ครู43องค์กรลั่นลุยนายกฯ ค้านคสช.แปรรูปการศึกษาภูมิภาค

ครู43องค์กรลั่นลุยนายกฯ ค้านคสช.แปรรูปการศึกษาภูมิภาค

ครูร้อยเอ็ด43องค์กรประชุมใหญ่ ลงมติค้านแนวคิด คำสั่ง คสช.ที่ 19/2560 ข้อ 13 เกี่ยวกับการแปรรูปการศึกษาส่วนภูมิภาค เพื่อเตรียมยื่นต่อนายกรัฐมนตรีที่กาฬสินธุ์

เมื่อ 10.00 น. วันที่ 11 ธันวาคม 2560 ที่ห้องประชุมพิกุลทอง โรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด กลุ่มชมรมสมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ด นำโดยนายกสมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ด นายบุญเลี้ยง ไขษรศักดิ์ และชมรมครูจังหวัดร้อยเอ็ด โดยนายพิทักษ์ บัวแสงใส พร้อมกับคณะครูองค์กรการนำครู ต่าง ๆ ของจังหวัดร้อยเอ็ดจากทุกอำเภอ 25 คน ประชุมกันที่หอประชุมดังกล่าวเพื่อร่วมกันเปิดเวที ให้ที่ประชุมคณะองค์กรครู ร่วมแสดงความคิดเห็น เรื่องการปฏิรูปการศึกษาและให้ข้อคิดเห็นเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ของรัฐบาลและคสช. ที่ครูมองว่าใช้มาตรการรวบอำนาจด้านการจัดการศึกษา โดยเอาคนนอกที่ไม่รู้เรื่องการศึกษา เข้ามาควบคุมดูแลด้านการบริหารจัดการศึกษาของครู ทั้งนี้เนื่องจากมองเห็นว่า กฎระเบียบดังกล่าวมีผลกระทบต่อบุคลากรทางการศึกษา ครูผู้สอน และผู้เรียน ไม่ตรงตามเป้าประสงค์ของครูที่จะร่วมกันจัดระบบทางการศึกษาให้มีคุณภาพ

ซึ่งในที่ประชุมมีการนำองค์กรครูหลัก ๆ ทั้งจังหวัด จาก 20 อำเภอเข้าร่วมประชุมทั้ง 43 องค์กร เพื่อที่จะมีการระดมแนวคิดวิเคราะห์สถานการณ์ทางการศึกษาซึ่งซึ่งวิเคราะห์ว่าคำสั่ง คสช.ที่ 19/2560 ข้อ 13 เกี่ยวกับการแปรรูปการศึกษาส่วนภูมิภาคทำให้เกิดความขัดแย้งในการด้านการบริหารการศึกษาระหว่างศึกษาธิการจังหวัดและทำงานเขตพื้นที่พื้นที่การศึกษาที่ไม่สอดคล้องตรงกับความต้องการของคณะผู้บริหารครูและสถานศึกษาในพื้นที่ ที่เห็นแย้งกับแนวคิดของรัฐบาล ที่ให้คนที่ไม่ใช่ครู มาดูแลด้านการศึกษา และรัฐมนตรีที่มาดูแลกระทรวงศึกษาก็เป็นใครไม่รู้ ที่ไม่รู้เรื่องการศึกษา แต่มาดูงานด้านนี้ ซึ่งพวกตนไม่เห็นด้วย

โดยทางด้านนายสมยศ เที่ยงผดุง นายกสมาคมครูอำเภอธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า รัฐบาลทำเช่นนี้ หรือการกระทำดังกล่าว กำลังดึงให้การศึกษาตกต่ำลง แบบรูดตกต่ำลงตั้งแต่ท้องถิ่น ไปจนถึงระดับชาติ การแก้ปัญหาการศึกษา ไม่ตรงประเด็น ด้านการดูแลเด็กและการศึกษา และไม่เห็นด้วยกับการแต่งตั้งบอร์ดผู้บริหารทางการศึกษาระดับชาติเพื่อรวบอำนาจ แม้แต่การแต่งตั้งโยกย้ายก็เป็นการย้ายที่ไม่ถูกต้อง และก้าวก่าย จึงเป็นการเป็นรูปการศึกษาที่ทำลาย โครงสร้างการศึกษาให้เกิดความเสียหาย โดยเอาคนผู้ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับกลไกทางการศึกษา มาดูแลครู ทั้ง ๆ ที่ ไม่มีความรู้เรื่องอะไรเลย นอกจากเข้าแทรกแซงการทำงาน และมีผลประโยชน์ ด้านการย้ายครู และเป้าหมายคล้ายกับมีเป้าหมาย ทำลายความเข็มแข็ง ขององค์กรครู ให้อ่อนแอ แล้วควบคุม การขับเคลื่อนขององค์กรครูที่มีความเข้มแข็ง เหมือนมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ ที่ต้องการทำลายความ เข้มแข็งขององค์กรครู มากกว่าอย่างอื่น ซึ่งการปฎิรูปการณ์ศึกษา โดยไม่ฟังเสียงครู เท่าที่ผ่านมา ก้าวก่าย แม้แต่การจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน ของอำเภอธวัชบุรี ทำให้การแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนของอำเภอไม่ได้จัด ซึ่งขัดความรู้สึกของคณะครูทั้งอำเภอ พูดไปก็ไม่มีใครรับฟัง

ทางด้านนายชัยณรงค์ มนตรีโพธิ์ องค์กรครูคนหนึ่ง บอกว่าไม่มีไม่คัดค้านแนวคิด คำสั่งคสชที่ 19/2560 เนื่องจากก้าวก่ายอำนาจของครู แม้แต่การแต่งตั้งรัฐมนตรีก็ไม่มีความรู้ในด้านการศึกษามาร่วม 2 สมัย ทำให้การแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาไม่ตรงกับความต้องการ อย่างเช่นกรณีครูมีไม่เพียงพอกก็ไม่จัดมาให้ครบ แล้วเด็กจะมีความรู้ และเรียนเก่งอย่างไร เพราะนอกจากครูมีไม่ครบทุกห้องเรียนแล้ว ยังมีการใช้ให้ครูทำงานด้านอื่น เช่นในด้านงานบริหาร การเงิน และพัสดุด้วย แม้แต่ภารโรงก็ยังไม่จ้าง ทำให้ต้องใช้ครูเข้าไปดูแลด้านอื่น แทนที่จะทำการสอนอย่างเดียว

ดังนั้นพวกตนจึงไม่เห็นด้วย กับการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งแต่ปฏิรูปโครงสร้าง มากกว่าการพัฒนาการศึกษา เพื่อให้ความรู้การศึกษากับนักเรียน ซึ่งตนเองมอกว่า รัฐบาลเดินผิดทาง ที่พยามใช้อำนาจมาควบคุมครูมากกว่า ที่จะมาจัดระบบการศึกษาให้มีคุณภาพ จึงมีความเห็นให้รัฐบาลต้องทบทวนแนวคิดนี้ และในยุคนี้เท่าที่ผ่านมาผู้บริหารองค์กรครูในระดับในระดับรัฐมนตรีใช้แม้กระทั่งอำนาจย้ายผู้บริหารโดยอ้างมาตรา 68 ของศึกษาธิการ เอาอำนาจคำสั่ง คสช มาโยกย้ายใครได้ก็ทำ โดยที่ผอ. เขตพื้นที่ไม่มีส่วนรู้เห็นไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่า เป็นการก้าวก่ายหน้าที่การบริหารงานการดูแลของครู หรือผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงด้วยอำนาจที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม

ในขณะที่นายสนอง ชรามาศ แกนนำครูคนหนึ่ง กล่าวว่า รัฐบาลควรยกเลิกคำสั่งที่ 19/2560 ของ คสช. ก่อนที่จะสิ้นเปลืองงบประมาณในการก่อสร้างก่อสร้างทำงานศึกษาธิการใหม่ ควรจัดระบบการจัดสรรอำนาจ งบประมาณให้เหมาะสมและการกระจายอำนาจมาสู่โครงสร้างเดิม คือโครงสร้าง สพฐ.เดิม เท่าที่ผ่านมาการก้าวก่ายองค์กรครูมีมากอย่างเช่นการโยกย้ายครู ก็คิดค่าเรียกร้องค่า ย้ายกิโลละแสน ต้องแก้ไขการกินหัวครู และยกเลิกการตั้งองค์กรการศึกษาที่ไม่เหมาะสม ซ้ำซ้อน ทำให้การจัดการศึกษาเกิดความล่าช้าไม่ตรงกับความต้องการ ทำให้การจัดการศึกษาในปัจจุบัน ไม่เป็นไปตามข้อตามเป้าหมายของคณะครูตั้งเดิม ที่ต้องพัฒนาการศึกษาของเด็กนักเรียน ซึ่งตนมีแนวคิดว่ารัฐบาลควรฟังความคิดเห็นของคณะครูเพื่อจัดการศึกษาโดยครูซึ่งมีความเข้าใจด้านการศึกษาเป็นอย่างดี แทนที่จะเอาคนนอกที่ไม่มีความรู้ด้านการศึกษาเข้ามาจัดการด้านการศึกษาซึ่งไม่ตรงตามเป้าหมายของคณะครูแต่อย่างใด

ในขณะที่ นายพิทักษ์ บัวแสงใส แกนนำครู กล่าวว่าคำสั่งคสชที่ 19/2560 ข้อ 13 เกี่ยวกับเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาส่วนภูมิภาค เหมือนกับการมัดมือชกของรัฐบาล เช่นการตัดเสื้อตัวเดียวที่ ให้เอาไปใส่ตัวเดียวกัน ทั่วประเทศซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะภูมิประเทศไม่เหมือนกัน โดยไม่รับฟังความเห็น ความแตกต่างของปัญหา ไม่ให้องค์กรครูรู้ทิศทาง แต่กลับมาให้องค์กรครู มีส่วนร่วมรู้เห็นกับปัญหา โดยไม่ให้อำนาจ ทั้งที่ครูคือผู้ที่รู้ปัญหามาโดยตลอด กลับไม่ให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการศึกษา ไม่ตั้งเข้าไปเป็นบอร์ดบริหารการศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เป็นข้อปฏิบัติที่ใช้ไม่ได้ ต้องระบุชัดเจน คือทำอย่างไรให้ทำงานให้ได้สมบูรณ์ ในการเรียนการสอนให้เกิดคุณภาพ ซึ่งหากทุกองค์กรครู ทั่วประเทศคิดในแนวคิดเดียวกัน รัฐบาลก็ควรที่จะฟัง และถามคำถามกครู ด้วยว่าเห็นต้องสอดคล้องต้องกันหรือไม่ กับแนวคิดของรัฐบาลน่าจะดีกว่า

ในขณะที่นายอุดม มณีวรรณ แกนนำครูคนหนึ่ง กล่าวว่า ตนเองไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของ คสช. และมีความคิดว่าสำหรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการในอนาคตในทัศนะของตนเห็นว่าน่าจะกลับไปใช้โครงสร้างเดิม โดยให้ไปใช้โครงสร้างตามเจตนารมณ์เดิมของครูประชาบาลหรือครูประถมศึกษาทั่วประเทศ 8 ข้อ คือ

1 ให้กลับไปใช้โครงสร้างตามเจตนารมณ์เดิมของครูประชาบาล (ครูประถมศึกษา)ทั่วประเทศให้ใช้ชื่อเดิมคือคณะกรรมการการประถมการประถมศึกษาแห่งชาติหรือ(สมช.)และให้อยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่ครูเห็นว่าบ้านหลังนี้มีความสุขที่สุด เท่าที่รับราชการมาส่วนกลุ่มคนอื่นที่เขาเคยอยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการถ้าเขาอยู่อย่างมีความสุขก็ให้เขาอยู่ต่อไป

2 ให้มีศึกษาธิการจังหวัด โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลหน่วยงานทางการศึกษาของจังหวัดในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นสำนักงานประถมศึกษาจังหวัด เนื่องจากการศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นหน่วยงานใหญ่มีปริมาณงานมากเพื่อเกิดความคล่องตัวในการบริหารงานจริงให้มี ผอ.ปจ.เป็นผู้รับผิดชอบเหมือนเดิม

3.ให้ยกเลิกการศึกษาให้ยกเลิกการมีศึกษาธิการเขตเพราะจะทำให้การบริหารการศึกษาล่าช้าทำให้หน่วยงานใหญ่เทอะทะอุ้ยอ้ายง่ายต่อการแทรกซ้อนแทรกแซง

4. ให้ยกเลิกการมีสำนักงานเขตพื้นที่ทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อเตรียมเข้าสู่หน่วยงานใหม่คือสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและอำเภอสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด และสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ

5. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาช่วงอยู่กับกรมสามัญศึกษามีความสุขเหมือนกับครูประชาบาลที่อยู่กับสปช.ฉะนั้นจึงขอให้เขากลับไปอยู่บ้านเดิมคือกรมสามัญศึกษา

6. สถาบันการศึกษาทุกแห่งที่อยู่ใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในขณะนี้ ให้กลับไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยหรือกระทรวงอุดมศึกษาสุดแล้วแต่จะเลือกทั้งนี้เพื่อความเป็นเอกเทศในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา

7. ส่วนสถาบันการศึกษาไม่ว่าจะเป็นระดับอนุบาลประถมศึกษามัธยมศึกษาหรือรวมทั้งอุดมศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเอกชนสามารถจัดการศึกษาในระดับต่างๆ ได้ทั้งนี้ตามกำลังความสามารถของหน่วยงานเหล่านั้นโดยรัฐจะต้องให้การสนับสนุน

และ 8 ให้โรงเรียนทุกโรงเรียนทุกสังกัดเป็นนิติบุคคล ร้อยเปอร์เซ็นต์และมีการบริหารงานโดยองค์กรคณะบุคคลเหมือนกับองค์กรคณะบุคคลในระดับอำเภอระดับจังหวัดและระดับชาติเพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหาให้ตรงกับความต้องการต่อไคเพื่อลดความอุ้ยอ้าย ล้าหลัง ไม่ลงตัวในการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกกษาธิการในภูมิภาค

นายพิทักษ์ บัวแสงใส ประธานชมรมครูจังหวัดร้อยเอ็ด ให้ทัศนะว่า หากยังปล่อยไว้ไม่แก้คำสั่ง หัวหน้าคสช.ที่19/2560 ข้อ13 อาจจะเกิดความเสียหายทั้งระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะ 2ปัญหา คือ 1 สป.ศธ./ศธภ./ศธจ.เป็นอีกแท่งหนึ่งใน5แท่ง ของกระทรวงศึกษาธิการ การก่อเกิดศธจ. ก็เพื่อให้บูรณาการการศึกษาของจังหวัดเชื่อมโยงกันทั้ง5แท่ง

2) สพท./สพฐ.ก็เป็นอีกแท่งหนึ่งที่เป็นสายบังคับบัญชาโดยตรงของโรงเรียนซึ่งเป็นฐานปฏิบัติงานให้เกิดคุณภาพหรือไม่เกิดคุณภาพโดยแท้ ดังนั้นการให้ศธจ.ใช้อำนาจมาตรา53 (3)(4)ซึ่งเป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 24 และมาตรา 27 ของ พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการใช้อำนาจบรรจุแต่งตั้ง ข้ามแท่ง ซึ่งไม่เคยปรากฏในหน่วยงานใดมาก่อน และอำนาจในมาตรา 53(3)(4) ยังผูกพันกับมาตราอื่นๆในหมวดอื่นอีกเกือบสามสิบเรื่อง จึงทำให้เกิดความล่าช้า ด้อยประสิทธิภาพในการบริหารงานบุคคลในภูมิภาค ส่งผลกระทบโดยตรงต่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ดังนั้น ชมรมครูจังหวัดร้อยเอ็ดจึงเห็นพ้องกับข้อเสนอร่างแก้ไขคำสั่ง หัวหน้า คสช.ที่19/60 ของชมรมผอ.เขตพื้นที่การศึกษาแห่งประเทศไทย ทุกประเด็น โดยเฉพาะ การขอยกเลิกข้อ 13 เพื่อคืนอำนาจให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53(3)(4) ของ พรบ.ระเบียบข้าราชครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และแก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค บรรลุวัตถุประสงค์โดยเร็ว

นอกจากนั้นควรกระจายอำนาจเกี่ยวกับพนักงานราชการลูกจ้างชั่วคราวทุกตำแหน่งให้ผอ.โรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งจะส่งผลต่อการบริหารจัดการให้เกิดคุณภาพมีประสิทธิภาพ ทันเวลา และหากผู้มีอำนาจยังเพิกเฉย ไม่ยอมยกเลิกข้อ 13 ทางชมรมครูจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมเครือข่ายทั่วประเทศ จะหาช่องทางและแนวทางนำเสนอเป็นขั้นตอน ที่จะต้องขับเคลื่อนต่อไป

องค์คณะบุคคล กศจ.และอกศจ.ในการทำหน้าที่บริหารงานบุคคลของครูแต่ไม่มีครูอยู่ในองค์คณะเลย..ซึ่งเป็นเรื่องแปลกประหลาด เพราะวิชาชีพอื่น เช่นหมอ แพทย์สภา นักกฎหมาย มักจะมีผุ้ประกอบวิชาชีพนั้นๆมีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการนั้นๆ...แต่ครูกลับไม่ให้ครูมีส่วนร่วมเลย..แล้วบอร์ดต่างๆแล้วจะได้ข้อมูลตรงกับความเป็นจริงได้อย่างไร..

ทางด้าน นายพิทักษ์ บัวแสงใส ประธานชมรมครูจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวอีกว่า สะท้อนในมุมกลับกัน เพราะหากเป็นแบบนี้ หากให้ครูไปเป็นคณะกรรมการองค์กรอื่นเขาก็คงไม่ยอมรับเช่นกันจึงต้องการให้ทบทวนแล้วคิดนี้

ทางด้านนายบุญเลี้ยง ไขษรศักดิ์ นายกสมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวถึงเหตุของการจัดให้มีการประชุมระดมความคิดเห็นในวัน เพราะเห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาไร้ทิศทาง ไม่ส่งผลโดยตรงต่อครูและนักเรียน ในหลายประเด็นคือ

1.ไม่เห็นด้วยกับคำสั่ง คสช.ที่ 19 /2560 ข้อ 13 เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาส่วนภูมิภาค ทำให้เกิดความขัดแย้งในการบริหารการศึกษา ระหว่าง ศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.ครูขาดการมีส่วนร่วมในบอร์ดบุคคลากรบริหารการศึกษาในระดับต่างๆ
3.รมต.ศึกษาก็ไม่ใช่ครู ควรให้ครูซึ่งมีความรู้ด้านการศึกษา เข้ามาเป็น รมต.ศึกษา
4.จะสรุปแนวคิดของครูทั้ง 43 องค์กรครูของจังหวัดร้อยเอ็ด.เรียกร้องให้แก้ปัญหาให้ถูกทิศทางต่อไป ซึ่งหากไม่มีการตอบรับแนวคิดเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาด้วยการประสานกับองค์กรครูอื่นทั่วประเทศ ทุกประเทศเพื่อขับเคลื่อนร่วมกันต่อไปในทิศทางเดียวกัน

นายบุญเลี้ยง ไขษรศักดิ์ นายกสมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ทุกดอย่างเป็นไปตามมติที่ประชุมวันนี้จะสรุปส่งไปยังองค์กรครูทั่วประเทศทุกภาค เพื่อ สรุปแนวคิดที่สอดคล้องร่วมกันเสนอไปยังรัฐบาล และในขณะเดียวกัน จะมีการนำข้อสรุปของที่ประชุมวันนี้ นำส่งไปยังนายกรัฐมนตรีที่จะเดินทางมาที่จ.กาฬสินธิ์ ต่อไป