Daily Strategy (8 ธ.ค.60)

Daily Strategy (8 ธ.ค.60)

เก็งกำไรหุ้นคอมมอดิตี้

กลยุทธ์การลงทุนวันนี้: ภาวะตลาดสำหรับเดือน ธ.ค.ยังไม่นิ่ง อย่างไรก็ตาม การอ่อนตัวของราคาหุ้นพื้นฐาน เป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อ เรายังเชื่อว่าการลงทุนในตลาดหุ้นไทยยังต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนรายกลุ่มต่อไป โดยกลุ่มหุ้นที่เริ่มมีความน่าสนใจคือ กลุ่ม ICT ที่ราคาลงมา Laggard มาก และมีแนวโน้มกลับตัว และที่สำคัญข่าวการที่จีนลดซัพพลายเหล็กด้อยคุณภาพ โดยการสั่งปิดโรงงานเหล็กเป็นการชั่วคราวในบางพื้นที่ เป็นเวลา 4 เดือน คาดว่าหนุนราคาเหล็กขึ้น และเป็นผลบวกกับหุ้นกลุ่มเหล็กที่เราชอบคือ TSTH และ TMT นอกจากนี้คาดว่า PSL ยังได้รับผลบวกทางอ้อมจากการทดแทนการนำเข้าเหล็กคุณภาพเข้ามาแทน

หุ้นเด่นวันนี้: IRPC (ราคาปิด 6.30บาท; ซื้อ; AWS ราคาเป้าหมาย 7.70บาท)

  • โครงการ UHV สามารถเดินเครื่องผลิตเต็มที่ได้ในไตรมาส 4/60 ทำให้โรงกลั่นมีกำลังการผลิตเพิ่มจาก 200,000 บาร์เรลต่อวัน ในปี 2560 เป็น 210,000-215,000 บาร์เรลต่อวัน ในปี 2561 (Nameplate Capacity ที่ 215,000 บาร์เรลต่อวัน) รวมถึงโครงการ PPE เริ่มผลิตตามแผน ทำให้ IRPC มีกำลังผลิต Propylene เพิ่ม 63% เป็น 15 แสนตันต่อปี และโครงการ PPC กำลังผลิต 1.4 แสนตันต่อปี อยู่ระหว่างการทดสอบคาดว่าจะเริ่มผลิตต้นปี 61 คาดว่าทำให้ GIM เพิ่มขึ้นอีกราว 1 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จาก 14 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล นอกจากนี้ บริษัทกำลังศึกษาโครงการโรงงานอะโรเมติกส์ 1 ล้านตัน รวมถึงโครงการเพิ่ม Value Added ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยจะเน้นความเป็น Specialty เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพิ่มมากขึ้นจากปัจจุบันที่ยังเน้นผลิตสินค้า Commodity เป็นหลัก ซึ่งราคาขายของผลิตภัณฑ์ Specialty จะสูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในปัจจุบันราว 10% ขึ้นไป เราแนะนำซื้อ IRPC คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560 และปี 2561 เติบโต 6.2% และ 28% ตามลำดับ ราคาเป้าหมาย 7.70 บาท 
  • Price Pattern ของ IRPC ยังมีแนวโน้มหลักอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จากการเกิด Monthly Buy Signal แต่ทั้งในระยะสั้นและกลางยังไม่มีความแข็งแกร่งนักจากการเกิดทั้ง Daily & Weekly Sell Signal โดยจะกลับมาเกิด Daily Buy Signal ครั้งใหม่เมื่อปิดตลาดเหนือ 40 บาท และจะกลับมาเกิด Weekly Buy Signal ครั้งใหม่ต้องปิดตลาดเหนือ 6.50 บาท เป้าหมายอยู่ที่ 6.70 บาท (Resistance: 6.35, 6.40, 6.45; Support: 6.25, 6.20, 6.15)

 

ปัจจัยในประเทศ:

  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวขึ้น 4 เดือนติดต่อกัน อยู่ที่ 0 ในเดือน พ.ย. จาก 76.7 ในเดือน ต.ค. เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้น หนุนโดยภาคส่งออกและการท่องเที่ยวที่แข็งแกร่ง รวมถึงความกังวลประเด็นทางการเมืองที่ลดลง (บางกอกโพสต์)
  • รองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เตรียมเสนอมาตรการช่วย SME กว่า 2 แสนล้านบาท ต่อที่ประชุม ครม. ในเดือน ธ.ค.นี้ เพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือ SME โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยว เกษตรแปรรูป และอื่นๆ มาตรการดังกล่าวมีกำหนดเริ่มดำเนินการภายในไตรมาส 1/61 (ไทยโพสต์)
  • DTAC หาทางยืดเวลาบริการออกไป หวั่นเลื่อนการประมูล: DTAC วางแผนที่จะขอให้หน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมเป็นผู้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มระยะเวลาให้บริการหนึ่งปีสำหรับคลื่นความถี่ 1,800 และ 850 เมกะเฮิรตซ์ให้กับสมาชิก 900,000 รายหากสัมปทานที่กำลังจะหมดอายุในเดือนกันยายนปี 2561 จะประมูลไม่ทันเวลาที่กำหนด(Bangkok Post)

ตลาดต่างประเทศ:

  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดบวก:นักลงทุนยังคงเดินหน้าซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งช่วยหนุนหุ้นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเฟซบุ๊กและอัลฟาเบทพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง จำนวนคนว่างงานในสหรัฐลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 ขณะที่นักลงทุนจับตาความคืบหน้าในการผลักดันร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของสหรัฐ รวมทั้งการผ่านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวเพื่อหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานของรัฐบาล หรือชัตดาวน์
  • ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก: ขานรับ GDP ยูโรโซนขยายตัวในไตรมาส 3/60
  • ตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนลบ: ด้วยแรงกดดันจากสกุลเงินปอนด์ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและยูโร ผู้นำ EU จะประชุมหารือกันที่กรุงบรัสเซลส์ในวันที่ 14-15 ธ.ค.นี้ เพื่อพิจารณาดูว่า ในช่วงที่ผ่านมา สหราชอาณาจักรมีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาในข้อตกลง Brexitเพื่อที่จะเดินหน้าสู่การเจรจาในขั้นตอนต่อไปหรือไม่
  • รัฐบาลจีนสั่งลดการผลิตเหล็กลงเป็นเวลาสี่เดือนเพื่อควบคุมมลพิษในช่วงฤดูหนาว (จนถึงกลางเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561) โดยเฉพาะในฟื้นที่ Hebeiซึ่งเป็นพื้นที่ผลิตเหล็กหลักของจีน โดยจะลดกำลังการผลิตลงประมาณ 50% ของกำลังการผลิตเหล็กทั้งหมด ความเห็น: ช่วยหนุนราคาเหล็กในช่วง 4 เดือนนี้ (15 พ.ย. 60-15 มี.ค. 61) รวมถึงค่าระว่างเรือเทกองจากการเร่งผลิตเหล็กเพื่อทดแทนกำลังการผลิตที่ลดลง เป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มเหล็กและกลุ่มเรือเทกอง

สินค้าโภคภัณฑ์:

  • ราคาน้ำมันดิบปิดบวก:(WTI เพิ่มขึ้น 73 เซนต์ หรือ 3% ปิดที่ 56.69 ดอลลาร์/บาร์เรล; เบรนท์เพิ่มขึ้น 98 เซนต์ หรือ 1.6% ปิดที่ 62.20 ดอลลาร์/บาร์เรล) นักลงทุนช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงเกือบ 3% เมื่อวันพุธ นอกจากนี้ สถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองในตะวันออกกลางยังเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้น
  • ราคาทองคำปิดลบ:(ร่วงลง 13 ดอลลาร์ หรือ 03% ปิดที่ระดับ 1,253.10 ดอลลาร์/ออนซ์) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ได้สร้างแรงกดดันต่อราคาทองคำ นอกจากนี้ การดีดตัวขึ้นของตลาดหุ้นนิวยอร์กยังส่งผลให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า