลาในการอุทรณ์ได้ถ้ามีเหตุจำเป็น ในส่วนของมูลนิธิ ก็จะไปดูว่าจะสามารถช่วยเหลือว่าจะมีเหตุในการอันควรปราณีอะไรบ้างที่จะสามารถดำเนินการเพื่อขอความเมตตา เพื่อให้จำเลยได้รับสิทธิในการรอลงอาญา ในการกระทำความผิดในครั้งนี้” นายอาดิลัน กล่าว

สำหรับคดีดังกล่าว เกิดขึ้นในห้วงวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2559 ต่อเนื่องกัน นางสาวนูรฮายาตี มะเสาะ ซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตา ได้ใช้เฟสบุ๊คที่ลงทะเบียนในชื่อ นูรฮา ยาตี โพสต์ข้อความ หมิ่นประมาท เบื้องสูง รวมทั้งคัดลอกข้อความหมิ่นประมาท นำเข้าระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั้งไปอาจเข้าถึงได้ ด้วยโปรแกรมแอฟพริเคชั่นของผู้พิการทางสายตา ซึ่งเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา33มาตรา112คำสั่งของคณะปฎิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ1 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พศ 2550 มาตรา3 , 14 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2560 มาตรา 8