ขอทบทวนห้ามนำเข้านำบุหรี่ไฟฟ้า

ขอทบทวนห้ามนำเข้านำบุหรี่ไฟฟ้า

เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้า แจงอนุกมธ.สนช.ชี้หลายประเทศบังคับใช้กม. ถูกต้องช่วยลดปัญหาผู้สูบบุหรี่

เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.60 ที่รัฐสภา มีการประชุมอนุกรรมาธิการพาณิชย์ ในคณะกรรมาธิการพาณิชย์ การเงิน การคลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อพิจารณากรณีเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเข้าร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรมให้ทบทวนประกาศกระทรวงพาณิชย์ในการห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า โดยได้เชิญตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้ไฟฟ้าเข้าชี้แจง

นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ประธานอนุกรรมาธิการฯ กล่าวว่า ได้ให้ตัวแทนเครือข่ายเข้าชี้แจงเหตุผล และความจำเป็นในข้อเรียกร้อง ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสินค้าที่ 160 ประเทศอนุญาตให้จำหน่ายได้ อีก 15 ประเทศห้ามจำหน่ายในจำนวนนี้กำลังพิจารณาที่จะอนุญาต โดยผู้ชี้แจงได้ให้ข้อมูลว่า ผลการวิจัยเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟาเป็นทางเลือกที่ช่วยลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ และเป็นยาทางเลือกของคนที่ต้องการลด เลิก บุหรี่ นอกจากนี้การห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า จะมีปัญหาเรื่องการนำเข้าหนีภาษี และจะทำให้สูญเสียรายได้จากภาษีดังกล่าว ซึ่งอนุกรรมาธิการฯก็รับฟังข้อมูลจากผู้ชี้แจงและจะนำข้อมูลที่ได้รับมาพิจารณาต่อไป

นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่ายฯ กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้มาร่วมลงชื่อสนับสนุนกว่า 17,00 คนแล้วเพื่อเรียกร้องให้สนช.เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บุหรี่กว่า 11 ล้านคน ได้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าภายใต้การควบคุมของกฎหมาย ซึ่ง การแบนบุหรี่ไฟฟ้า เท่ากับเป็นการบังคับให้ผู้บริโภคสูบหรี่ที่มีอันตรายมาก เด็กและเยาวชนสามารถหาซื้อบุหรี่ไฟฟ้าได้ทางออนไลน์ เน็ตไอดอล ไลฟ์สด ไลฟ์โชว์ ซึ่งรัฐควบคุมไม่ได้ แถมยังเปิดช่องให้เกิดการจับกุรีดไถ ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่ต้องการเลิกบุหรี่ ไม่อยากรับควันบุหรี่ แต่ต้องการใช้แบบหลบๆซ่อนๆ เพราะกลัวถูกจับ ตัวอย่างที่เห็นคือกรณีการจับกุมเน็ตไอดอล

นายอาสา ศาลิคุปต์ กล่าวว่า คนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าอย่างมาก เนื่องจากฝั่งที่รณรงค์ต่อต้านบุหรี่มักจะออกมาให้ข้อมูลเพียงด้านเดียว ซึ่งทางกลุ่ม ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้ไฟฟ้าได้ให้ข้อมูลพร้อมกับผลการวิจัยกับคณะอนุกรรมาธิการฯ ไปแล้วว่า สำนักงานสาธารณสุขประเทศอังกฤษ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ กรุงลอนดอน และสถาบันมะเร็งอังกฤษ ต่างยืนยันว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนมาก และผลการวิจัยจำนวนมากยืนยันว่า ไม่ได้เป็นเด็ก และเยาวชนไม่ผู้สูบบุหรี่ โดยทุกวันนี้แม้จะยังไม่มีผลวิจัยถึงผลกระทบในระยะยาว แต่รัฐบาลในหลายประเทศ เช่น อังกฤษสหภาพยุโรป อเมริกา และนิวซีแลนด์ ก็อนุญาตให้ใช้ได้โดยมีกฎหมายอย่างถูกต้อง ซึ่งถือว่าช่วยป้องกัน ปัญหาการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าของเด็ก และเยาวชน และยังช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ในประเทศไทยได้อีกด้วย